เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / บัวบก (Gotu Kola) พืชก้นครัว สรรพคุณมหาศาล
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
บัวบก (Gotu Kola) พืชก้นครัว สรรพคุณมหาศาล

ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica (L.) Urb.

จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE) สมุนไพรบัวบก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักหนอก (ภาคเหนือ) ผักแว่น (ภาคใต้) กะโต่ เป็นต้น จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กทอดแผ่ไปตามดิน มีรากออกตามข้อ ใบเดี่ยวออกเป็นกระจุกที่ข้อก้านใบยาว ใบรูปกลมคล้ายไต ขอบใบหยักเป็นซี่ฟัน โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ปลายใบกลม ดอกเป็นช่อออกที่ซอกใบ เป็นช่อเดี่ยว หรือ 2-5 ช่อ คล้ายร่ม ดอกมีสีม่วงแดง กลีบดอกรูปไข่ 5 กลีบ ผลแบนแห้งแตกเป็นซีก และแต่ละซีกกมีเมล็ด 1 เมล็ด ใบมีกลิ่นฉุน มีรสขมหวาน

สรรพคุณ:

ใบบัวบกมีสารสำคัญอย่าง โมซัยด์ บรามิโนซัยด์ ไตรเตอพีนอยด์ มาดิแคสโซซัยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ และยังมี กรดมาดิแคสซิค วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม และ กรดอะมิโน อย่าง แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น ใบบัวบก เหมาะสำหรับคนที่ขี้ร้อน หรือมีความร้อนชื้น เพราะเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

บัวบกเป็นผักพื้นบ้านที่นิยมนำมารับประทานเป็นผักสด และทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ นอกจากแก้ช้ำในแล้ว บัวบกยังมีสรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงสมองเพิ่มการจดจำ และการเรียนรู้ ช่วยเสริมฤทธิ์การทำงานของสารสื่อประสาท ทำให้ผ่อนคลาย หลับได้ดีขึ้น แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้อาการอ่อนเพลีย ฟื้นฟูสุขภาพ เป็นยาอายุวัฒนะ อีกทั้งยังช่วยยกระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันและยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง การเสื่อของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย รักษาหลอดลมอักเสบ แก้หืด ม้ามโต ปัสสาวะมีหนอง ขับปัสสาวะ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร อาการปวดศีรษะข้างเดียว

ประโยชน์อื่น ๆ :

  • บัวบก เป็นพืชที่มีแคลเซียมในระดับปานกลางถึงสูง แต่มีระดับสารออกซาเลตที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในปริมาณต่ำ
  • ใบบัวบก ช่วยคืนความอ่อนเยาว์ ย้อนอายุและวัย
  • ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
  • มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆในร่างกาย
  • ประโยชน์ของใบบัวบก ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ฟื้นฟูรอบดวงตา เพราะบัวบกมีวิตามินเอสูง
  • ช่วยบำรุงประสาทและสมองเหมือน ใบแปะก๊วย ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น และทำให้มีปฏิภาณไหวพริบเพิ่มมากขึ้น. ช่วยเพิ่มความจำในผู้สูงอายุ
  • ใบบัวบก สรรพคุณช่วยชะลออาการของโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ สตรีวัยทอง หรือโรคอัลไซเมอร์ หรืออาการหลงลืมระยะสั้นได้
  • ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ ช่วยผ่อนคลายความเครียด
  • ช่วยเสริมการทำงานของ กาบา (GABA) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยรักษาสมดุลของจิตใจ จึงช่วยผ่อนคลายและทำให้หลับง่ายขึ้น
  • ช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดี
  • ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ด้วยการใช้บัวบกสดประมาณ 1 กำมือ นำมาตำคั้นเอาน้ำแล้วเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง แล้วจิบกิน
  • สรรพคุณของบัวบก ช่วยลดความดันเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้หลอดเลือด และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  • ช่วยแก้อาการช้ำใน บาดเจ็บ
  • ใช้เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 20 ใบนำมาล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด. ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วยิ่งขึ้น ช่วยเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ
  • ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอง
  • ใช้เป็นยาถอนพิษ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน จากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ทั้งต้นสดของบัวบกประมาณ 3 ต้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด ตำให้แหลกแล้วนำมาพอกแผลไฟไหม้
  • ใช้กับที่เกิดจากโรคจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือการติดเชื้อปรสิต เช่นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI) โรคงูสวัด โรคเรื้อน อหิวาตกโรค โรคบิด ซิฟิลิส ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดสายพันธ์ H1N1 โรคเท้าช้าง วัณโรค โรคพยาธิใบไม้ในเลือด
  • บรรเทาความเหนื่อยล้า ความกังวล ความเศร้าซึม โรคทางจิตเวช โรคอัลไซเมอร์ และการปรับปรุงความจำ และความสามารถในการคิดและเรียนรู้
  • ใช้กับบาดแผล การบาดเจ็บ และปัญหาการไหลเวียนโลหิต (ภาวะหลอดเลือดดำบกพร่อง) รวมถึงเส้นเลือดขอด และการแข็งตัวของเลือดที่ขา
  • สำหรับโรคลมแดด ภาวะต่อมทอลซิลอักเสบ ของเหลวรอบๆ ปอด (เยื่อหุ้มปอดอักเสบ) โรคไต (ไวรัสตับอักเสบ) ดีซ่าน โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) ปวดท้อง ท้องเสีย อาหารไม่ย่อย แผลในกระเพาะอาหาร โรคลมบ้าหมู โรคหืด ภาวะโลหิตจาง โรคเบาหวาน และเพื่อช่วยให้มีชีวิตยาวขึ้น
  • ป้องกันการตั้งครรภ์ ภาวะหมดประจำเดือน และกระตุ้นความต้องการทางเพศ
  • ลดแผลเป็น รวมถึงการยืดของแผลเนื่องจากการตั้งครรภ์

บัวบกเป็นสมุนไพรใช้สมานแผล โดยสามารถใช้บัวบกกับแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลพุพอง แผลอักเสบ แผลจากโรคเรื้อน แผลที่มีเลือดออก ผกช้ำดำเขียวจากการถูกกระแทก สมานแผลให้หายเร็ว ลดรอยแผลเป็น รักษาแผลในช่องปาก และเป็นสมุนไพรที่ช่วยกระตุ้นในการสร้างคอลลาเจน เร่งกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ลดการอักเสบ และมีกลไกในการสร้างหลอดเลือดใหม่ โดยมีสาระสำคัญคือ กรดอาเซียติก กรดมาเดแคสสิก อะเซียติโคไซด์ มาเดแคสโซไซด์ ด้วยสารเหล่านี้ จึงมีการนำสารสกัดจากใบบัวบกมาทำเป็นครีมรักษาแผลอักเสบและพุพอง รวมทั้งยังนำไปใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางประเภทช่วยลดริ้วรอย รอยแผลเป็น และยกกระชับผิวหน้าอีกด้วย       

บัวบกมีการนำมาผลิตเป็นแคปซูลวางจำหน่าย มีสรรพคุณในการช่วยบำรุงสมองเป็นหลัก (Brain tonic)   รับประทานเหมือนหรือแทนใบแปะก๊วย

ข้อควรระวังและคำเตือน: 
หากกำลังคิดจะใช้อาหารเสริมจากบัวบกเป็นส่วนผสม ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หากมีอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:
- อยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจาก ในขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
- ใช้ยาชนิดอื่นร่วมด้วย ทั้งในกรณีที่ซื้อกินเองและยาตามแพทย์สั่ง
- มีอาการแพ้สารจากบัวบก หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
- ไม่สบาย มีอาการผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
- มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์
ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายา ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีการศีกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยเพิ่มเติม ประโยชน์ของการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรต้องมีมากกว่าผลข้างเคียง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมก่อนใช้ทุกครั้ง

ข้อควรระวังอื่น ๆ:

ทั้งรากและต้นของใบบัวบกมีสรรพคุณทางยาอย่างครบถ้วน อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้มากเกิน เพราะมีฤทธิ์เย็น อาจทำให้ร่างกายเสียสมดุล โดยเฉพาะผู้ที่ท้องอืดและอาหารไม่ย่อย และหลีกเลี่ยงการรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้ในผู้ที่ป่วยบางราย รวมทั้งผู้ป่วยที่ใช้ยาขับปัสสาวะ ยาที่มีผลต่อตับ และยาที่ทำให้ง่วงนอน เพราะบัวบกจะไปเสริมฤทธิ์ยาเหล่านั้น งานวิจัยบางชิ้นยังระบุว่า สารสกัดจากใบบัวบกมีตัวยาฆ่าเซลล์มะเร็งและยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็งบางชนิด

การนำบัวบกปลอดภัยแค่ไหน:

เด็ก:

ไม่ควรใช้สารสกัดจากใบบัวบกกับเด็ก

สตรีมีครรภ์และกำลังให้นมบุตร:

ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการนำสารสกัดจากใบบัวบกมาใช้กับสตรีตั้งครรภ์หรือสตรีที่ให้นมบุตรว่าปลอดภัยหรือไม่ไม่มากพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้สารสกัดจากใบบัวบก

ผู้สูงอายุ:

ผู้สูงอายุเกิน 65 ปีควรได้รัยสารสกัดจากใบบัวบกในปริมาณที่ต่ำ

ผู้ป่วยผ่าตัด:

สารสกัดจากใบบัวบกอาจเป็นเหตุให้เกิดอาการง่วงนอน หากกำลังใช้ยาหรืออาหารเสริมใดก็ตามที่มีสารสกัดจากใบบัวบกอยู่ และกำลังจะเข้ารับการผ่าตัด ให้งดใช้ยาหรืออาหารเสริมนั้นก่อนผ่าตัด 2 สัปดาห์

ผลข้างเคียง:

  • โรคภูมิแพ้ที่ผิวหนัง
  • ปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนัง
  • ปวดศีรษะ
  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • อาการคลื่นไส้
  • อาการวิงเวียนศีรษะ
  • อาการง่วงซึม

อาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสารสกัดใบบัวบกนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน หากมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนการใช้

อันตรกิริยาต่อยา:

ใบบัวบกอาจมีผลกับยาบางอย่างที่ใช้ หรือมีผลกับโรคอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

ยาที่มีผลต่อตับ :

ใบบัวบกมีสารที่เป็นอันตรายต่อตับ และหากได้รับพร้อมกับยาอื่นก็อาจเป็นอันตรายต่อตับได้

ยาลดไขมันในเลือด (รวมถึง สตาตินส์):

จากงานวิจัยที่ทดลองกับสัตว์ ใบบัวบกเพิ่มระดับไขมันในเลือด นั่นหมายความว่า สารในใบบัวบกอาจเพิ่มระดับไขมันในเลือดมนุษย์ได้เช่นกัน

ยารักษาเบาหวาน:

จากงานวิจัยกับสัตว์ สารจากใบบัวบกเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากใบบัวบกโดยไมได้รับคำปรึกษาจากแพทย์

ยาขับปัสสาวะ (ยาน้ำ) :

ใบบัวบกมีสารที่เป็นยาขับปัสสาวะ และช่วยให้ร่างกายกำจัดของเหลวส่วนเกิน การทานยาขับปัสสาวะพร้อมกับการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์ที่มีสารจากใบบัวบกอาจเป็นเหตุให้ร่างกายสูญเสียของเหลวมากเกินไป และทำให้เสียสมดุลในร่างกาย โดยเฉพาะสารอิเล็กโทรไลท์ที่ร่างกายต้องการ ใบบัวบกมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ เช่นเดียวกับสมุนไพรอื่น เช่น ชาเขียว พืชตระกูลแอสตรากาลัส หรือใบแปะก๊วย

ยาระงับประสาท:

สารในใบบัวบกมีฤทธิ์เหมือนยาระงับประสาท อาจทำให้ผู้ที่ใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์จากใบบัวบกนั้นเกิดความวิตกกังวล นอนไม่หลับยิ่งกว่าเดิม สมุนไพรที่ออกฤทธิ์คล้าย ๆ กันคือ วาเลอเรียน

ปริมาณการใช้:

  • ใบบัวบกอบแห้ง อาจอยู่ในรูปชา ดื่มวันละ 3 ครั้ง
  • สมุนไพรชนิดผงบรรจุแคปซูล
  • ทิงเจอร์ (1:2 w/v แอลกอฮอลล์ 30%) 30-60 หยด (เทียบเท่า 1.5-3 มิลิลิตร : 5 มิลิลิตรใน 1 ช้อนโต๊ะ) วันละ 3 ครั้ง
  • สารสกัดขนาดมาตรฐาน : 50-250 มิลลิกรัม ใช้ทานวันละ 3 ครั้ง

ในแต่ละคน ปริมาณการใช้สมุนไพรอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพและสุขภาพของผู้ป่วย แม้จะมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่าสมุนไพรนั้นเป็นของธรรมชาติและปลอดภัย แต่ก่อนใช้ก็ควรปรึกษาแพทย์สมุนไพรเพื่อให้ทราบขนาดยาที่เหมาะสม

บัวบกมีการนำมาจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง:

  • สมุนไพรอบแห้ง
  • ชนิดผงบรรจุแคปซูล
  • ทิงเจอร์
  • สารสกัด

วิธีใช้ประโยชน์:

  • แก้ช้ำใน แก้ฟกช้ำ

บัวบกประมาณ 1 กำมือ (100 กรัม) ล้างให้สะอาด บดด้วยครกจนละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมน้ำครึ่งลิตร ต้มจนเดือด ผสมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่มอุ่น ๆ 3 เวลา เป็นยาแก้ช้ำใน ดื่มผสมน้ำแข็งเป็นยาเรียกกำลัง คืนความสดชื่อให้ร่างกาย

  • สมานแผล

บัวบกประมาณ 1 หยิบมือ คั้นเอาแต่น้ำ ใช้ทาบริเวณแผลสด โดยเฉพาะแผลโดนน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้ หรือใช้พอกแผลสด หรือแผลที่อักเสบจนเป็นหนอง ช่วยฆ่าเชื้อโรค ขับหนอง ช่วยให้แผลสมานตัวให้เร็วขึ้น

  • โรคผิวหนัง

บัวบกประมาณ 1 หยิบมือ ตำจนละเอียด ขัดบริเวณที่เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา คั้นเอาแต่น้ำ ทาแผลน้ำกัดเท้า

  • แผลในกระเพาะอาหาร

บัวบก 1 กำมือ (100 กรัม) โขลกให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ จิบอุ่น ๆ วันละ 3 เวลา ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร และช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี

  • บำรุงร่างกาย

แก้อาการปวดศรีษะข้างเดียว ลดความดันโลหิต แก้ช้ำใน ร้อนใน ปากเป็นแผล โดยการรับประทานบัวบกเป็นผักสด หรือใช้บัวบก 1-2 กำมือ ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้น ๆ แล้วตำหรือปั่นแยกกาก ดื่มเอาแต่น้ำ ติดต่อกัน 1 สัปดาห์

  • แก้เจ็บคอ

ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำแล้วคั้นเอาน้ำ เติมน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ จิบบ่อย ๆ

  • แผลสด

แผลมีเลือด แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ใช้บัวบกประมาณ 1 กำมือ ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ตำพอกแผลบริเวณที่เป็น ช่วยรักษาแผลและสมานแผลให้หายเร็วขึ้น หรือใช้น้ำคั้นจากบัวบกมาทาบริเวณที่เป็น ควรทาและเปลี่ยนยาบ่อย ๆ

University of Maryland Medical Center. (2016). Gotu-Kola. แหล่งที่มา: http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/gotu-kola     เข้าถึงข้อมูลวันที่: 26 พฤษภาคม 2561

HerbWisdom. (2016). Gotu-Kola. แหล่งที่มา: http://www.herbwisdom.com/herb-gotu-kola.html. เข้าถึงข้อมูลวันที่: 26 พฤษภาคม 2561

Drugs. (2016). Gotu-Kola. แหล่งที่มา: https://www.drugs.com/npc/gotu-kola.html.  เข้าถึงข้อมูลวันที่: 26 พฤษภาคม 2561

ชิดพงศ์ กวีวรวุฒิ และคณะ. (2557). หยุดป่วยด้วยสมุนไพร. กรุงเทพ:สำนักพิมพ์เอ็มไอเอส.

ชิดพงศ์ กวีวรวุฒิ และคณะ. (2557). สุขภาพดีด้วยพืชผักสวนครัวในบ้าน. กรุงเทพ:สำนักพิมพ์เอ็มไอเอส.

อารีรัตน์. (2555). รู้ทันโรค บริโภคสมุนไพร. กรุงเทพ:สำนักพิมพ์ อินส์พัล.

พิมลพรรณ อนันต์กิจไพศาล. (2560). สุดยอด 108 สมุนไพรไทย ใช้เป็น หายป่วย. กรุงเทพ:สำนักพิมพ์ เก็ท ไอเดีย.

27/05/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง

ตะไคร้เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ขึ้นอยู่รวมเป็นกอ อายุหลายปี สูง 1 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อและปล้องสั้น ๆ ค่อนข้างแข็ง ลำต้นส่วนที่อ่อนมีใบเรียงซ้อนกันแน่นมาก



หรือโกจิเบอร์ริ (GOJI BERRY) เป็นสมุนไพรที่ถูกค้นพบโดยชาวหิมาลายัน4000ปีก่อนคริสตกาล เพิ่งตื่นรู้และแพร่หลายในป้จจุบัน ชาวจีน ทิเบตและอินเดียนำไปใช้ปรุงยา



Morinda citrifolia L. มีประโยชน์มากมายทางด้านสุขภาพ และสามารถหาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้สะดวก เพราะมีขึ้นอยู่ทั่วทุกสภาพดิน และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว