เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / 7 สาเหตุที่กล้ามเนื้อของคุณเป็นตะคริวได้ง่าย
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
7 สาเหตุที่กล้ามเนื้อของคุณเป็นตะคริวได้ง่าย

ตะคริวคืออะไร

หากคุณเคยมีอาการ “กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง” เจ็บปวดแปลก ๆ ที่น่อง นั่นแหละคืออาการเป็นตะคริว ตะคริวเกิดขึ้นได้ทุกที่ในร่างกายของเรา ได้ทุกเวลา แม้ในขณะที่หลับ ไม่ว่าจะมีตะคริวตรงส่วนไหนของร่างกาย สิ่งที่เกิดขึ้นภายในก็เหมือนกัน: กล้ามเนื้อเกิดเกร็งขึ้นแม้ว่าไม่อยากจะให้เกิดขึ้นก็ตาม สาเหตุของตะคริวมีหลายอย่าง แต่เรา่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดตะคริวได้

  1. สาเหตุของการเกิดตะคริว: ดื่มน้ำไม่พอ

คุณดื่มน้ำครั้งสุดท้ายเต็มแก้วเมื่อไร การเป็นตะคริวอาจเป็นหนึ่งสาเหตุที่ร่างกายบอกว่าคุณต้องการ คุณเป็นคนขาดน้ำ อาการอื่น ๆ ได้แก่ อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ และท้องผูก ดังนั้น ให้ดื่มน้ำประจำ และจิบน้ำตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อออกไปข้างนอกในสภาพอากาศร้อน 

  1. สาเหตุของการเกิดตะคริว: อุณหภูมิสูง

เมื่อร่างกายสูญเสียของเหลวเนื่องจากการทำงานหรือออกกำลังกายภายใต้อุณหภูมิที่ร้อน ก็อาจทำให้คุณเป็นตะคริวได้ง่ายขึ้น นี่อาจเป็นสาเหตุบางส่วนเพราะกล้ามเนื้อของคุณต้องการน้ำ และเพราะเหงื่อออกมาก แร่ธาตุสำคัญที่เรียกว่าอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งมี โซเดียม โพแทสเซียม และแคลเซียม ผสมอยู่ ช่วยให้เซลล์ในกล้ามเนื้อของคุณทำงานอย่างที่ควรจะเป็น

  1. สาเหตุของการเกิดตะคริว: การรักษาโรคด้วยยา

สตาติน (Statin) เป็นกลุ่มยาที่ใช้ในการควบคุมคอเลสเตอรอลและยาขับปัสสาวะซึ่งช่วยให้ร่างกายของคุณกำจัดของเหลวเป็นเพียงยาสองตัวที่สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียง นั่นคือ ตะคริว หลังจากที่คุณเริ่มทานยาใหม่ แล้วเกิดเป็นตะคริวประจำ ให้ปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุด

  1. สาเหตุของการเกิดตะคริว: การไหลเวียนเลือดไม่ดี

หากอาการตะคริวแย่ลงตอนที่เดิน กล้ามเนื้ออาจไม่ได้รับเลือดเพียงพอ อาการแบบนี้เกิดขึ้นได้เมื่อคุณอายุมากขึ้นหรือเมื่อร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว นอกจากนี้ ยังเกิดได้จากภาวะที่เรียกว่า claudication คือ ภาวะที่หลอดเลือดของคุณแคบกว่าที่ควรจะเป็นและเลือดไม่สามารถผ่านได้ง่าย หากมีภาวะนี้ ให้ปรึกษาแพทย์ทันที - แพทย์จะช่วยหาสาเหตุให้ได้

  1. สาเหตุของการเกิดตะคริว: รอบเดือน

ผู้หญิงบางคนเป็นตะคริวในช่วงที่มีประจำเดือนมา ซึ่งเกิดขึ้นเพราะร่างกายของผู้หญิงสร้างฮอร์โมนบางอย่างที่ทำให้กล้ามเนื้อในมดลูกกระชับขึ้น โดยจะขับเลือดและเนื้อเยื่อออกจากร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดตะคริวได้เช่นกัน ยาแก้ปวดที่มีขายตามร้านยาทั่วไปมักจะช่วยได้ แต่ให้ปรึกษาแพทย์ถ้ากินยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น

  1. สาเหตุของการเกิดตะคริว: การเติบโต

เด็ก ๆ มักจะเป็นตะคริวช่วงที่ร่างกายกำลังเติบโต บางครั้ง เรียกว่า "ความเจ็บปวดที่กำลังโตขึ้น" แต่จริง ๆ แล้วอาจเกิดจากการทำกิจกรรมมากเกินไป หรือเป็นไปได้ที่เด็ก ๆ อาจไวต่อความเจ็บปวดมากขึ้น ตะคริวเกิดขึ้นที่ขาบ่อยที่สุด และสามารถปลุกเด็กให้ตื่นจากการนอนหลับได้ ทั้งนี้ วิธีกาารักษาคืออาจช่วยยืดกล้ามเนื้อ หรือวางแผ่นความร้อนลงบนพื้นที่ที่เป็นตะคริวสักครู่ หากอาการปวดไม่ดีขึ้นให้โทรแจ้งแพทย์ทันที

  1. สาเหตุที่เป็นไปได้: การออกกำลังกาย

เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ร่างกายได้ขยับตลอดเวลา แต่ถ้าขยับและหักโหมมากเกินไป และร่างกายไม่ชินกับกิจกรรม เช่น การออกกำลังกายที่หักโหม จะทำให้เกิดกล้ามเนื้อเป็นตะคริวได้ ทำกิจกรรมให้ต่อเนื่อง: การออกกำลังกายเป็นประจำจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น และไม่เหนื่อยง่าย ดังนั้น จึงไม่มีโอกาสที่จะเป็นตะคริว อย่าลืมวอร์มอัพก่อน แล้วค่อยยืดกล้ามเนื้อทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย

วิธีทำให้หายเป็นตะคริว

โดยปกติแล้ว ตะคริวจะหายไปเองอย่างรวดเร็ว แต่คุณสามารถทำการรักษาตะคริวเองได้ด้วย หากกิจกรรมบางอย่าง เช่น การวิ่งทำให้เกิดตะคริวให้หยุดวิ่งทันที จากนั้นค่อย ๆ ยืดหรือนวดกล้ามเนื้อหรือใช้แผ่นความร้อนหรือลงอ่างน้ำอุ่นเพื่อให้เลือดกระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของร่างกายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ น้ำแข็งและยาต้านการอักเสบที่ซื้อได้ตามร้านยา เช่น ไอบูโปรเฟนก็ช่วยได้ หากมีอาการปวดและบวม

ทำไมการยืดกล้ามเนื้อจึงช่วยกำจัดตะคริวได้

กล้ามเนื้อเป็นมัดเส้นใย โดยจะหดลงหรือขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อขยับร่างกายเมื่อทำกิจกรรม ตั้งแต่กิจกรรมประเภทคว้าหรือกำไปจนถึงการวิ่งแข่งขัน เมื่อมีการยืดเส้นใยกล้ามเนื้อเหล่านี้เป็นประจำ เส้นใยกล้ามเนื้อเหล่านี้จะสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น และช่วยให้เป็นตะคริวน้อยลง

เพราะอะไรการควบคุมอาหารจึงสำคัญ

ผักและผลไม้สีสันสดใสมีแร่ธาตุที่เรียกว่าอิเล็กโทรไลต์ที่ช่วยให้กล้ามเนื้อของคุณมีรูปร่างที่ดีและช่วยป้องกันการเป็นตะคริวได้ ผักใบเขียวและกล้วยเป็นตัวเลือกที่ดี

ควรปรึกษาแพทย์เมื่อไร

ตะคริวกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรง แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยและไม่รู้ว่าสาเหตุ เช่น ความร้อนหรือการออกกำลังกายหนัก ให้พบแพทย์ทันที บางครั้ง ตะคริวอาจเป็นสัญญาณของภาวะบางอย่าง เช่น โรคต่อมไทรอยด์ โรคตับแข็ง หรือการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง

หมายเหตุ: 

เว็บไซต์ CheckSukkaphap (เช็คสุขภาพ) ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ ไม่ได้ทำการวินิจฉัยโรค หรือไม่ได้รักษาโรคแต่อย่างใด

แหล่งที่มา:

WebMD. (2019). Why Is My Leg Cramping? What Can Help?. Accessed 2 August 2019.

Mayo Clinic. (2019). Muscle cramp. Accessed 2 August 2019.

NHS Inform. (2019). Leg cramps. Accessed 2 August 2019.

Harvard Health Publishing. (2019). Take that, muscle cramps! Accessed 2 August 2019.

Medical News Today. (2019). Causes and treatment for leg cramps. Accessed 2 August 2019.

02/09/2019
บทความที่เกี่ยวข้อง

ความดันโลหิตต่ำ เป็นศัพท์ทางการแพทย์ หมายถึงภาวะของความดันเลือดในร่างกายที่ต่ำ (ต่ำกว่า 90/60)



โรคความดันโลหิตสูงอาจเป็นอาการของการขาดสังกะสี ดังนั้น การรับประทานสังกะสีเพิ่มจะช่วยให้ระดับเลือดปกติ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเสตทไรท์ ในสหรัฐอเมริกา พบว่า การขาดสังกะสีอาจเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และโรคไตเรื้อรัง นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว