เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / แคลเซียม (Calcium)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
แคลเซียม (Calcium)

สรรพคุณของแคลเซียม

แคลเซียมเป็นแร่ธาตุ ชนิดหนึ่งที่จำเป็นสำหรับกระดูกและฟัน รวมทั้งเป็นส่วนประกอบในการทำงานของหัวใจ เส้นประสาท และการแข็งตัวของเลือด
แคลเซียมใช้เพื่อ
• รักษาและป้องกันระดับแคลเซียมต่ำอันส่งผลให้เป็นโรคกระดูกต่างๆ เช่น โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกอ่อนในเด็ก และโรคกระดูกอ่อน
• อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)
• ตะคิวที่ขาในสตรีมีครรภ์
• ความดันโลหิตสูงในสตรีมีครรภ์ (ครรภ์เป็นพิษ)
• ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสำใสใหญ่ และทวารหนัก
• ภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดบายพาสสำไส้ ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคลายม์ (Lyme disease)
• โรคฟลูออไรด์สูงในเด็ก
• สารตะกั่วในเลือดสูง
แคลเซียมคาบอร์เนต (Calcium carbonate) ใช้ลดกรด สำหรับอาการแสบร้อนกลางอก(heartburn) ทั้งแคลเซียมคาบอร์เนต และแคลเซียมแอซีเทต (Calcium acetate) ใช้สำหรับลดระดับฟอสเฟตในบุคคลที่เป็นโรคไตด้วย

กลไกการออกฤทธิ์:

เนื่องจากยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับแคลเซียมไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามเป็นที่รู้ กันว่า
• ในกระดูกและฟันของร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยแคลเซียม 99 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังพบแคลเซียมในเลือด กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่างๆ แคลเซียมในกระดูกยังสามารถใช้เป็นแคลเซียมสำรองที่ปล่อยออกมาเมื่อรางกายต้องการ แคลเซียมเข้มข้นในร่างกายมีแนวโน้มที่จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ทั้งนี้เพราะแคลเซียมสามารถขับออกจากร่างกายทางเหงื่อ ผิวหนัง และของเสีย ในสตรีสูงวัย การดูดซึมแคลเซียมมีแนวโน้มที่จะลดลงเพราะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดลง อัตตราการดูดซึมแคลเซียมนั้นขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ เพศ และวัย
• กระดูกนั้นมีการเสื่อมและสร้างใหม่เสมอ และแคลเซียมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกระบวนการนี้ การใช้แคลเซียมเสริมช่วยให้กระดูกสร้างขึ้นใหม่ได้โดยสมบูรณ์ และแข็งแรงอยู่เสมอ

ข้อควรระวังและคำเตือน:

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้แคลเซียม:
ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:
• ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
• กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
• มีอาการแพ้สารแคลเซียม ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
• มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
• มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลซียมนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

แคลเซียมปลอดภัยหรือไม่:

เป็นไปได้ว่าแคลเซียมปลอดภัยกับคนส่วนมากเมื่อใช้รับประทานหรือ เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดดำในปริมาณที่พอเหมาะ
แคลเซียมอาจไม่ปลอดภัยสำหรับทั้งผู้ใหญ่และเด็กถ้าใช้ในปริมาณมากต่อวัน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้แคลเซียมในปริมาณที่มากเกินจำเป็น สถาบันการแพทย์ได้กำหนดประมาณสูงสุดของแคลเซียมที่ร่างกายสามารถรับได้ในแต่ละวัน โดยแบ่งตามลำดับดังนี้ อายุ 0-6 เดือน 1000 มิลลิกรัม 6-12 เดือน 1500 มิลลิกรัม 1-8 ปี 2500 มิลลิกรัม 9-18 ปี 3000 มิลลิกรัม 19-50 ปี 2500 มิลลิกรัม 51 ปีขึ้นไป 2000 มิลลิกรัม ซึ่งการใช้ในปริมาณที่มากกว่านี้อาจส่งผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ จากผลการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ ได้ให้คำแนะนำว่า การใช้ในปริมาณที่มากเกินความต้องการในแต่ละวันคือ 1000-1300 มิลลิกรัมต่อวันในผู้ใหญ่ อาจเพิ่มอัดตราเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจวาย ถึงแม้นการวิจัยนี้จะระบุว่าแคลเซียมมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าแคลเซียมเป็นต้นเหตุของโรคหัวใจวายจริงๆ ดังนั้นจนกว่าจะมีข้อมูลมากกว่านี้ควรใช้แคลเซียมในประมาณที่พอเหมาะในแต่ละวัน และต้องไม่มากเกินไป เพื่อความแน่ใจ เราจึงต้องคำณวนจำนวนแคลเซียมรวมทั้งจากอาหารและอาหารเสริม ไม่ให้มากกว่า 1000-1300 มิลลิกรัมต่อวัน จำนวนแคลเซียมในอาหาร เช่น อาหารที่ไม่มีนมเป็นส่วนประกอบ 300 มิลลิกรัมต่อวัน นมหรือน้ำสมคั้น 300 มิลลิกรัมต่อแก้ว

 

 

ข้อควรระวังและคำเตือน:

สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร : การบริโภคแคลเซียมตามจำนวนภายใต้คำแนะนำของแพทย์ดูเหมือนว่าจะปลอดภัยที่สุดสำหรับในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร ส่วนการฉีดแคลเซียมเข้าหลอดเลือดดำสำหรับสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรนั้น ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่สามารถระบุได้ว่าปลอดภัย

ภาวะกรดในกระเพาะอาหารต่ำ : สำหรับคนที่มีระดับกรดในกระเพาะอาหารต่ำจะดูดซึมแคลเซียมได้น้อยถ้ารับประทานแคลเซียมตอนท้องว่าง อย่างไรก็ตามภาวะกรดในกระเพาะอาหารต่ำนั้นไม่ปรากฏว่าลดอัตราการดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลงถ้ากินแคลเซียมพร้อมอาหาร ดั้งนั้นขอแนะนำว่าบุคคลทีเห็นโรคนี้ควรกินอาหารเสริมแคลเซียมพร้อมมื้ออาหาร

ภาวะฟอสฟอรัสในเลือดสูงและภาวะฟอสฟอรัสในเลือดต่ำ :
ในร่างกายคนเรานั้นแคลเซียมและฟอสฟอรัส จำเป็นต้องอยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งการรับประทานแคลเซียมมากเกินไปนั้นจะทำให้สมดุลนี้เสียไป และก่อให้เกิดอันตรายต่อรางกาย อย่าใช้สารสกัดแคลเซียมเข้มข้นโดยไม่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ


ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (โรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมน) :
แคลเซียมสามารถรบกวนการรักษาโรคไทรอยด์ฮอร์โมน ดังนั้นการใช้ยารักษาไทรอยด์ฮอร์โมนต้องใช้ห่างจากการกินแคลเซียมอย่างน้อย 4 ชั่วโมง

แคลเซียมในเลือดสูงมากเกินไป เนืองจากต่อมพาราไทรอยด์ผิดปรกติ และโรค ซาร์คอยโดสีส (sarcoidosis) :
หลีกเลียงการใช้แคลเซียมถ้าคุณมีอาการใดอาการหนึ่งในที่กล่าวมา

โรคไตเรื้อรัง : สารเสริมแคลเซียม สามารถเพิ่มอัตตราเสี่ยงต่อการมีแคลเซียมในเลือดสูงมากเกินไปในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

การสูบบุหรี่ : คนที่สูบบุหรี่นั้นกระเพาะอาหารจะสามารถดูดซึมแคลเซียมได้น้อย

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดจากแคลเซียม

แคลเซียมอาจส่งผลกระทบกับโรคที่กำลังรักษาอยู่ หรือโรคประจำตัว ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้

ปฏิกิริยาระหว่างยา:

• ยาเซพไตรอะโซน (Ceftriaxone)
การให้ยาปฎิชีวนะผ่านหลอดเลือดดำและแคลเซียมสามารถส่งผลให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ โดยทำลายปอดและไต ดังนั้นไม่ควรใช้แคลเซียมภายใน 48 ชั่วโมง ภายหลังการให้ยาผ่านหลอดเลือดดำ
• ยาปฎิชีวนะ (Antibiotics)
แคลเซียมอาจจะลดปริมาณการดูดซึมยาปฎิชีวนะของร่างกาย การใช้แคลเซียมร่วมกับยาปฎิชีวนะบางชนิดอาจลดประสิทธิภาพของยา ดังนั้นเพื่อเป็น การหลีกเลี่ยงการเกิดปฎิกริยาระหว่างกันควรใช้แคลเซียมหลังจากใช้ยาปฎิชีวนะแล้วอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
กลุ่มยาปฎิชีวนะที่อาจมีปฎิกริยากับแคลเซียมคือ ไซโปรฟลอกซาซิน(ciprofloxacin) อีน๊อกซาซิน (enoxacin) นอร์ฟอกซาซิน (norfloxacin) สปาร์ฟอกซาซิน(sparfloxacin) และ โทรวาฟล็อกซาซิน(trovafloxacin)
• ยาปฎิชีวนะ (Antibiotics)
แคลเซียมอาจส่งผลกระทบกับยากลุ่ม เตตราไซครีน(tetracyclines)ในกระเพาะอาหาร ซึ่งแคลเซียมสามารถลดจำนวนเตตราไซครีนที่ร่างกายดูดซึมได้ ซึ่งการใช้แคลเซียมกับเตตราไซครีมร่วมกันอาจลดประสิทธิภาพของยาเตตราไซครีน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปฎิกริยาระหว่างกันควรใช้แคลเซียมก่อนเตตราไซครีน 2 ชั่วโมง หรือ 4 ชั่วโมงหลังใช้เตตราไซครีน ซึ่งยาที่อยู่ในกลุ่มเตตราไซครีนนี้ได้แก่ เดเมโคลไซครีน(demeclocycline) มิโนไซครีน(minocycline) และเตตราไซครีม(tetracycline)
• ยากลุ่มไบฟอสโฟเนตส์(Bisphosphonates) (เป็นกลุ่มยาที่ใช้เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน)
แคลเซียมสามารถลดประสิทธิภาพการดูดซึมไบฟอสโฟเนตส์ของร่างกาย ซึ่งการใช้แคลเซียมร่วมกับไบฟอสโฟเนตส์ลดสามารถประสิทธิ์ภาพของไบฟอสเฟต ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปฎิกริยาระหว่างกันควรใช้ไบฟอสโฟเนตส์ก่อนหรือหลังการใช้แคลเซียมอย่างน้อย 30 นาทีในวันนั้น ซึ่งกลุ่มยาไบฟอสโฟเนตส์ยังรวมไปถึง อะเลนโดรเนท(alendronate) อีทิโดรเนท(etidronate) ไรซีโดรเนท(risedronate) ไทรูโดรเนท(tiludonate) และอื่นๆ
• ยากลุ่มแคลซิโปรไทรออล(Calcipotriene) (เป็นกลุ่มยารักษาโรคสะเก็ดเงิน) แคลซิโปรโทรออล เป็นยาที่เหมือนวิตามินดี วิตามินดีนั้นช่วยร่างกายคนเราดูดซึมแคลเซียม ดังนั้นการใช้แคลเซียมร่วมกับแคลซิโปรไทรออล อาจเป็นสาเหตุให้ร่างกายมีแคลเซียมมากเกินไป
• ไดจอกซิน (Digoxin) เป็นกลุ่มยารักษาโรคหัวใจล้มเหลว
แคลเซียมสามารถส่งผลกระทบกับหัวใจ ไดจอกซินนั้นใช้เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น การใช้แคลเซียมร่วมกับไดจอกซิน อาจเพิ่มผลข้างเคียงของไดจอกซิน และนำไปสู่อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ถ้าคุณกำลังใช้ไดจอกซิน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้อาหารเสริมแคลเซียม
• ดิลไทอะเซม (ยารักษาโรคหัวใจและความดันโลหิต)
แคลเซียมสามารถส่งผลกระทบกับหัวใจ ดิลไทอะเซมก็เช่นกัน การใช้แคลเซียมในปริมาณมากกับดิลไทอะเซมอาจลดประสิทธิภาพของดิลไทอะเซม
• เลโวไทรอกซิน (Levothyroxin)
เลโวไทรอกซิน ใช้สำหรับรักษาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ซึ่งแคลเซียมสามารถลดจำนวนเลโวไทรอกซินที่ร่างกายดูดซึมได้ ซึ่งการใช้แคลเซียมคู่กับเลโวไทรอกซินอาจลดประสิทธิภาพของเลโวไทรอกซิน ดังนั้นเลโวไทรอกซินและแคลเซียมควรใช้ห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ซึ่งกลุ่มยาที่มีส่วนประกอบของ เลโวไทรอกซินได้แก่ Armour Thyroid Eltroxin Estre Euthyrox Levo-T Levothroid Levoxyl Synthroid Unithroid และอื่นๆ
• โซทาลอล (Sotalol)
การใช้แคลเซียมกับโซทาลอล สามารถลดปริมาณการดูดซึมโซทาลอลของร่างกาย การใช้แคลเซียมกับโซทาลอลอาจลดประสิทธิภาพของโซทาลอล ดังนั้นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงควรใช้แคลเซียมก่อนการใช้โซทาลอลอย่างน้อย 2 ชั่วโมง หรือ 4 ชั่วโมงหลังการใช้โซทาลอล
• เวอราปามิล (Verapamil)
แคลเซียมสามารถส่งผลกระทบกับหัวใจ เวอราปามิลก็เช่นกัน ดังนั้นอย่าใช้แคลเซียมในปริมาณมากถ้าอยู่ในระหว่างการใช้วอราปามิล
• ยาขับปัสสาวะ (Water pills)
ยาขับปัสสาวะบางชนิดช่วยเพิ่มปริมาณแคลเซียมในร่างกาย ดังนั้นการใช้แคลเซียมในปริมาณมากร่วมกับยาขับปัสาวะ อาจเป็นต้นเหตุให้ร่างกายมีปริมาณแคลเซียมมากเกินไปซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงต่อโรคไต ซึ่งยาในกลุ่มยาขับปัสาวะเหล่านี้ไดแก่ คลอโรไทอะไซด์ (Chlorthiazide) ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์(hydrochlorothiazide) อินดาพาไมด์ (idapamide) เมโทลาโซน(metolazone) และ คลอธาลิโคน(chlorthalidone)
• เอสโตรเจน (Estrogens) (เป็นกลุ่มฮอร์โมนที่ผลิตโดยรังใข่ของสตรี)
เอสโตรเจนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย การใช้เอสโตรเจนกับแคลเซียมในปริมาณมากอาจทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมมากเกินไป เอสโตรเจนเม็ดเหล่านี้ได้แก่ conjugated equine estrogens (ฮอร์โมนทดแทนเอสโตรเจน) เอทินิล เอสตร้าไดออล (ethinyl estradiol) เอสตร้าไดออล (ethinyl estradiol) และอื่นๆ
• ยาปิดกั้นแคลเซียม (Calcium channel blockers)
ยาที่ใช้รักษาอาการของโรคความดันโลหิตสูงนั้นมีปฎิกริยากับแคลเซียมในร่างกายซึ่งยาเหล่านี้เรียกว่ายาปิดกั้นแคลเซียม ควรได้รับแคลเซียมโดยการฉีดอาจลดประสิทธิภาพของยารักษาความดันโลหิตสูงเหล่านี้ ซึ่งยากลุ่มนี้ได้แก่ ไนเฟดินีปีน(nifedipine) เวอราปามิล(verapamil) ดิลไทอะเซม (Diltiazem) Isradipine ฟิโลดีปีน(felodipine) แอมโลดิปีน(amlodipine) และอื่นๆ


ขนาดยา:

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ก่อนใช้

ขนาดการใช้แคลเซียมปกติอยู่ที่เท่าไร:

ขนาดปกติของการใช้แคลเซียมอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและการใช้ยาอื่น ๆ อาหารเสริมสมุนไพรไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดยาที่เหมาะสม


ขนาดรับประทาน

• สำหรับป้องกันระดับแคลเซียมต่ำ : ขนาดที่เหมาะสมคือ แคลเซียม 1 กรัม/วัน
• สำหรับอาการแสบร้อนกลางอก “heart burn” ใช้แคลเซียมคาร์บอเนตเป็นยาลดกรด ขนาด 0.5-1.5 กรัม/วัน หรือตามที่จำเป็น
• เพื่อลดฟอสเฟตในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคไตวาย
ใช้แคลเซียมอะซีเตรทครั้งแรก 1.334 กรัม (แคลเซียม 338 มิลลิกรัม) พร้อมอาหารแต่ละมื้อ แล้วเพิ่มเป็น 2 - 2.67 กรัม (แคลเซียม 500-680 มิลลิกรัม) พร้อมอาหารในแต่ละมื้อถ้าจำเป็น
• เพื่อป้องกันอาการกระดูกเปราะ (โรคกระดูกพรุน) ขนาดที่ใช้แคลเซียม 1 – 1.6 กรัมต่อวัน จากอาหารและอาหารเสริม เมื่อเร็วๆนี้ แนวทางเวชปฎิบัติเรื่องโรคกระดูกพรุนในอเมริกาเหนือ ได้แนะนำให้ใช้แคลเซียม 1200 มิลลิกรัมต่อวัน
• เพื่อป้องกันภาวะกระดูกหักหรือแตกที่สูญเสียเนื้อกระดูก ในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่อายุมากกว่า 40 ปี ขนาดที่ใช้ 1 กรัมต่อวัน
• สำหรับสตรีมีครรภ์ที่ได้รับอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมต่ำ: ขนาดที่ใช้สำหรับเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกทารกในครรภ์ 300 -1300 มิลลิกรัมต่อวัน เริ่มที่อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 20 – 22
• สำหรับอาการก่อนมีรอบเดือน: ขนาดที่ใช้ แคลเซียม1-1.2กรัม/วัน และแคลเซียมคาร์บอเนต
• เพื่อลดละดับไทรอยด์ในผู้ป่วย โรคไตล้มเหลวเรื้อรัง ขนาดที่ใช้ แคลเซียมคาบอร์เนต 2-21 กรัมต่อวัน
• เพื่องป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้ใช้ยาคอร์ดิโคสเตียรอยด์ (corticosteroid): ขนาดที่ใช้ 1 กรัม/วัน แบ่งเป็นสองส่วน
• สำหรับโรคความดันโลหิตสูง: ขนาดที่ใช้ แคลเซียม 1 – 1.5 กรัมต่อวัน
• สำหรับป้องกันความดันโลหิตสูงในระหว่างครรภ์ :ขนาดที่ใช้ แคลเซียมและแคลเซียมคาร์บอเนต 1 - 2 กรัมต่อวัน
• สำหรับป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ และเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ :ขนาดที่ใช้ แคลเซียม 1200 – 1600 มิลลิกรัมต่อวัน
• สำหรับอาการโคเลสเตอรอลสูง: แคลเซียม 1200 มิลลิกรัมต่อวัน ใช้ร่วมกับวิตามินดี 400 IU ต่อวันหรือไม่ใช้ก็ได้ ควบคู่กับอาหารไขมันต่ำ หรืออาหารลดน้ำหนักโดยตรง
• เพื่อป้องกันโรคฟลูออไรด์เป็นพิษในเด็ก :ใช้แคลเซียม 125 มิลลิกรัมต่อวัน วันละสองครั้ง ควบคู่กับวิตามินซีและดี
• สำหรับลดน้ำหนัก: เพิ่มการบริโภคแคลเซียมจากผลิตภัณฑ์นมเพื่อให้ได้ปริมาณรวม 500-2400 มิลลิกรัมต่อวัน ควบคู่กับอาหารลดน้ำหนักที่ใช้อยู่
แคลเซียม คาร์บอเนต และ แคลเซียม ซีเตรด คือแคลเซียมสองชนิดที่ใช้กันมากที่สุด แคลเซียมเสริมอาหารมักจะถูกแบ่งการใช้เป็น 2 ส่วนในแต่ละวัน เพื่อเพิ่มการดูดซึม จะเป็นการดีที่สุดถ้าใช้แคลเซียมพร้อมอาหารในปริมาณ 500 มิลลกรัมต่อวัน หรือน้อยกว่า
สถาบันการแพทย์ได้ตีพิมพ์ปริมาณสารอาหารที่แต่ละคนควรจะได้รับในแต่ละวัน(RDA)สำหรับแคลเซียม โดยประมาณจากสารอาหารที่จำเป็น เพื่อความเหมาะสมกับความต้องการเกือบจะทั้งหมดของจำนวนประชากรที่มีสุขภาพแข็งแรงแต่ละบุคคล RDA ที่ใช้ในปัจจุบันได้ถูกกำหนดขึ้นในปี 2010 ซึ่งอัตตราการเปลี่ยนแปลงของขนาดที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับอายุตามลำดับต่อไปนี้ อายุ 1 – 3 ปี 700 มิลลิกรัม 4 – 8 ปี 1000 มิลลิกรัม 9 – 18 ปี 1300 มิลลิกรัม 19 – 50 ปี 1000 มิลลิกรัม ผู้ชาย 51 – 70 ปี 1000 มิลลิกรัม ผู้หญิง 51 – 70 ปี 1200 มิลลิกรัม 70 ปีขึ้นไป 1200 มิลลิกรัม ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร (อายุต่ำกว่า 19 ปี ) 1300 มิลลิกรัม ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร(19 – 50 ปี) 1000 มิลลิกรัม
นอกจากนี้สถาบันการแพทย์ยังได้กำหนดปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้ใช้ได้สูงสุดต่อวัน(UL)ไว้อีกด้วย ซึ่งขี้นอยู่กับอายุตามลำดับต่อไปนี้ อายุ 0 – 6 เดือน 1000 มิลลิกรัม 6 – 12 เดือน 1500 มิลลิกรัม 1 – 3 ปี 2500 มิลลิกรัม 9 – 18 ปี 3000 มิลลิกรัม 19 – 50 ปี 2500 มิลลิกรัม 51 ปีขึ้นไป 2000 มิลลิกรัม ซึ่งปริมาณต่อวันที่กล่าวมาข้างต้นนี้ควรหลีกเลี่ยง
ปริมาณการใช้ในแต่ละวันที่เกินจากการแนะนำตือ 1000 – 1300 มิลลกรัมต่อวัน สำหรับในผู้ใหญ่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ดังนั้นจนกว่าจะมีข้อมูลมากกว่านี้จึงควรใช้แคลเซียมที่เหมาะกับความต้องการในแต่ละวัน แต่ต้องไม่มากเกินความจำเป็น ให้แน่ใจว่าปริมาณแคลเซียมที่ได้รับจากอาหารและอาหารเสริมต้องไม่เกิน 1000 – 1300 มิลลิกรัมต่อวัน คำนวณอาหารที่มีแคลเซียมจากอาหารที่ไม่มีส่วนผสมของนม 300 มิกรัมต่อวัน นมหรือน้ำผลไม้ 1 แก้ว 300 กรัมต่อวัน
ปริมาณการใช้แคลเซียมในแต่ละวันอาจแตกต่างกันไปสำหรับคนไข้แต่ละคน ขนาดที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเหตุผลอื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้นไม่ปลอดภัยเสมอไป ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อขนาดที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล


แคลเซียมมีจำหน่ายในรูปแบบใด:
แคลเซียมอาจมีอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

• แคลเซียมแคปซุล 600 มิลลิกรัม
• แคลเซียมน้ำ

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว