เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)

ความดันโลหิตต่ำคืออะไร

ความดันโลหิตต่ำ เป็นศัพท์ทางการแพทย์ หมายถึงภาวะของความดันเลือดในร่างกายที่ต่ำ (ต่ำกว่า 90/60)

ความดันโลหิตอ่านได้ 2 ค่า ค่าแรกที่สูงกว่าจากค่าทั้งสองที่ปรากฏเรียกว่า “ความดันตัวบน” (Systolic Pressure) หรือความดันในเส้นเลือดแดงใหญ่ จากการเต้นของหัวใจและไหลของเลือดผ่านเส้นเลือดดังกล่าว ตัวเลขที่ 2 คือ “ความดันตัวล่าง” (Diastolic Pressure) หรือความดันในหลอดเลือดแดงใน “ขณะพัก” ระหว่างการเต้นของหัวใจ

ความดันที่เหมาะสมที่สุดต้องน้อยกว่า 120/80 (ความดันตัวบน/ความดันตัวล่าง) ในผู้ที่มีสุขภาพดี ความดันโลหิตต่ำ โดยไม่มีโรคหรืออาการอื่น ๆ จะไม่เป็นที่น่ากังวล และไม่ต้องรักษา แต่ความดันโลหิตต่ำอาจมีปัญหาแทรกซ้อนอื่นได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากการไหลของเลือดเข้าสู่หัวใจ เลี้ยงสมองและอวัยวะสำคัญอื่น ๆ ที่ไม่เพียงพอ

ความดันโลหิตเรื้อรังที่ไม่มีอาการอื่นจะไม่เป็นปัญหาให้กังวล แต่ปัญหาสุขภาพเกิดขึ้นได้เมื่อความดันโลหิตต่ำลงกะทันหันและสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงที่เพียงพอ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและเวียนหัว ความดันโลหิตต่ำลงกะทันหันเกิดขึ้นได้กับคนที่เพิ่งตอนตื่นและลุกขึ้นกะทันหัน หรือนั่งอยู่แล้วลุกขึ้นกะทันหัน ความดันโลหิตต่ำประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันคือ ความดันเลือดต่ำลดลงขณะเปลี่ยนท่าหรือลุกยืน หรือ ความดันเลือดต่ำมีพยาธิสภาพ ความดันเลือดต่ำอีกประเภทคือ ความดันเลือดต่ำขณะยืนเป็นเวลานาน เมื่อเกิดการเป็นลม จึงเรียกว่า โรควูบ หรือ เป็นลมธรรมดา

ความดันเลือดต่ำลดลงขณะเปลี่ยนท่าหรือลุกยืน (Postural Hypotension) เป็นอาการล้มเหลวของระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือระบบประสาทที่มีปฏิกิริยาตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือรักษา ความดันโลหิตต่ำอาจต่ำลงอีก แต่ร่างกายของคุณจะชดเชยโดยการส่งสารไปยังหัวใจให้มีการเต้นเร็วขึ้น และทำให้หลอดเลือดบีบรัดตัวมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้ความดันเลือดลดลง แต่หากไม่เกิดความดันเลือดลดหรือเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ความดันเลือดต่ำลดลงขณะเปลี่ยนท่าหรือลุกยืนจะทำให้เกิดอาการเป็นลม

ความเสี่ยงในการโรคความดันโลหิตสูง และอาการความดันโลหิตต่ำ ปกติแล้วจะเพิ่มขึ้นจากอายุ เนื่องจากร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงเพราะอายุมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น การไหลของเลือดเข้าไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจและสมองลดลงตามวัย และมักเกิดคราบและก้อนที่ก่อตัวและอุดตันในเส้นเลือด คนที่อายุ 65 ปีขึ้นไป 10-20% มีอาการความดันเลือดต่ำลดลงขณะเปลี่ยนท่าหรือลุกยืน

 

เข้าใจ “ความดันโลหิตต่ำ” เบื้องต้น

สาเหตุของความดันโลหิตต่ำไม่เป็นที่ชัดเจน แต่อาจมีสาเหตุมากจากสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์
  • ปัญหาเรื่องฮอร์โมน เช่น ภาวะขาดไทรอยด์ออร์โมน (Hypothyroidism) โรคเบาหวาน หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
  • ยาที่ขายกันทั่วไปบางชนิด
  • ยาตามแพทย์สั่งบางชนิด ที่ใช้รักษาโรคบางชนิด เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคซึมเศร้า หรือยารักษาโรคพาร์กินสัน
  • หัวใจล้มเหลว
  • ภาวะหัวใจวาย (จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ)
  • การขยายออกของเส้นเลือด
  • อ่อนเพลียจากความร้อน หรือ โรคลมแดด (Heat Stroke)
  • โรคตับ

อะไรเป็นสาเหตุของความดันโลหิตลดลงกะทันหัน

ความดันโลหิตลดลงกะทันหันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ สาเหตุของความดันโลหิตลดลงรวมถึง:

  • บาดเจ็บและสูญเสียเลือด
  • อุณหภูมิในร่างกายต่ำลง
  • อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่เป็นสาเหตุของหัวใจวาย
  • แบคทีเรียบางชนิด ที่มาจากการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง
  • ภาวะขนาดน้ำอย่างรุนแรงจากการอาเจียน ท้องเสีย หรือเป็นไข้
  • ปฏิกิริยาต่อการรักษาด้วยยาหรือแอลกอฮอล์
  • เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง หรือที่เรียกว่า “ภูมิแพ้” (Anaphylaxis) ที่ทำให้เกิดการเต้นหัวใจผิดปกติ

 

ใครสามารถเป็นความดันโลหิตต่ำลดลงขณะเปลี่ยนท่าหรือลุกยืนได้

ความดันเลือดต่ำลดลงขณะเปลี่ยนท่าหรือลุกยืนซึ่งเป็นภาวะความดันเลือดต่ำเมื่อยืนขึ้นกะทันหัน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น การขาดน้ำ การขนาดอาหาร หรือมีอาการอ่อนเพลียมากเกินไป นอกจากนี้ ยังได้รับอิทธิพลจากการยีนส์ อายุ อยู่ในช่วงรักษาโรคด้วยยา ปัจจัยทางจิตวิทยาและการควบคุมอาหาร และเกิดจากตัวกระตุ้นให้เกิดอาการฉับพลัน เช่น การติดเชื้อ และอาการแพ้

ความดันเลือดต่ำลดลงขณะเปลี่ยนท่าหรือลุกยืนมักเกิดขึ้นกับคนที่ใช้ยาเพื่อควบคุมความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังเกี่ยวกับการท้อง ภาวะทางอารมณ์ที่รุนแรง เส้นเลือดที่แข็งและไม่ยืดหยุ่น (Atherosclerosis) หรือเบาหวาน ผู้สูงอายุจะเป็นกลุ่มที่ได้ผลกระทบจากภาวะนี้ได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือความเสื่อมของระบบประสารทอัตโนมัติ

ภาวะความดันโลหิตต่ำที่เกิดหลังรับประทานอาหารเป็นสาเหตุปกติของการเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หรือล้มลงหลังจากกินข้าวแล้ว ซึ่งเกิดขึ้นปกติที่สุดหลังจากทานอาหารมื้อใหญ่ที่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก ทั้งนี้ เชื่อกันว่า เป็นเพราะเลือดจำนวนมากถูกดึงไปกองกันอยู่ในเส้นเลือดบริเวณกระเพาและลำไส้มาเกินไป

นอกจากนี้ ยาหลายชนิดยังเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำได้อีก ทั้งนี้ ยาเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 หมวด:

  • ยาที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง เช่น ยาขับปัสสาวะ เบต้า-บล็อกเกอร์ ยาต้านแคลเซียม และตัวยับยั้ง แองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ (ACE)
  • ยาที่ใช้แล้ว มีภาวะความกันโลหิตต่ำเป็นผลข้างเคียง ได้แก่ ไนเตรต ยากรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาต้านอาการทางจิต ยาต้านอาการทางจิตชนิดที่ออกฤทธิ์เนิ่นนาน ยาต้านภาวะวิตกกังวล ยากล่อมประสาท ยาที่ใช้รักษาอาการโรคซึมเศร้า

 

สาเหตุทั่วไปและธรรมชาติของการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ:

  • ภาวะขาดน้ำ และการสูญเสียสารอิเล็กทรอไลท์ อันมีสาเหตุมาจากอาการท้องเสีย อาเจียน การสูญเสียเลือดในปริมาณมากและต่อเนื่องระหว่างมีประจำเดือน หรืออาการอื่น ๆ
  • ภาวะความดันโลหิตต่ำอันเกิดตามวัย ซึ่งอาจเกิดจากภาวะสุขภาพและการรักษาด้วยยาบางชนิด

ความดันเลือดต่ำลดลงขณะเปลี่ยนท่าหรือลุกยืนมีสาเหตุมาจากโรคบางชนิด ดังนี้:

  • ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น กลุ่มอาการชาย-เดรเกอร์ (Shy-Drager syndrome) หรือโรคที่มีพยาธิสภาพที่เกิดในหลายๆ ระบบ
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ปลายประสาทอักเสบ/ปลายประสาทเสื่อม (peripheral neuropathy), ความผิดปกติของระบบประสาทเสรี (autonomic neuropathy)
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease)
  • ภาวะติดแอลกอฮอล์
  • โรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร

 

ปรึกษาแพทย์ทันทีที่มีอาการดังต่อไปนี้:

  • มีอาการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ได้แก่
    • วิงเวียนศีรษะ
    • เวียนหัว
    • รู้สึกโซเซ
    • เห็นภาพไม่ชัดหรือภาพล่าง ๆ
    • รู้สึกอ่อนล้า
    • คลื่นไส้อาเจียน
    • หนาว ความชื้อบนผิวหนังสูง
    • เป็นลม
    • ผิวเหลืองซีด
  • ท่านได้รับการตรวจวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันโลหิตต่ำ และเกิดอาการผลข้างเคียงมาก่อน เช่น หกล้มหรือเป็นลม
  • มีอาการบางอย่างอันเป็นผลมาจากทั้งยาที่แพทย์สั่งและที่แพทย์ไม่ได้สั่ง

หากความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างรุนแรง จะเป็นอันตรายอย่างมาก เป็นสัญญาณว่าร่างกายของเราได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอที่จะเข้าไปหล่อเลี้ยงอวัยวะสำคัญในร่างกาย การลดลงของออกซิเจนเป็นผลมาจากกลไกการทำงานของหัวใจและสมองเกิดความบกพร่อง และทำให้หายใจลำบาก หากมีความดันโลหิตต่ำ อาจทำให้เกิดอาการเป็นลม หมดสติ หรือช็อค (เมื่ออวัยวะต่าง ๆ ปิดตัว)

 

เข้าใจภาวะความดันโลหิตต่ำ – การวินิจฉัยและการรักษา

จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีภาวะความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตต่ำอาจไม่ใช่สัญญาณแห่งปัญหาก็ได้ แต่หากมีภาวะความดันโลหิตต่ำ แพทย์อาจวินิจฉัยภาวะนี้ และพบสาเหตุได้ อาการที่จะเกิดจากภาวะความดันโลหิตต่ำ โดยเฉพาะ อาการวิงเวียนศรีษะและอาการเวียนหัวเมื่อลุกยืนขึ้นจากการนั่งหรือการนอน โดยมีการลดลงของความดันเลือด อาจเป็นสัญญาณของภาวะที่เรียกว่า ความดันโลหิตต่ำลดลงขณะเปลี่ยนท่าหรือลุกยืน อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำยังเกิดขึ้นได้จากอีกหลายสาเหตุมากมาย จึงเป็นสิ่งสำคัญในการระบุสาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำ เพื่อที่ว่าจะได้มีการรักษาให้ถูกต้อง

แพทย์จะตรวจสอบประวัติการใช้ยา อายุ อาการจำเพาะ และภาวะ ภายใต้อาการที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ แพทย์ยังจะทำการตรวจประเมินร่างกาย และตรวจความดันโลหิตซ้ำ และอัตราชีพจร หลังจากนอนราบเป็นเวลาไม่กี่นาที หลังจากลุกขึ้นยืน และในภายในไม่กี่นาทีหลัวจากลุกขึ้นยืนกะทันหัน

อาจมีการตรวจสอบอื่น ๆ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เพื่อวัดอัตราการเต้นและจังหวะการเต้นหัวใจ และการตรวจคลื่นหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) (ตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อให้เห็นภาพหัวใจ) แพทย์อาจให้มีการตรวจเลือดเพื่อหาโรคโลหิตจาง และปัญหาเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือด

คนไข้อาจจำเป็นต้องใช้โปรแกรมการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่มีประสิทธิภาพและความแม่นยำขึ้นมาหน่อย ในการตรวจปัญหาหัวใจเพื่อหาสาเหตุว่าอะไรเป็นต้นเหตุของโรค

การทดสอบภาวะเครียดจากการออกกำลังกาย หรือ การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology Study) อาจมีประโยชน์อย่างยิ่ง

ความดันเลือดต่ำลดลงขณะเปลี่ยนท่าหรือลุกยืนบางชนิดอาจต้องตรวจด้วยการตรวจหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ (Tilt Table Test) การตรวจนี้วัดปฏิกิริยาร่างกายเวลาเปลี่ยนท่า โดยให้ผู้ที่รับการตรวจนอนบนโต๊ะ รัดมือรัดเท้า ผลักให้โต๊ะอยู่ในท่าตั้งตรงเป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยมีการบันทึกความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และอาการอื่น ๆ ซึ่งโดยปกติแล้ว จะมีการรักษาด้วยการให้ยาเพื่อช่วยแนะแนวทางในการรักษา

 

การรักษาภาวะความดันโลหิตต่ำทำได้อย่างไร

สำหรับหลายคน ความดันโลหิตต่ำเรื้อรังสามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการควบคุมอาหารและการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิต ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอาการและสาเหตุของโรค แพทย์อาจสั่งให้คนไข้เพิ่มความดันด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารที่มีเกลือสูง
  • ดื่มของเหลวที่ไม่มีแอลกอฮอล์มาก ๆ
  • จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์
  • ดื่มของเหลวมากขึ้นในช่วงที่อากาศร้อน และช่วงที่ป่วยด้วยโรคติดต่อ เช่น หวัดหรือไข้หวัดใหญ่
  • ให้แพทย์ช่วยดูการรักษาที่ใช้ยา ทั้งยาตามแพทย์สั่ง และยาที่ซื้อมาใช้เองตามร้านยา เพื่อดูว่า ยาอะไรที่ทำให้เกิดอาการ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
  • ระวังเวลาลุกขึ้นนั่งหรือลุกขึ้นยืนกะทันหัน เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียดีขึ้น ให้นวดเท้าและข้อเท้าก่อน 2-3 ครั้งก่อนยืน แล้วลุกขึ้นช้า ๆ เมื่อลุกจากเตียง ให้นั่งอยู่ก่อนที่ขอบเตียงเป็นเวลา 2-3 นาทีก่อนยืน
  • ในเวลากลางคืน หนุนหมอนให้สูงขึ้น หรือใช้อะไรก็ได้หนุนหัวเตียงให้สูงขึ้น
  • งดเว้นจากการยกของหนัง
  • ไม่เบ่งอุจจาระหรือปัสสาวะ
  • ไม่ยืนในท่าเดิมนาน ๆ
  • เลี่ยงการสัมผัสกับน้ำร้อน เช่น อาบน้ำร้อนหรือนวดสปา หากรู้สึกวิงเวียนศีรษะ ให้นั่งลง จะเป็นการดีหากอาบน้ำโดยนั่งบนเก้าอี้และเก้าอี้เล็ก ๆ นั่งในห้องน้ำ เพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บ ใช้เก้าอี้หรือเก้าอี้เล็กที่ไม่ลื่นเมื่อวางกับพื้น และออกแบบมาเพื่อใช้อาบน้ำโดยเฉพาะ
  • เพื่อเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิตต่ำ และลดอาการวิงเวียนศีรษะหลังทางอาหาร พยายามกินอาหารมือเล็กลง และทานบ่อย ๆ ลดคาร์โบไฮเดรต ให้พักผ่อนหลังทานอาหาร เลี่ยงใช้ยาที่ทำให้ความดันโลหิตต่ำลงหลังอาหาร
  • หากจำเป็น ใช้พลาสติกหนุนน่องและต้นขา ซึ่งจะช่วยลดประมาณเลือดวิ่งลงมาได้บ้าง และให้เลือดวิ่งอยู่บริเวณส่วนบนของร่างกาย

 

ยาที่ใช้ในการรักษาความดันโลหิตต่ำ

หากวิธีการเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้ภาวะความดันโลหิตสูงดีขึ้น ให้มีการรักษาด้วยยาดังต่อไปนี้

  • ฟลูโดรคอร์ติโซน (Fludrocortisone) : ฟลูโดรคอร์ติโซนเป็นยาที่ช่วยรักษาภาวะความดันโลหิตต่ำทุกประเภท ทั้งนี้ ช่วยในการกักโซเดียมที่ไต โดยทำให้มีการเก็บน้ำในร่างกายเพิ่มขึ้น ซึ่งจำเป็นต่อการทำให้ความดันโลหิตดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การกักโซเดียมไว้ทำให้ร่างกายขาดโพแทสเซียมไปด้วย ดังนั้น เมื่อใช้ฟลูโดรคอร์ติโซน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับโพแทสเซียมเพียงพอทุกวัน ฟลูโดรคอร์ติโซนไม่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบจากฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือเพรดนิโซน และไม่ได้สร้างกล้ามเนื้อเหมือนสเตียรอยด์อานาบอลิก
  • มิโดดรีน (Midodrine) : มิโดดรีน กระตุ้นตัวรับที่อยู่ในเส้นเลือดแดงฝอย และเส้นเลือดดำเพื่อช่วยให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ยาตัวนี้เคยมีการนำมาใช้เพิ่มความดันโลหิตในคนที่ยืน หรือ รักษาความดันเลือดต่ำลดลงขณะเปลี่ยนท่าหรือลุกยืน ที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติจากระบบประสาท

แหล่งที่มา:

WebMD. (2019). Understand Low Blood Pressure - The Basics. Accessed on 1 August 2019.

MayoClinic. (2019). Low Blood Pressure (Hypotension) - Symptoms and Causes. Accessed on 1 August 2019.

Blood Pressure UK. (2019). What is low blood pressure?. Accessed on 1 August 2019.

Heart. (2019). When blood pressure is too low?. Accessed on 1 August 2019.

NHS. (2019). Low Blood Pressure (Hypotension). Accessed on 1 August 2019.

Medical News Today. (2019). Low blood pressure: Natural remedies, causes and symptoms. Accessed on 1 August 2019.

01/08/2019
บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคความดันโลหิตสูงอาจเป็นอาการของการขาดสังกะสี ดังนั้น การรับประทานสังกะสีเพิ่มจะช่วยให้ระดับเลือดปกติ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเสตทไรท์ ในสหรัฐอเมริกา พบว่า การขาดสังกะสีอาจเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และโรคไตเรื้อรัง นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง



หมามุ่ย หรือ หมามุ้ย จัดเป็นพืชเถา ผลเป็นฝักยาว คล้ายถั่วลันเตา มีขนสีน้ำตาลอมทองหรือแดงปกคลุมที่ฝัก


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว