เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ไตเสื่อม (Chronic Renal Failure)
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
ไตเสื่อม (Chronic Renal Failure)

ไตเสื่อม (Chronic Renal Failure)

หน้าที่สำคัญของไต
1) การกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกาย และน้ำส่วนเกินทิ้ง ซึ่งทำให้เลือดสะอาด
2) รักษาระดับเกลือแร่ในเลือดให้ปกติ
3) สร้างฮอร์โมนหลายชนิด สารควบคุมความดันโลหิต สารสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ไม่เกิดภาวะโลหิตจาง และสร้างสารเสริมกระดูก ช่วยทำให้ระดับฟอสฟอรัส และแคลเซียม ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในเด็กจะช่วยให้ เจริญเติบโตได้ ตามวัย ซึ่งตามปกติเมื่อคนเรา อายุ 30 ปี ขึ้นไป......ไตจะเสื่อมตามธรรมชาติ ร้อยละ 1 ต่อปีแต่ ......การที่ไตเสื่อมอย่างรวดเร็ว หรือหยุดการทำงานทันที เราเรียกว่า "โรคไตวายเฉียบพลัน "(Acute renal failure) ซึ่งอาจจะกลับเป็นปกติได้ ถ้าได้การรักษาที่เหมาะสม
ถ้าไตเสื่อมลงอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง จะทำให้ไตเกิดความผิดปกติอย่างถาวร ระยะของโรคไตเสื่อเรื้อรัง มีทั้งหมด 5 ระยะ;

1) ระยะที่1 ค่า GFR > 90 เป็นค่าปกติ จะสามารถตรวจพบความผิดปกติของไต เช่น
ปัสสาวะมีตะกอนผิดปกติ แต่ไตก็ยังคงทำงานได้ปรกติในระยะนี้. การดูแลรักษา : ต้องงดสูบบุหรี่ รักษาโรคที่เป็นสาเหตุที่ ทำให้เกิดโรคไต อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเอสแอลอี (ภูมิคุ้มกันผิดปกติ) โรคเก๊าท์ นิ่วในไต ไตอักเสบ การติดเชื้อปัสสาวะซ้ำ ๆ
2) ระยะที่ 2 ค่า GFR 60-90 ค่า Cr 1.2 ไตเริ่มทำงานได้น้อย 3 ใน 4 ส่วน หรือ 60-90% อัตราการกรองของไตลดลงเล็กน้อย. การดูแลรักษา : ลดปริมาณอาหารที่มีรสเค็ม
3) ระยะที่ 3 ค่า GFR 30-60 ค่า Cr 1.8 ไตเริ่มทำงานลดลง 1 ใน 2 ส่วน หรือ 30-60% อัตราการกรองของไตลดลงปานกลาง การดูแลรักษา : ลดอาหารจำพวกโปรตีน
4) ระยะที่ 4 ค่า GFR 15-30. ค่า Cr 3.6. ไตเริ่มทำงานได้น้อย 1 ใน 4 ส่วน หรือ 15-30%
ไตเริ่มวาย อัตราการกรองของไตลดลงมาก. การดูแลรักษา : จำกัดการบริโภคผลไม้ต่างๆ
5) ระยะที่ 5 ค่า GFR < 15. ไตวายระยะสุดท้าย เป็น "ระยะไตวาย" ซึ่งในระยะนี้. ไตจะทำงานได้ น้อยกว่า 15% การดูแลรักษา : เตรียมตัวล้างไต หรือผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายไต

*หมายเหตุ หน่วยกรองไต ถ้าเสียหายแล้ว.....มิอาจซ่อมให้กลับมาเป็นดังเดิมได้ ฉะนั้น....ควรดูแล ป้องกัน บำรุง ฟื้นฟู ไว้ ดีกว่า

19/05/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง

อะไรคือโรคโลหิตจางที่มาจากการขาดวิตามินบี 12 เมื่อคุณมีภาวะขาดวิตามินบี 12 หมายความว่าร่างกายของคุณไม่มีวิตามินชนิดนี้เพียงพอ คุณจำเป็นต้องมีวิตามินบี 12 ในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขนส่งออกซิเจนผ่านร่างกายของคุณ การมี B12



สงกรานต์นี้ ใคร ๆ ก็พากันหยุดยาว แต่เว็บไซต์ “เช็คสุขภาพ” และช่องทางการตอบคำถามโรคภัยไข้เจ็บของ “ถามหมอ” ยังคงเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง 


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว