เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ไข้หวัดใหญ่ (Flu)
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์เช็คสุขภาพ
ไข้หวัดใหญ่ (Flu)

ไข้หวัดใหญ่ (Flu) คืออะไร

ไข้หวัดใหญ่ (Flu) เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก และเมื่อเป็นแล้ว ทำให้เรารู้สึกทรมานอย่างมาก บรรดาหมอชอบเรียกกันว่า ไข้หวัดใหญ่ (Flu)  โดยปกติแล้วอาการของผู้ที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) จะมีมากกว่าแค่การไอ จาม หรือคัดจมูก ที่คนเป็นไข้หวัดธรรมดามี

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของไข้หวัดใหญ่ (Flu) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอ็นซ่า (Influenza Virus) ซึ่งมี 3 ชนิด ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ b, และ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ c ทั้งนี้ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a มีการระบาดมากที่สุด

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของไข้หวัดใหญ่ (Flu)

เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a แบ่งสายพันธุ์ตามชนิดของโปรตีนเฮมักกลูตินิน (Hemagglutinin-H) และ นิวลามินิดาส (Neuramidase-N) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผิวของไวรัส จะพบการระบาดในปัจจุบันคือ  H1N1 ทั้งสายพันธุ์เก่าและใหม่ โดยจะมีความรุนแรงมากกว่า นอกจากนี้ H5N1 ก็เคยระบาดจากสัตว์ปีกมาสู่คนเช่นกัน

เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a แพร่กระจายทางละอองฝอยจากปากและการหายใจ (Drolpets) เช่นเดียวกับไวรัสอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดธรรมดา อย่างไรก็ตาม เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a สามารถที่จะแพร่เชื้อทางอากาศ (Airbourne) ได้อีกด้วย โดยจะสามารถอยู่ในอากาศได้นานและในระยะไกล และเมื่อสูดอากาศที่มีเชื้อลอยอยู่ก็สามารถติดเชื้อได้

ผู้ที่มีสุขภาพดีอาจป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) ได้จากการได้รับเชื้อจากผู้ป่วยที่มีการจามหรือไอ แล้วปล่อยไวรัสผ่านละอองฝอยของน้ำลายจากทางปาก หรือของเหลวจากทางจมูก นอกจากนี้ การติดเชื้อยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่ ไวรัสอยู่บนพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อยครั้ง จากนั้นผู้ป่วยก็ไปสัมผัสพื้นผิวที่มีไวรัสติดอยู่ และเอามือที่ติดเชื้อไวรัสจากพื้นผิวเหล่านั้นมาสัมผัสปาก จมูก หรือดวงตา

โรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) เป็นโรคที่เกิดขึ้นในหน้าหนาว ผู้คนส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาในช่วงหน้าหนาวอยู่ใกล้กัน ดังนั้นการติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) จึงง่ายขึ้น

อาการไข้หวัดใหญ่ (Flu)

ผู้ที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) มักจะเริ่มจากอาการคั่นเนื้อคั่นตัว รู้สึกไม่ค่อยสบายอย่างรวดเร็ว ในเวลาต่อมา ก็จะเหมือนเป็นไข้ มีไข้สูง บางครั้งอาจจะมีน้ำมูกไหล หายใจไม่คล่องจมูก ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียนได้ โดยสรุปแล้ว ผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ (Flu) จะมีอาการหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

  • มีไข้สูง
  • หนาวสั่น
  • ปวดเมื่อยตามตัวมาก
  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • ขมในคอ
  • อาจมีอาการเจ็บคอร่วมด้วย
  • คัดจมูก
  • น้ำมูกไหล
  • ไอแห้ง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ท้องเสีย

การรักษาไข้หวัดใหญ่ (Flu)

รักษาตามอาการ เช่น:

ใช้เวลารักษาไข้หวัดใหญ่ (Flu) นานหรือไม่

ผู้ที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) มักมีอาการดีขึ้นและหายได้ภายในระยะเวลา 5 วัน หากมีการดูแลตัวเองเป็นอย่างดีตั้งแต่ที่ไข้หวัดยังเริ่มต้นเป็น แต่ในผู้ป่วยบางราย อาการอาจนานไปเป็นอาทิตย์หรือมากกว่านั้น แม้ในบางกรณีอาการไข้และอาการปวดหัวจะหายไปแล้ว ผู้ป่วยก็ยังจะรู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรงไปอีก 2-3 สัปดาห์

การดูแลตัวเองจากที่บ้านสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu)

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) ควรพักผ่อนให้มากๆ ดื่มน้ำเยอะ ๆ ดื่มของเหลวเยอะๆ เพื่อที่จะป้องกันร่างกายไม่ให้ขาดน้ำ ในบางรายอาจจะต้องใช้ยาบางประเภทเพื่อละลายเสมหะเพื่อเคลียร์จมูกให้โล่ง บ้วนปากด้วยน้ำเกลือเมื่อมีอาการเจ็บคอ

การรักษาด้วยยาต้านไวรัส

การรักษาด้วยยาต้านไวรัสจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อใช้ภายใน 48 ชั่วโมงที่รู้สึกว่าป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) ยาจะช่วยให้อาการต่าง ๆ ทุเลาลง จากการที่อาจจะหายภายในสัปดาห์ ก็ทำให้อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) หายเร็วขึ้นใน 1 ถึง 2 วัน ยาต้านไวรัส ได้แก่:

การได้รับยาเหล่านี้อย่างทันท่วงที แม้จะผ่านไปแล้วในช่วง 48 ชั่วโมงก็ตาม ยาเหล่านี้ก็ยังช่วยให้ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) มีอาการดีขึ้น ถึงแม้ว่าผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ (Flu) คนดังกล่าวจะมีอาการที่แย่มาก หรือเป็นผู้ป่วยในกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อโรค เช่น กลุ่มที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป หรือกลุ่มที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ

การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) ด้วยยาอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ซื้อยาเหล่านี้กินเอง หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาเหล่านี้ ให้ปรึกษาแพทย์ เภสัช หรือผู้เชี่ยวชาญด้านยาเพื่อที่คนเหล่านี้จะสามารถจัดยาให้ตรงอาการเราได้

นอกจากนี้ ให้จำไว้เสมอว่า ยาปฏิชีวนะทุกตัวไม่ใช่ยาที่ใช้รักษาไวรัส เช่นในโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) ยาปฏิชีวนะจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เช่น โรคไซนัส โรคปอดอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรีย หรือการติดเชื้อที่หู

การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) ด้วยการฉีดวัคซีน

การได้รับวัคซีนจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้เรามีสุขภาพแข็งแรงและไม่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) ได้ง่าย ๆ วัคซีนจะช่วยให้ร่างกายของเราจดจำเชื้อไข้หวัดใหญ่ (Flu) และต่อสู้กับเชื้อดังกล่าว เพราะไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปทุก ๆ ปี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะได้รับการฉีดวัคซีนก่อนที่จะเริ่มฤดูกาลระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) ในช่วงฤดูกาลใหม่ วัคซีนจะช่วยทำให้เราไม่เจ็บป่วยจากโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) หรือหากได้รับเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) อาการก็จะเป็นแบบไม่หนักมาก หากเราดูแลตัวเองเป็นอย่างดี

วิธีเลี่ยงไม่ให้เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu)

วิธีการดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) ก็ไม่ได้ยากไปซะทีเดียว โดยมีคำแนะนำดังต่อไปนี้:

  • พยายามอย่าสัมผัสดวงตา จมูก และปาก เพราะจะทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
  • ล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่และน้ำสะอาด
  • ใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ หากไม่มีสบู่หรือน้ำให้ล้างมือ
  • หากเราป่วย ให้อยู่ห่างจากคนอื่น ๆ

เมื่อมีอาการไอหรือจามให้ปิดปากปิดจมูกตัวเอง หากไม่มีกระดาษชำระที่ใช้ปิดปากเมื่อจาม ให้ไอหรือจามใส่แขนด้านในของตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคติดไปกับมือของเรา

การดูแลเด็กอ่อนและเด็ก ๆ ให้ปลอดภัยจากโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu)

การเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) ไม่ใช่เป็นเรื่องที่สนุกสำหรับผู้ใหญ่ และยิ่งเด็กอ่อนเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) ด้วยแล้วก็จะทำให้ดูแลรักษาลำบากขึ้น เพราะ นอกจากจะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) แล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาด้านสุขภาพอย่างอื่นตามมาอีกด้วย

หาครอบครัวคุณมีเด็กอ่อนที่บ้านในช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อขอวัคซีนมาฉีดให้กับเด็กอ่อน หรือเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป โรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) ถือเป็นโรคที่อันตรายมากสำหรับเด็ก ๆ

ปัญหาอื่น ๆ ที่ตามมาจากการเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu)

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) ส่วนใหญ่จะหายจากโรคในระยะเวลา 2-3 วันโดยไม่มีปัญหาใด แต่ในผู้ป่วยบางรายจะมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคปอดอักเสบ โรคทางเดินลมหายใจ เป็นไซนัส หรือการติดเชื้อในหู ผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดหอบ หรือ โรคหัวใจอยู่แล้ว เมื่อเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (Flu) จะยิ่งทำให้อาการทรุดหนักลง

เมื่อใดที่ผู้ป่วยโรคเอดส์ไข้หวัดใหญ่ (Flu) ต้องไปพบแพทย์

ผู้ป่วยโรคเอดส์ไข้หวัดใหญ่ (Flu) จะต้องพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการเหล่านี้:

  • หายใจลำบาก หรือ หายใจไม่สะดวก หายใจหอบถี่
  • รู้สึกกดทับ หรือ รู้สึกปวดหน้าอกหรือท้อง
  • มีอาการขาดน้ำอย่างรุนแรง
  • รู้สึกสับสนมึนงง
  • มีอาการอาเจียนไม่หยุด

*** เช็คสุขภาพ ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด ***

*** คุณอาจอยากอ่านบทความเหล่านี้เพิ่มเติม ***

ยาทูโจ (Toujeo)

แวเลียม (Valium)

ซาแนกซ์ (Xanax)

Centres for Disease Control and Prevention (CDC). 2020. Flu Symptoms & Complications. Accessed on 16 April 2020. 

Wikipedia. (2020). Influenza. Accessed on 16 April 2020. 

WebMD. (2020). Cold, Flu, & Cough. Accessed on 16 April 2020. 

NHS. (2020). Flu. Accessed on 16 April 2020. 

MedlinePlus. (2020). Flu. Accessed on 16 April 2020. 

 

16/04/2020
บทความที่เกี่ยวข้อง

การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส (COVID-19) ที่เริ่มจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ในช่วงปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ปัจจุบันครอบคลุมไปในหลาย ๆ ประเทศ ต่อไปนี้เป็นคำถามและคำตอบสำคัญเกี่ยวกับไวรัส รวมถึงวิธีการปกป้องตัวเองจากการติดเชื้อโคโรน่า และหากติดแล้ว มาดูกันว่าอะไรจะเกิดขึ้น


อะไรคือโรคโลหิตจางที่มาจากการขาดวิตามินบี 12 เมื่อคุณมีภาวะขาดวิตามินบี 12 หมายความว่าร่างกายของคุณไม่มีวิตามินชนิดนี้เพียงพอ คุณจำเป็นต้องมีวิตามินบี 12 ในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขนส่งออกซิเจนผ่านร่างกายของคุณ การมี B12



CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว