เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir)
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์เช็คสุขภาพ
ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir)

ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) คืออะไร

ฟาวิพิราเวียร์ หรือ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ T-705 หรือ อาวีแกน (Avigan) เป็นยาต้านไวรัสที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทโตยามะ เคมีคอล จากประเทศญี่ปุ่น

ฟาวิพิราเวียร์เป็นอนุพันธ์ของไพราซีนคาร์โบซาไมด์ (Pyrazinecarboxamine) มีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสเวสต์ไนล์ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสโรคปากและเท้า และไวรัสอื่น ๆ ในตระกูลฟลาวิไวรัส (Flaviviruses) อะรีนาไวรัส (Arenaviruses) บุนยาไวรัส (Bunyaviruses) และอัลฟาไวรัส (Alphaviruses)

ฟาวิพิราเวียร์มีประสิทธิภาพอย่างจำกัดต่อไวรัสซิก้าในการศึกษาในสัตว์ นอกจากนี้ ฟาวิพิราเวียร์ยังมีประสิทธิภาพบางอย่างในการต่อต้านโรคพิษสุนัขบ้าอีกด้วย โดยมีการนำมาใช้ในการทดลองในมนุษย์บางคนที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวบ้างแล้ว

ฟาวิพิราเวียร์เป็นโปรตีนในพลาสมาถึง 54% ในส่วนนี้ 65% เชื่อมโยงกับเซรั่มอัลบูมินและ 6.5% จับตัวกับ กรดไกลโคโปรตีน ฟาวิพิราเวียร์จะเผาผลาญกับสารเผาผลาญและขับออกมาในปัสสาวะ ยาต้านไวรัสนี้จะผ่านการไฮดรอกซิเลชันเป็นหลัก โดยอัลดีไฮด์ออกซิเดสและในระดับที่น้อยกว่า โดยแซนไทน์ออกซิเดสต่อเมตาโบไลต์ที่ไม่ใช้งาน T705M1 ทั้งนี้ ฮาล์ฟไลฟ์ของฟาวิพิราเวียร์จะอยู่ที่ 2-5.5 ชั่วโมง

ฟาวิพิราเวียร์ใช้ทำอะไร

  • ฟาวิพิราเวียร์มีฤทธิ์ต่อต้านอาร์เอ็นเอไวรัสหลายชนิด
  • มีการศึกษาแบบสุ่มในประเทศจีนในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เรื่องการใช้ฟาวิพิราเวียร์ทดลองรักษาโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส  2019 (COVID-19) ที่เพิ่งอุบัติขึ้น
  • ฟาวิพิราเวียร์ได้รับการรับรองระยะสั้นเป็นเวลา 5 ปี เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563  ว่าเป็นยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพต่อต้านโรค ปัจจุบัน ฟาวิพิราเวียร์ได้ผลิตในประเทศจีนอีกด้วย

กลไกการออกฤทธิ์ของฟาวิพิราเวียร์เป็นอย่างไร

กลไกการออกฤทธิ์ของฟาวิพิราเวียร์นั้นเชื่อกันว่าเกี่ยวข้องกับการยับยั้งการคัดเลือกเอนไซม์ อาร์เอ็นเอ พอลิเมอเรส ที่ขึ้นกับอาร์เอ็นเอของไวรัส งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า ฟาวิพิราเวียร์ อาจนำไปสู่การกลายพันธุ์ในอาร์เอ็นเอ ซึ่งทำให้ ฟีโนไทป์ของไวรัสตายไปด้วย ฟาวิพิราเวียร์ เป็นโปรดัก (pro-drug) ที่ถูกกระบวนการเมตาบอลิซึมเผาผลาญไปเป็นรูปแบบ ฟาวิพิราเวียร์ -อาร์ทีพี สามารถให้ได้ทั้งรับประทานและทางหลอดเลือดดำ

นอกจากนี้ เอนไซม์ Human Hypoxanthine Guanine Phosphoribosyltransferase (HGPRT) เชื่อว่ามีส่วนสำคัญในกระบวนการกระตุ้นการออกฤทธิ์ของฟาวิพิราเวียร์ ไม่ยับยั้งการสังเคราะห์ RNA หรือ DNA  ในเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและไม่เป็นพิษต่อเซลล์

ฟาวิพิราเวียร์ได้รับการอนุมัติในประเทศญี่ปุ่นเพื่อเป็นยาสำรองในการต่อต้านการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในปี 2557

อย่างไรก็ตาม ไม่มีงานวิจัยใดชี้ให้เห็นว่า ฟาวิพิราเวียร์มีประสิทธิภาพในเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจปฐมภูมิของมนุษย์ ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยว่ายานี้สามารถรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ได้จริงหรือไม่

ฟาวิพิราเวียร์ใช้รักษาอย่างไร

  • กรณีโรคไวรัสอีโบลา
    • งานวิจัยพบว่า ฟาวิพิราเวียร์อาจมีประสิทธิภาพในตัวอย่างของโรคไวรัสอีโบลา โดยเฉพาะในหนู อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ประสิทธิภาพของยาต้านเชื้อไวรัสอีโบล่าในมนุษย์
  • การประยุกต์ใช้กับโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19)
    • เดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีการคาดการณ์กันว่า ฟาวิพิราเวียร์อาจมีผลต่อต้านโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้
    • เอกสารฉบับร่างซึ่งตีพิมพ์ในเอกสารรายงานวิชาการ Nature Cell Biology โดยคณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยไวรัสแห่งอู่ฮั่น  ภายใต้สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน รายงานผลการทดลองการใช้ฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงเป็นค่า 50% Effective Concentration ( EC50) ซึ่ง ฟาวิพิราเวียร์ ให้ค่า 61.88  ไมโครโมล/ลิตร
    • ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับข้อสรุปผลการทดลองในหลอดทดลองทางคลินิกในประเทศจีน โดยให้ฟาวิพิราเวียร์ในผู้ป่วย 70 ราย รวมถึงกลุ่มควบคุมได้รับยาหลอกด้วย ซึ่งมีผลการรักษาที่ชัดเจน มีอาการไม่พึงประสงค์จากยาต่ำ
    • กุมภาพันธ์ 2563  มีข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบทางคลินิกในการใช้ฟาวิพิราเวียร์ที่ค่อนข้างเฉพาะทาง โดยได้ศึกษากับผู้ป่วย 26 ตัวอย่าง ในโรงพยาบาลประชาชนที่สามเซินเจิ้น ทั้งนี้ ในจำนวนผู้ป่วย 25 ราย  ฟาวิพิราเวียร์ไม่มีผลข้างเคียงที่ชัดเจน มีการยอมรับของผู้ป่วยที่ดี มีประสิทธิภาพดีสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไข้ โดยภายใน 2 วัน 72% มีไข้ลดลง และใน 3 วัน ผู้ป่วย 38% มีผลภาพรังสีปอดที่ดีขึ้น และดีขึ้นเป็น 70% ภายใน 6 วัน
    • กุมภาพันธ์ 2563  งานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า ฟาวิพิราเวียร์เป็นสารยับยั้งเอนไซม์ DNA พอลิเมอเรส แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นโปรดัก และต้องการกระบวนการไตร-ฟอสโฟรีเลชัน (Tri-Phosphorylation) ในสิ่งมีชีวิตเพื่อสร้างสารตั้งต้น
    • กุมภาพันธ์ 2563  บริษัทเจ้อเจียงไห่เจิ้ง  ฟาร์มาซูติคอล ได้รับการอนุมัติใบอนุญาตในการผลิตฟาวิพิราเวียร์จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งชาติจีน
    • กุมภาพันธ์ 2563  รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจใช้อาวีแกนรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโคโรน่าไวรัส

ฟาวิพิราเวียร์ใช้อย่างไร

  • สำหรับสตรีที่ประสงค์จะมีครรภ์ ควรงดการตั้งครรภ์ในช่วงติดเชื้อ ควรคุมกำเนิดในช่วงระยะเวลาได้รับยาจนถึง 7 วันภายหลัง
  • มีข้อห้ามใช้ยาในหญิงมีครรภ์และหญิงที่สงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ เพราะอาจเป็นพิษต่อทารกในครรภ์ได้ ซึ่งทั้งนี้มีงานวิจัยที่สามารถยืนยันการศึกษาในสัตว์ทดลองแล้ว
  • สำหรับผู้ใหญ่ ขนาดการรับประทานคือ 1,600 mg  วันละ 2 ครั้งในวันแรก และ 600 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้งในวันที่ 2  ถึงวันที่ 5 ระยะเวลาการรักษาโดยรวมคือ 5 วันด้วยยาเม็ดขนาด 200 มิลลิกรัม อย่างไรก็ตาม ยังมีงานวิจัยไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่า การรับฟาวิพิราเวียร์ในปริมาณที่สูงเกินไปจะเป็นอย่างไร

ฟาวิพิราเวียร์มีพิษอย่างไร

จากการศึกษาความเป็นพิษ พบว่า ปริมาณใช้ฟาวิพิราเวียร์โดยการรับประทานและทางหลอดเลือดดำที่เป็นอันตรายถึงตายได้คือประมาณ >2,000 มก. / กก. ส่วนในหนูทดลอง ปริมาณที่อันตรายของใช้ฟาวิพิราเวียร์สำหรับการรับประทานคือ >2,000 มก. / กก. ในขณะที่ปริมาณที่ทำให้ถึงตายในสุนัขและลิงคือ >1,000 มก. / กก. อาการของการใช้ยาเกินขนาดจะรวมถึง แต่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะ น้ำหนักตัวที่ลดลง มีอาการอาเจียนและการเคลื่อนไหวไม่เป็นปกติ

ใช้ฟาวิพิราเวียร์เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นยาประเภทที่มีผลต่อการผิดปกติของพัฒนาทางด้านร่างกายของทารกในครรภ์ ดังนั้นการให้ฟาวิพิราเวียร์จึงควรหลีกเลี่ยงในสตรีมีครรภ์หรือสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ยังมีงานวิจัยไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนว่า ฟาวิพิราเวียร์ เป็นอันตรายต่อมนุษย์

ฟาวิพิราเวียร์มีปฏิกิริยาต่อยาอื่นอย่างไร

การใช้ฟาวิพิราเวียร์ต้องได้รับคำแนะนำจากเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านยา หากใช้ยาแล้วเชื่อว่าเกิดอาการแพ้หรือยามีปฏิกิริยาต่อยาอื่น ให้ปรึกษาเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านยาโดยตรง การที่ร่างกายไม่แสดงอาการแพ้หรือมีปฏิกิริยาต่อยาไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีปฏิกิริยาต่อยา

  • (อาร์)-วาฟาริน (R)-warfarin: การเผาผลาญของ (อาร์)-วาฟาริน อาจลดลงเมื่อใช้ร่วมกับฟาวิพิราเวียร์
  • (เอส)-วาฟาริน (S)-warfarin: การเผาผลาญของ (เอส)-วาฟาริน อาจลดลงเมื่อใช้ร่วมกับฟาวิพิราเวียร์
  • อะเซติลไดออกซิน (Acetyldigoxin): ฟาวิพิราเวียร์อาจลดอัตราการขับของอะเซติลไดออกซินซึ่งอาจส่งผลให้ระดับซีรั่มที่สูงขึ้น
  • อะไซโครเวียร์ (Acyclovir): ร่างกายอาจขับอะวีโครเวียร์ได้น้อยลงได้เมื่อใช้ร่วมกับฟาวิพิราเวียร์
  • อะดีโฟเวียร์ (Adefovir): ร่างกายอาจขับอะเดโฟเวียร์ได้น้อยลงได้เมื่อใช้ร่วมกับฟาวิพิราเวียร์
  • อะฟาทินิป (Afatinib): อะฟาทินิปอาจมีความเข้มข้นสูงเมื่อใช้ร่วมกับฟาวิพิราเวียร์
  • อัลโลพูรินอล (Allopurinol): ร่างกายอาจขับอัลโลพูรินอลได้น้อยลงได้เมื่อใช้ร่วมกับฟาวิพิราเวียร์
  • อัลโมทริปแทน (Almotriptan): การเผาผลาญของอัลโมทริปแทนอาจลดลงเมื่อใช้ร่วมกับฟาวิพิราเวียร์
  • อัลโพรสตาดิล (Alprostadil): ร่างกายอาจขับอัลโพรสตาดิลได้น้อยลงได้เมื่อใช้ร่วมกับฟาวิพิราเวียร์
  • แอมบริเซนแทน (Ambrisentan): แอมบริเซนแทนอาจมีความเข้มข้นสูงเมื่อใช้ร่วมกับฟาวิพิราเวียร์

*** คุณอาจอยากอ่านบทความเหล่านี้เพิ่มเติม ***

ยาทูโจ (Toujeo)

แวเลียม (Valium)

ซาแนกซ์ (Xanax)

WebMD. (2020). Flu Drug Works Vs. Coronavirus: Chinese Study. Accessed on 14 April 2020.

DrugBank. (2020). Favipiravir. Accessed on 14 April 2020.

NCBI. (2020). Favipiravir (T-705), a broad-spectrum inhibitor of viral RNA polymerase. Accessed on 14 April 2020.

 

14/04/2020
บทความที่เกี่ยวข้อง

การใช้ยาคุมฉุกเฉินเป็นเรื่องที่ถูกถามบ่อยจากบรรดาวัยรุ่น หลายคนเลือกใช้ยาคุมฉุกเฉินเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เพราะคิดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด หากคุณพี่ของน้องอดไม่ไหวแล้ว ยาคุมฉุกเฉินมีฮอร์โมนเหมือนยาคุมทั่วไป เพียงแต่จะมีขนาดฮอร์โมนที่สูงกว่า ยาคุมกำเนิดสามารถป้องกันสเปิร์มไม่ให้เข้าไปปฏิสนธิกับไข่ หรือทำให้ไข่ออกจากรังไข่ได้ช้าลง ทำให้เยื่อบุมดลูกเปลี่ยนแปลงจนไม่เหมาะกับการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว




CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว