
สถานการณ์ปัจจุบันของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในประเทศไทย
ปัจจุบัน สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) มีแนวโน้มจะสูงขึ้นไปทั่วโลก ด้วยยอดผู้ติดเชื้อและยอดผู้เสียชีวิตที่สูง ทำให้นาทีนี้ คงไม่มีใครไม่กังวลใจกับเชื้อไวรัสโคโรนา ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา และโรคติดเชื้อเชื้อไวรัสโคโรนา เพื่อที่จะได้นำความรู้มาช่วยดูแลสุขภาพตนเองและป้องกันได้อย่างถูกวิธี
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คืออะไร
เชื้อไวรัสโคโรน่า (CoV) หรือ ที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า "โควิด" คือ ไวรัสในตระกูลใหญ่ ทำให้เกิดความเจ็บป่วย นับตั้งแต่ โรคไข้หวัดธรรมดา ไปจนถึงโรคที่รุนแรงถึงชีวิต เช่น โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) และ โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV)
ชื่อ Coronavirus มาจากคำภาษาละติน Corona ซึ่งหมายถึง มงกุฎ ซึ่งหากมองภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ลักษณะของไวรัสจะเป็นทรงกลม และรายล้อมด้วยหนามแหลมคล้ายมงกุฎ เชื้อไวรัสโคโรนาเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนในมนุษย์
อาการทั่วไปของผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19)
อาการของผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) สามารถมีได้หลายระดับความรุนแรง อาการทั่วไปของการติดเชื้อ ได้แก่ :
- อาการระบบทางเดินหายใจ
- มีไข้
- ไอ
- หายใจหอบถี่
- หายใจลำบาก
- ในกรณีที่รุนแรงมากขึ้น การติดเชื้ออาจทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ เป็นโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ไตวายและแม้กระทั่งเสียชีวิตได้
ภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะ ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง รวมถึง ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังที่เกี่ยวกับหัวใจ ปอด หรือไต ผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี หรือมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และสตรีมีครรภ์
รู้ได้อย่างไรว่าสัมผัสกับเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
จำนวนผู้ป่วย โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ยังมีจำนวนไม่มาก ดังนั้น โอกาสที่ใครจะติดเชื้อไวรัสนี้จึงยังค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการตรวจคัดกรองและพบว่ามีการติดเชื้อโคโรน่าไวรัสแล้ว โดยปกติแพทย์แยกเคสที่เข้าข่ายสงสัย จะแยกเคสในผู้ป่วย 2 กรณี ได้แก่ :
- มีประวัติการเดินทางไปยังประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง (และเมืองอื่น ๆ ที่กรมคุ้มครองโรคกำหนด) ภายใน 14 วัน
- มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) และมีอาการ เช่น จะมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ หรือมีอาการหวัด มีน้ำมูก มีอาการไอ มีอาการจาม หอบเหนื่อย
โดยเมื่อมาถึงโรงพยาบาลแล้ว ผู้ที่มีประวัติการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง และมีอาการเหล่านี้จะถูกคัดแยกไปตรวจ เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อโคโรน่าไวรัสหรือไม่ บุคคลใดที่ไม่มีประวัติทั้ง 2 ข้อ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง หรือไม่ได้มีอาการที่มีลักษณะคล้ายเป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจจะไม่ถูกแยกตรวจ
รักษาโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) อย่างไร
ในขณะนี้ ยังไม่มียารักษาและวัคซีป้องกัน โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ทั้งนี้ การติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสามารถหายได้เอง หากอาการยังไม่หนักหรือยังอยู่ในระยะต้น ๆ และเนื่องจากยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ามียาสามารถรักษาโรคนี้ได้ การรักษาทั่วไปจึงเป็นไปแบบประคับประคองตามอาการ
- อาการของผู้ป่วยบางรายอาจรุนแรงมากทำให้เกิดปอดอักเสบ การรักษาจึงต้องอาศัยการสังเกตอาการอื่น ๆ อย่างใกล้ชิด ร่วมกับการรักษาด้วยการประคับประคองอาการ จนกว่าจะพ้นอาการช่วงนั้น
- อาการของผู้ป่วยบางรายอาจรุนแรงไม่มากโดยมีลักษณะเหมือนไข้หวัดทั่วไป
- การรักษา โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ด้วยยา:
ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า มียาตัวใดที่สามารถรักษา โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ได้โดยตรง ปัจจุบันยังอยู่ในช่วงทดลองการรักษา โดยใช้ยาที่รักษาไวรัส ๆ เช่น ไวรัสเอดส์ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น - การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่:
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันเชื้อโคโรน่าไวรัสได้ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทำเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เท่านั้น โดยแนะนำให้ฉีดตามอ้างอิงแนวทางการใช้วัคซีนของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น - วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ:
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบก็ไม่ได้ตอบโจทย์ในการรักษา โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพราะวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ คือ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Pneumococcus ซึ่งไม่ใช่เชื้อไวรัส จึงไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโคโรน่าไวรัสได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ แต่สำหรับคนทั่วไปไม่จำเป็นต้องฉีด
แม้เชื้อโคโรน่าไวรัสจะเป็นเชื้อในกลุ่มไข้หวัด แต่ก็ไม่ใช่ไข้หวัด เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ใหม่ และยังทำให้เกิดอาการที่มากกว่าเป็นแค่ไข้หวัดได้ เช่น ปอดอักเสบ เป็นต้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงและร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งจะต้องมีการคัดกรองและตรวจแยกเพื่อไม่ให้สัมผัสกับผู้อื่น และช่วยป้องกันการติดเชื้อเพิ่ม ส่วนการรักษานั้น ก็ยังคงต้องใช้การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ
ดูแลเบื้องต้นเพื่อไม่ให้ตัวเองเป็นโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ได้อย่างไร
ปัจจุบัน หลายประเทศได้ออกมาตรการคุมเข้มเพื่อระงับการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) เช่น กำหนดให้มีเคอร์ฟิว ขอความร่วมมือให้ประชาชนอยู่กับบ้าน อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก แนะนำว่า ควรใช้ความระมัดระวัง และดูแลตัวเอง เพื่อลดการสัมผัสและการแพร่เชื้อไวรัส เพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ และไม่ให้ตัวเองเป็นพาหะของเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อีกด้วย
ต่อไปนี้ เป็นคำแนะทั่วไปที่สามารถนำมาปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19):
- ล้างมือด้วย สบู่ และ น้ำ หรือ แอลกอฮอล์ เช็ดมือเป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา จมูก และปากด้วยมือที่ยังไม่ได้ล้าง
- ปิดจมูกและปากเมื่อไอและจามด้วยชำระแล้วทิ้งถังขยะทันที
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับใครก็ตามที่แสดงอาการของโรคทางเดินลมหายใจ เช่น ไอและจาม
- ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อวัตถุและพื้นผิวที่สัมผัสบ่อย ๆ
- หลีกเลี่ยงอาหารดิบหรืออาหารที่ปรุงไม่สะอาด
- หากคุณมีอาการหวัดหรือคล้ายไข้หวัดใหญ่ ให้สวมหน้ากากอนามัยโดยไม่ชักช้า และรับคำแนะนำจากแพทย์ใกล้บ้านคุณทันที
การใส่หน้ากากช่วยป้องกัน โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ได้หรือไม่
เชื้อโคโรน่าไวรัสเป็นกลุ่มเชื้อหวัดสายพันธุ์ใหม่ที่หลายประเทศยังมีข้อมูลไม่มากพอ ดังนั้นข้อมูลส่วนใหญ่จึงเกิดจากการคาดเดา ดังที่ปรากฏตามข่าว จึงส่งผลให้มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการติดต่อนั้นก็เหมือนกับไข้หวัดทั่วไป เช่น ติดต่อผ่านละอองที่ออกมากับลมหายใจ หรือสัมผัสสารคัดหลั่ง
สำหรับการสวมหน้ากากอนามัยนั้น มีสิ่งที่น่าสังเกตอยู่ 2 ประการคือ:
- แนะนำให้ใช้กับผู้ป่วย โดยวัตถุประสงค์หลักในการใส่หน้ากากในผู้ป่วยคือ ป้องกันเชื้อโรคออกจากตัวผู้ป่วย หากผู้ป่วยไอจามก็จะติดอยู่ในหน้ากาก และยังจะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของ โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19)
- สำหรับการใส่หน้ากากอนามัยในผู้ที่ไม่ได้ป่วยด้วย โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) หรือคนปกติทั่วไป ป้องกันได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น การใส่หน้ากากอนามัยจึงต้องทำร่วมกับวิธีอื่น ๆ จึงจะป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ เพื่อให้การดูแลตัวเองมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราควรล้างมือบ่อย ๆ เรียกใช้มือสัมผัสดวงตาจมูกและปาก ปิดจมูกและปากเมื่อไอหรือจาม หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่แสดงอาการของโรคทางเดินลมหายใจ หมั่นทำความสะอาดและฆ่าเชื้อวัตถุหรือพื้นผิวที่เราสัมผัสประจำ กินอาหารปรุงสุกใหม่ จัดระยะห่างให้ตัวเองและผู้อื่น 1-2 เมตรเมื่อต้องทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ซื้ออาหาร ใช้บริการขนส่งสาธารณะ ซื้อสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19)
เมื่อไหร่ที่เราต้องไปตรวจเพื่อหาเชื้อโควิด 19 และต่อไปนี้ เป็นลักษณะของอาการหรือสัญญาณ เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรไปตรวจว่ามีเชื้อโควิด 19 หรือไม่
- ถ้าคุณไม่มีอาการ และคุณไม่ได้สัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) และคุณไม่ได้เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ให้อยู่ที่บ้านและไม่ต้องไปตรวจ
- หากคุณมีอาการ และได้สัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) หรือกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ให้พักอยู่ที่บ้าน กัดตัวเอง ดูอาการอยู่ที่บ้าน 14 วัน
- หากคุณมีอาการเล็ก และไม่ได้อยู่ใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) และไม่ได้เดินทางไปยังกลุ่มเสี่ยง ให้กักตัวอยู่ที่บ้านดูอาการ 14 วัน และตรวจสุขภาพเสมอ
- หากคุณมีอาการเล็กน้อย และสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) หรือกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ให้เข้ารับการตรวจเชื้อโควิด 19 ว่ามีหรือไม่
- หากคุณมีไข้สูง มีอาการไอ หายใจไม่สะดวก ปวดเมื่อยล้าอ่อนเพลีย ให้ไปตรวจเชื้อโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ว่ามีหรือไม่
- หากคุณมีไข้ อาการไอ มีน้ำมูกไหล เจ็บคอ หายใจไม่สะดวก ปวดเมื่อยเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย และอายุมากกว่า 60 ปีพี่มีโรคประจำตัว มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง และหมดสติ จำเป็นต้องรับการตรวจโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ว่ามีหรือไม่
หากตรวจพบว่ามีโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) จะต้องไปรักษาที่โรงพยาบาลใด
กลับไปยังโรงพยาบาลที่ตรวจ โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ก่อนหน้านี้ แพทย์ในโรงพยาบาลนี้จะทำการประเมินสภาพร่างกายซ้ำและสอบถามเรื่องประวัติการเดินทาง พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดโรค แพทย์จึงจะบอกได้ว่าจะต้องมีการตรวจเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังไม่มีอุปกรณ์ตรวจ โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ที่เพียงพอ แต่โรงพยาบาลเหล่านั้นจะนำเลือดของผู้ที่เข้ารับการตรวจโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ส่งไปยังห้องทดลองที่ได้รับการรับรองทางการแพทย์ เพื่อตรวจซ้ำ
จะเกิดอะไรขึ้นหากตรวจพบว่าเป็นโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19)
สำหรับประเทศไทย หากตรวจพบว่า โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) โดยมีผลบวก ทางโรงพยาบาลที่ตรวจ โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ให้จะแจ้งกระทรวงสาธารณสุขภายใน 3 ชั่วโมง และผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลที่ สถาบันบำราศนราดูร หรือ โรงพยาบาลใดก็ได้ที่ผู้ป่วย โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ต้องการ โดยเฉพาะหากผู้ป่วยมีประกันสุขภาพและระบุโรงพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษาอยู่แล้ว
หากตรวจพบว่าเป็นโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) เป็นผลบวก สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยต้องทำอย่างไร
สำหรับประเทศไทย หากสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ยังไม่มีสัญญาณหรืออาการของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ให้สมาชิกในครอบครัวกักตัวอยู่ที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน หากสมาชิกในครอบครัวคนใดคนหนึ่งมีอาการหรือสัญญาณของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) เช่น มีไข้สูง และ หรือ มีอาการหายใจหอบเหนื่อย หายใจไม่สะดวก จะต้องตรวจหาโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ทันที
หากตรวจพบว่าเป็นโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลรัฐจะรักษาหรือไม่ และค่าใช้จ่ายใครเป็นคนรับผิดชอบ
สำหรับประเทศไทย คนไทยสามารถรักษาได้ในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน หากรักษาในโรงพยาบาลรัฐ ผู้ที่มีสัญชาติไทยจะได้รับการรักษาฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น หากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ผู้ป่วยอาจต้องมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย ทั้งนี้ สามารถใช้ประกันสังคม หรือบัตรทอง หรือประกันสุขภาพ ได้ตามสะดวก สำหรับผู้ป่วยชาวต่างชาติ สามารถรักษาในโรงพยาบาลของรัฐได้ และจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยเงินของตัวเอง หรือหากชาวต่างชาติมีประกันสุขภาพที่ครอบคลุมถึงโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัสอยู่แล้ว ก็สามารถใช้ประกันได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วประเทศ
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ไหน
สำหรับคนไทยพี่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากสายด่วน 1422 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่เวลา 8:00 น จนถึงเวลา 16:00 น ของทุกวัน
อย่างไรก็ตาม คำแนะนำนี้ ไม่ได้ใช้แทนคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้นหากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพหรือทางการแพทย์ ที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ให้ขอคำแนะนำได้จากบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองว่ามีความรู้ด้านโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) เท่านั้น
The World Health Organization. (2020). Coronavirus. Accessed on 1 April 2020.
ศูนย์ควบคุมโรค. (2020). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. Accessed on 1 April 2020.
โรงพยาบาลกรุงเทพ. (2563). 5 โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่มาในหน้าฝน. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563.