เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ยาคุมฉุกเฉิน ... ฉุกเฉินแค่ไหนจึงต้องใช้ยาคุมฉุกเฉิน
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
ยาคุมฉุกเฉิน ... ฉุกเฉินแค่ไหนจึงต้องใช้ยาคุมฉุกเฉิน

การใช้ยาคุมฉุกเฉินเป็นเรื่องที่ถูกถามบ่อยจากบรรดาวัยรุ่น หลายคนเลือกใช้ยาคุมฉุกเฉินเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เพราะคิดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด หากคุณพี่ของน้องอดไม่ไหวแล้ว ยาคุมฉุกเฉินมีฮอร์โมนเหมือนยาคุมทั่วไป เพียงแต่จะมีขนาดฮอร์โมนที่สูงกว่า ยาคุมกำเนิดสามารถป้องกันสเปิร์มไม่ให้เข้าไปปฏิสนธิกับไข่ หรือทำให้ไข่ออกจากรังไข่ได้ช้าลง ทำให้เยื่อบุมดลูกเปลี่ยนแปลงจนไม่เหมาะกับการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว ลดโอกาสการตั้งครรภ์หลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หากใช้ยาคุมฉุกเฉินอย่างถูกต้องก็จะเกิดผลดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% เพราะในความเป็นจริงแล้ว ยังไม่มีวิธีใดที่ช่วยคุมกำเนิดได้ผลเต็มร้อย    

ยาคุมฉุกเฉินควรใช้เมื่อไร

หากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ คุณผู้หญิงควรใช้ยาคุมฉุกเฉิน

  • ถุงยางรั่ว ลื่นหลุด แตกระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์
  • ไม่อยากรอให้ยาฆ่าอสุจิออกฤทธิ์
  • ห่วงอนามัยหลุดออก
  • ใส่ห่วงในช่องคลอดช้าไปหรือเอาออกเร็วเกินไป
  • ไม่ได้กินยาคุมตามกำหนดเกิน 3 วันขึ้นไป
  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้มีการคุมกำเนิดด้วยวิธีใด ๆ
  • ลืมฉีดยาคุมกำเนิด
  • นับระยะปลอดภัยผิดพลาด
  • สตรีที่ถูกข่มขืนกระทำชำเรา หรือการมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่เต็มใจหรือไม่ตั้งใจ
  • มีเพศสัมพันธ์ในคู่สามีภรรยาที่มีการคุมกำเนิดอยู่ แต่การใช้ยาคุมกำเนิดปกติเกิดความผิดพลาด ไม่ถูกต้องหรือมีเหตุฉุกเฉิน

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินปลอดภัยหรือไม่

ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่ายาคุมฉุกเฉินจะมีอันตรายถึงชีวิต แต่ยาคุมฉุกเฉินจะมีผลข้างเคียงอยู่บ้าง เช่น มีผลกับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในภาวะลิ่มเลือดจับตัวเป็นก้อน รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยาคุมฉุกเฉินบ่อยจนเกินไปหรือเกิน 2 ครั้งต่อเดือน เพราะจะทำให้ผนังมดลูกไม่แข็งแรง และมีโอกาสเสี่ยงแท้งสูง

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมีผลข้างเคียงอย่างไร

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ๆ จากยาคุมฉุกเฉินจะเป็นอาการที่ไม่รุนแรงมากนัก ได้แก่

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • เจ็บคัดเต้านม
  • มีเลือดออกกะปริดปะปรอย (ออกมาเล็กน้อยประมาณ 1-2 วัน หรือ 3-4 วัน)
  • ประจำเดือนมาช้าหรือเร็วกว่าปกติ
  • ปวดบริเวณท้องน้อย
  • เลือดออกผิดปกติ
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดศีรษะ
  • เวียนศีรษะ
  • เจ็บหน้าอก

หากเกิดอาการเหล่านี้ ไม่ควรตกใจและไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษา เพราะจะหายเองได้ใน 24 ชั่วโมง และผลข้างเคียงที่พบบ่อย ไม่ได้หมายความจะเกิดผลข้างเคียงได้กับทุกคน แต่จะมีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดผลข้างเคียงเหล่านี้

อนึ่ง การกินยาคุมฉุกเฉินในระยะสั้น ๆ จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด แต่การใช้ยาติดต่อกันนาน ๆ นอกจากจะมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดที่ด้อยกว่ายาคุมกำเนิดแบบปกติ ยังอาจทำให้เกิดความผิดปกติที่รังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูก นอกจากนี้ ยังเพิ่มความเสี่ยงในการตั้งครรภ์นอกมดลูกถึง 2% ดังนั้น จึงไม่ควรใช้ยานี้เกิน 2 กล่องต่อเดือน

ใช้อย่างไร

การกินยาคุมฉุกเฉินแบบเดิม และถูกต้องมีดังนี้

  • กินยาคุมฉุกเฉินเม็ดแรก ต้องกินให้เร็วที่สุดหลังจากมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกัน โดยไม่ควรนานเกินกว่า 120 ชั่วโมง (5 วัน) หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ และถ้าจะให้ผลดี ไม่ควรเกิน 72 ชั่วโมง และจะให้ผลดีที่สุดคือไม่เกิน 12 ชั่วโมง และต้องกินยาคุมฉุกเฉินเม็ดที่ 2 ซ้ำอีก 1 เม็ด หลังจากที่กินเม็ดแรกไปแล้วอีก 12 ชั่วโมงให้หลัง
  • สามารถกินยาคุมฉุกเฉินได้พร้อมกัน 2 เม็ดในครั้งเดียว ซึ่งเป็นขนาดที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้กิน โดยที่ประสิทธิภาพและความปลอดภัยจะไม่แตกต่างจากการแบ่งให้กินออกเป็น 2 ครั้ง โดยในต่างประเทศ นิยมกินแบบครั้งเดียวมากกว่า และยาจะมีความแรงเป็น 2 เท่า คือจะมีตัวยาลีโวเนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) ขนาด 1.5 มิลลิกรัมเพียงเม็ดเดียว อย่างไรก็ตาม วิธีกินเม็ดเดียวที่มีปริมาณยาเยอะขนาดนี้ไม่เหมาะกับมือใหม่ เพราะในบางรายยังพบว่า จะทำให้เกิดอาการอาเจียน คลื่นไส้ ในการกินยาที่มีปริมาณฮอร์โมนเยอะ ๆ แบบนี้ได้
  • หากกินยาแล้ว เกิดอาการอาเจียนออกมาภายใน 2 ชั่วโมง จะต้องกินยาใหม่ หรือกินซ้ำอีก 1 เม็ดทันที หากมือใหม่ กลัวว่ากินแล้วจะอาเจียน ให้ซื้อมาอีก 1 กล่องก็ได้
  • ในรายที่เกรงว่า กินยาคุมฉุกเฉินแล้วจะอาเจียน ให้ซื้อยาแก้อาเจียนกินก่อนกินยาคุมฉุกเฉินได้ จะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ดีขึ้น
  • ไม่แนะนำให้กินยาคุมฉุกเฉินเกิน 2 กล่อง หรือ 4 เม็ดต่อเดือน เพราะอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงกับรังไข่ระยะยาวได้
  • เก็บยาคุมฉุกเฉินในห้องอุณหภูมิปกติ หรือไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส

ยาคุมฉุกเฉินตามยี่ห้อในเมืองไทย

  • โพสตินอร์ (Postinor) : ราคา 40-60 บาท ในกล่องยาจะมีแผงยา 1 แผง และเอกสารกำกับยา 1 แผ่น ยาในแผงจะมีอยู่ด้วยกัน 2 เม็ด เม็ยาจะเป็นสีขาว มีลักษณะกลม ผิวหน้าแบนทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งมีอักษร NOR ส่วนอีกด้านหนึ่งเรียบ ในยา 1 เม็ดจะประกอบไปด้วย ลีโวนอร์เจสเตรล 0.75 มิลลิกรัม โดยตัวยาลีโนนอร์เจสเตรล เป็นโปรเจสตีน (Progestin) โปรเจสโตเจนสังเคราะห์ รุ่นที่ 2 ออกฤทธิ์ในการคุมกำเนิด โดยการชะลอหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของถุงไข่ หรือการแตกของถุงไข่ จึงเป็นการยับยั้งการตกไข่หรือหลังจากที่ฮอร์โมนลูเทนิซิง (LH) จะมีระดับสูงสุดแล้ว จะป้องกันการตั้งครรภ์ไม่ได้
  • มาดอนนา (Madonna) : ราคาประมาณ 30-40 บาท ในกล่องจะมีแผงยา 1 แผง และเอกสารกำกับยา 1 แผ่น ยาในแผงจะมีอยู่ด้วยกัน 2 เม็ด เม็ดยาเป็นสีขาว มีลักษณะกลม ผิวหน้าแบนทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งมีตัวอักษร NOR และ 750 ส่วนอีกด้านหนึ่งเรียบ ในยา 1 เม็ด จะประกอบไปด้วย ลีโวนอร์เจสเตรล 0.75 มิลลิกรัม เช่นเดียวกับโพสตินอร์

*** เช็คสุขภาพ ไม่ได้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด ***

แหล่งอ้างอิง:

World Health Organization. (2561). Emergency contraception. แหล่งที่มา: http://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/emergency-contraception เข้าถึงข้อมูล: 26 เมษายน 2561

26/04/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควบคุมน้ำหนักและบำรุงที่จำหน่ายในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 3 และที่ 4 พบมีการปนปลอมยาลดน้ำหนัก ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาระบาย และยาไวอากร้า ซึ่งผู้บริโภคอาจได้รับอันตราย ถึงแก่ชีวิตจากยาที่มีการปนปลอมค่อนข้างสูง



งานวิจัยวงการแพทย์ระดับโลก อลกอฮอล์คร่าชีวิต ชี้ชัดดื่มเบียร์-เหล้า–ไวน์ มหันตภัยโรคร้ายหัวใจพ่วงหลอดเลือด ซดเบียร์มากกว่า 10 กระป๋องต่อสัปดาห์เสี่ยงตาย



นายจิรายุ นันท์ธราธร ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการกระทรวงเขต 14 ประกอบด้วย ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ได้ลงพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ เพื่อตรวจติดการผลการดำเนินงานโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว