เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / วิจัยการแพทย์กว่า 35% ปิดบังเรื่อง ผลข้างเคียง อันตราย ในยาและการผ่าตัด
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
วิจัยการแพทย์กว่า 35% ปิดบังเรื่อง ผลข้างเคียง อันตราย ในยาและการผ่าตัด

17 กุมภาพันธ์ 2562, กรุงเทพ --- เภสัชกรที่อยู่กับยาจนเป็นอาชีพจะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ยาทุกชนิดเป็นยาอันตราย เพราะมีผลข้างเคียงทั้งหมด” และเชื่อหรือไม่ว่า งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า หนึ่งในสามของผลข้างเคียงและอันตรายจากการใช้ยา และการผ่าตัดไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในผลการทดลองทางการแพทย์

งานวิจัยกว่า 35% ที่ศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาและการผ่าตัด ไม่ยอมบันทึกเรื่องผลข้างเคียงและผลอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตามมา

จากการนำเอาเปเปอร์วิจัยกว่า 187 ชิ้นมาทำการสำรวจ พบว่า งานวิจัยกว่า 8% ไม่ได้ตั้งใจที่จะศึกษาเรื่องของผลข้างเคียงหรือผลกระทบอื่น ๆ ตั้งแต่เริ่มทำวิจัย และแค่ 27% เท่านั้นที่ระบุเรื่องของอันตรายและผลข้างเคียงของยาและการผ่าตัดแต่บางส่วน

นักวิจัยจาก University of York ประเทศอังกฤษ เปิดเผยว่า งานวิจัยทางการแพทย์แค่ 65% เท่านั้นที่ศึกษาร่วมและบันทึกข้อมูลของผลข้างเคียงและอันตรายของยาและการผ่าตัดต่าง ๆ ไว้ อยู่ในบททบทวนเอกสาร

นักวิจัยจาก University of York แสดงความกังวลว่า เหตุใด ส่วนสำคัญของงานวิจัยด้านสุขภาพเช่นนี้จึงไม่ได้มีการบันทึกและรายงานผล ซึ่งให้เกิดข้อชี้แนะใหม่ว่า งานวิจัยทางการแพทย์ในอนาคตควรต้องรวมเรื่องนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางปฏิบัติอย่างเคร่งครัดสำหรับงานวิจัยทางการแพทย์ในอนาคตไปด้วย ซึ่งอาจต้องระบุไว้ในเอกสารเสนอโครงการก่อนลงมือทำการวิจัยอีกด้วย

แหล่งที่มา

University of York. (2016). Side-effects not fully reported in more than 30% of healthcare reviews. Accessed 17 February 2019.

17/02/2019
บทความที่เกี่ยวข้อง

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยชี้ความท้าทายสาธารณสุขไทย ต้องเร่งแก้วัณโรค องค์การอนามัยโลกจัดไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรครุนแรง คนไทยป่วยเป็นวัณโรครายใหม่ปีละ 1.2 แสนคน ตาย 1.4 หมื่น คนต่อปี



โรคความดันโลหิตสูงอาจเป็นอาการของการขาดสังกะสี ดังนั้น การรับประทานสังกะสีเพิ่มจะช่วยให้ระดับเลือดปกติ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเสตทไรท์ ในสหรัฐอเมริกา พบว่า การขาดสังกะสีอาจเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และโรคไตเรื้อรัง นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว