เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) สาเหตุ วิธีรักษา
โดย : ฐิติกาญจน์ ฉายรัศมีกุล
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) สาเหตุ วิธีรักษา

โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia - BPH) เป็นโรคที่เกิดกับผู้ชายเมื่อมีอายุสูงขึ้น ต่อมลูกหมากโตอาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายเมื่อปัสสาวะเนื่องจากขัดขวางการไหลของปัสสาวะ นอกจากนี้ อาการข้างเคียงของโรคต่อมลูกหมากโต ยังอาจทำให้เกิดปัญหากับอวัยวะต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น กระเพาะปัสสาวะหรือไต

โรคต่อมลูกหมากโต  สามารถรักษาได้ด้วยกรรมวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพหลายอย่าง เช่น การใช้ยา การบำบัดโดยควบคุมการกระจายของโรคให้น้อยที่สุด หรือการผ่าตัด หากมีอาการของโรคต่อมลูกหมากโตคุณจะต้องปรึกษาแพทย์ทางเลือกที่เหมาะสมแล้วแต่กรณีขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของคุณ แพทย์จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับอาการของคุณ ขนาดของต่อมลูกหมาก รวมถึงสภาวะสุขภาพอื่นๆ ตลอดจนขั้นตอนการรักษาเพื่อเป็นทางเลือกตามความต้องการของคุณ

อาการของโรคเป็นอย่างไร?

อาการและความรุนแรงของโรคต่อมลูกหมากโตอาจแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม อาการจะค่อยๆ แย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป โดยมีรายละเอียดดังนี้:

  • มักจะปัสสาวะบ่อย
  • ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน
  • เริ่มมีอาการปัสสาวะลำบาก
  • ปัสสาวะอ่อน มีอาการสะดุด (ขัดเบา)
  • มีปัสสาวะหยดเมื่อคุณถ่ายปัสสาวะเสร็จ
  • รู้สึกว่ากระเพาะปัสสาวะยังถ่ายไม่หมด

อาการและอาการแสดงอื่น ๆ ของโรคต่อมลูกหมากโต ที่ตรวจพบรองลงมา มีดังนี้:

  • มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • มีอาการปวดแสบปวดร้อนในขณะถ่ายปัสสาวะ
  • มีเลือดปนในปัสสาวะ

ความรุนแรงของอาการอาจแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ขนาดของต่อมลูกหมากไม่ได้บ่งบอกถึงความรุนแรงของอาการ นั่นหมายความว่าผู้ชายบางคนที่มีขนาดต่อมลูกหมากโตเล็กน้อยอาจมีอาการรุนแรง ในขณะที่ผู้ชายที่มีต่อมลูกหมากขนาดโตกว่ากลับมีอาการรุนแรงน้อยกว่า ในผู้ชายบางคน อาการจะคงที่และอาจดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ในขณะที่ผู้ชายบางคนต้องใช้เวลานานกว่าอาการจะดีขึ้น

ปัจจัยอื่นที่มีผลต่อโรคต่อมลูกหมากโต

ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคทางเดินปัสสาวะได้ เช่น

  • มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • มีการอักเสบของต่อมลูกหมาก
  • มีการตีบ หรือ ตีบตันของท่อปัสสาวะ
  • มีแผลเป็นที่รอยเย็บกระเพาะปัสสาวะเนื่องจากการผ่าตัดครั้งก่อน
  • มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะหรือไต
  • มีปัญหากับเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ
  • มีมะเร็งต่อมลูกหมากหรือมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

เมื่อใดควรไปพบแพทย์?

เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะคุณควรปรึกษาแพทย์  แม้ว่าคุณยังสามารถทนต่ออาการเจ็บปวดได้ก็ตาม ซึ่งแพทย์จะต้องระบุสาเหตุที่แท้จริง หากยังไม่สามารถแก้ปัญหาให้อาการเจ็บป่วยหมดไปได้ การอุดตันของทางเดินปัสสาวะอาจแย่ลงจนคุณไม่สามารถปัสสาวะได้ ซึ่งคุณจะต้องปรึกษาแพทย์ทันที

สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโตคืออะไร?

เมื่อต่อมลูกหมากโต การถ่ายปัสสาวะจะถูกปิดกั้น เป็นผลให้คุณปัสสาวะลำบากหรือสูญเสียความสามารถในการขับปัสสาวะ ขนาดของต่อมลูกหมากในผู้ชายส่วนใหญ่จะค่อยๆขยายใหญ่ขึ้นไปเรื่อย ๆ ตลอดชีวิต การขยายตัวของต่อมลูกหมากนี้เองทำให้เป็นปัญหาในการขับปัสสาวะ เช่น ปัญหาปัสสาวะอุดตัน

อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าสาเหตุที่แท้จริงของการขยายตัวของต่อมลูกหมากคืออะไร ในบางกรณีการเปลี่ยนแปลงความสมดุลของฮอร์โมนเพศเมื่อผู้ชายมีอายุมากขึ้นก็อาจเป็นที่มาของสาเหตุด้วยเช่นกัน

ปัจจัยเสี่ยงของโรคต่อมลูกหมากโตคืออะไร?

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับการขยายตัวของต่อมลูกหมาก ได้แก่

  • อายุ สัญญาณและอาการของโรคต่อมลูกหมากโตสามารถตรวจพบได้เมื่อผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี อาการปานกลางถึงรุนแรงสามารถตรวจพบได้จากผู้ชายหนึ่งในสามเมื่ออายุ 60 ปี นอกจากนี้ ผู้ชายทุกคนยิ่งมีอายุขัยยาวนานก็ยิ่งเป็นเหตุผลการขยายตัวของต่อมลูกหมาก และอาจมีอาการรุนแรงเมื่ออายุ 80 ปีขึ้นไปด้วย
  • การใช้ยาสมุนไพรบางชนิดซึ่งให้ฮอร์โมนเพศชายหรือการกินฮอร์โมนเพศชายแทนการบำบัด อาจเป็นสาเหตุทำให้ต่อมลูกหมากโตได้
  • การเป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจ จากการศึกษาพบว่าผู้ที่เป็นโรคหัวใจและเบาหวานมีโอกาสที่จะเป็นโรคต่อมลูกหมากโตเนื่องจากการใช้ยาประเภทเบต้าบล็อกเกอร์ (beta-blockers)
  • การติดเชื้อในต่อมลูกหมาก (ต่อลูกหมากอักเสบ) อาจทำให้ต่อมลูกหมากบวมและส่งผลให้เกิดอาการต่อมลูกหมากโต

การวินิจฉัยที่ใช้กับโรคต่อมลูกหมากโตคืออะไร?

คุณจะถูกถามคำถามโดยละเอียดเกี่ยวกับอาการของคุณเมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะทำการทดสอบทางกายภาพบางอย่างในขั้นต้น เช่น:

  • การตรวจทางทวารหนักโดยใช้นิ้วมือ (DRE): ในการตรวจนี้ แพทย์มักจะสอดนิ้วเข้าไปในทวารหนักเพื่อตรวจต่อมลูกหมากของคุณหากมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้น
  • การตรวจปัสสาวะ: แพทย์จะวิเคราะห์ปัสสาวะของคุณ ซึ่งสามารถช่วยแยกแยะการติดเชื้อหรือภาวะอื่นๆ
  • การตรวจเลือด: แพทย์อาจต้องเก็บตัวอย่างเลือดของคุณและทำการทดสอบหาสาเหตุ การตรวจเลือดสามารถช่วยให้แพทย์ระบุปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมากได้
  • ตรวจหาสารต่อต้านที่มีผลเฉพาะกับต่อมลูกหมาก (PSA): แพทย์อาจจำเป็นต้องเรียกใช้ตัวอย่างเพื่อดูระดับของสารต่อต้านที่มีผลเฉพาะกับต่อมลูกหมาก (PSA) ซึ่งเป็นสารในต่อมลูกหมากของคุณ หากพบว่ามีระดับ PSA เพิ่มขึ้น จนถึงระดับสูงกว่า 4 ng/ml อาจบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่จะต้องทำหัตถการ การติดเชื้อ การผ่าตัด หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก ด้วยระดับ PSA ที่เพิ่มขึ้น คุณอาจได้รับคำแนะนำให้ทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อช่วยยืนยันต่อมลูกหมากที่ขยายใหญ่ขึ้นรวมทั้งวินิจฉัยภาวะอื่นๆ
  • การทดสอบการไหลของปัสสาวะ: การทดสอบนี้จะวัดความแรงและปริมาณการไหลของปัสสาวะของคุณ สามารถบอกคุณได้ว่าอาการของคุณถดถอยลงหรือไม่
  • การทดสอบปริมาตรตกค้างภายหลัง: จุดประสงค์ของการทดสอบนี้คือเพื่อค้นหาว่าคุณสามารถล้างกระเพาะปัสสาวะได้ แพทย์อาจขอทำอัลตราซาวนด์เพื่อวินิจฉัย ในบางกรณี แพทย์อาจใส่สายสวนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะหลังจากที่คุณปัสสาวะเพื่อทดสอบระดับปัสสาวะของคุณ
  • เก็บบันทึกประวัติการถ่ายปัสสาวะ: ตรวจสอบการถ่ายปัสสาวะว่าเกิดขึ้นบ่อยเพียงใด และมีประโยชน์มากในระดับใด หากหนึ่งในสามของปัสสาวะเกิดขึ้นในเวลากลางคืน คุณอาจต้องปรึกษาแพทย์

เมื่อสภาวะของสุขภาพซับซ้อนขึ้น คุณอาจได้รับการแนะนำดังนี้:

  • Uroflowmetry (UFM): คุณต้องส่งปัสสาวะตรวจหาความผิดปกติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจหารูปแบบของการปัสสาวะที่ผิดปกตินั้น
  • อัลตราซาวนด์ทางทวารหนัก: แพทย์อาจต้องการตรวจทวารหนักของคุณเพิ่มเติม เพื่อประเมินสภาพต่อมลูกหมากของคุณ
  • การตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก: ตัวอย่างเนื้อเยื่อ ชิ้นเนื้อ จากต่อมลูกหมากของคุณอาจต้องได้รับการตรวจเพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยและแยกแยะมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การตรวจระดับการไหลและความดันของปัสสาวะ: แพทย์อาจให้คุณเข้ารับการตรวจวัดระดับความดันของปัสสาวะ ด้วยวิธีการฉีดน้ำเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะของคุณเพื่อให้แพทย์สามารถประเมินความดันในกระเพาะปัสสาวะและการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้มักใช้กับผู้ชายที่มีปัญหาทางระบบประสาท รวมทั้งผู้ที่เคยทำหัตถการต่อมลูกหมากมาแล้วและยังมีอาการอยู่
  • การใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy) : กล้องซิสโตสโคปซึ่งเป็นกล้องส่องตรวจอวัยวะภายในและมีความยืดหยุ่นจะถูกสอดเข้าไปในท่อปัสสาวะของคุณ ด้วยเครื่องมือนี้ แพทย์สามารถเห็นสภาพภายในของท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ ทั้งนี้โดยจะใช้ยาชาเฉพาะที่ก่อนทำการทดสอบ

การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตคืออะไร?

การรักษาในรูปแบบต่างๆ สามารถใช้กับต่อมลูกหมากโตได้ เช่น การใช้ยา การบำบัดเพื่อควบคุมการกระจายของโรคให้น้อยที่สุดและการผ่าตัด แพทย์อาจต้องประเมินปัจจัยหลานด้านก่อนตัดสินใจใช้การรักษาใดๆ ปัจจัยอาจขึ้นอยู่กับคำถามต่อไปนี้:

  • ต่อมลูกหมากของคุณมีขนาดเท่าใด
  • คุณมีอายุเท่าใด
  • สุขภาพโดยรวมของคุณเป็นอย่างไร
  • คุณรู้สึกรำคาญกับอาการที่คุณมีมากแค่ไหน

หากคุณยังสามารถอดทนต่ออาการปัจจุบันของคุณได้ คุณอาจข้ามผ่านการรักษาไปโดยเปลี่ยนเป็นการติดตามอาการของโรคแทน อาการในผู้ชายบางคนสามารถบรรเทาได้โดยไม่ต้องรักษา

ยาสำหรับโรคต่อมลูกหมากโตคืออะไร?

ผู้ชายที่มีอาการต่อมลูกหมากโตเล็กน้อยถึงปานกลางอาจต้องใช้ยาดังนี้

  • ยาประเภทอัลฟา บล็อกเกอร์ (Alpha-blockers): ยาช่วยคลายกล้ามเนื้อคอกระเพาะปัสสาวะและช่วยผ่อนคลายเส้นเอ็นกล้ามเนื้อในต่อมลูกหมาก ซึ่งช่วยให้ปัสสาวะง่ายขึ้น ได้แก่ alfuzosin (Xatral), doxazosin (Cardura), tamsulosin (Harnal) และ silodosin (Urief).ยาเหล่านี้ทำงานได้ดีกับผู้ชายที่มีต่อมลูกหมากขนาดค่อนข้างเล็ก อย่างไรก็ตาม คุณอาจพบผลข้างเคียงบางอย่าง เช่น อาการวิงเวียนศีรษะและภาวะที่ไม่เป็นอันตราย เช่น ภาวะที่น้ำอสุจิจะไหลกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะแทนที่จะไหลออกจากองคชาติ
  • 5-alpha reductase inhibitors: ยาเหล่านี้ยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเติบโตของต่อมลูกหมาก การใช้ยาเหล่านี้จะทำให้ต่อมลูกหมากของคุณหดตัวลง ได้แก่ finasteride (Proscar) และ dutasteride (Avodart),อาจต้องใช้เวลาถึงหกเดือนจึงจะได้ผล อย่างไรก็ตาม อาจมีผลข้างเคียงของภาวะน้ำอสุจิที่ไหลกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะแทนที่จะไหลออกจากองคชาติด้วยเช่นกัน
  • การบำบัดด้วยการใช้ยาร่วมกัน: คุณอาจได้รับคำแนะนำให้ใช้ยาหลายชนิดควบคู่ไปกับการรักษา ตัวอย่างเช่น แพทย์อาจกำหนดให้คุณใช้ alpha-blocker และ 5-alpha reductase inhibitor พร้อมกันเมื่อยาตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้ผล
  • Tadalafil (Cialis): แพทย์ของคุณอาจสั่งเพื่อรักษาภาวะต่อมลูกหมากโต โดยปกติยาชนิดนี้จะใช้สำหรับผู้ชายที่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ อย่างไรก็ตาม การศึกษายังแสดงให้เห็นว่าTadalafilสามารถรักษาโรคต่อมลูกหมากโตได้

การบำบัดหรือผ่าตัดเพื่อควบคุมการกระจายของโรคให้น้อยที่สุด

ในบางกรณีแพทย์อาจกำหนดให้คุณต้องเข้ารับการบำบัดหรือผ่าตัดเพื่อควบคุมการกระจายของโรคให้น้อยที่สุดเมื่อ

  • คุณมีอาการปานกลางถึงรุนแรง
  • ยาที่แพทย์สั่งใช้ไม่ได้ผลกับคุณ
  • คุณสูญเสียความสามารถในการปัสสาวะ; คุณมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ คุณมีเลือดปนในปัสสาวะหรือมีปัญหาเกี่ยวกับไต
  • เงื่อนไขของคุณที่ต้องการการรักษาเป็นการเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม การบำบัดหรือผ่าตัดเพื่อควบคุมการกระจายของโรคนี้  อาจไม่เหมาะกับสภาวะต่อไปนี้:

  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะของคุณยังไม่ได้รับการรักษา
  • คุณมีอาการของท่อปัสสาวะตีบตัน
  • คุณมีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสันหรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

นอกจากนี้ แพทย์ควรปรึกษาเรื่องผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อน หากคุณตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาต่อมลูกหมากแบบใดแบบหนึ่ง ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนอาจรวมถึง:

  • น้ำอสุจิไหลย้อนกลับเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ แทนที่จะไหลออกจากปลายอวัยวะเพศขณะหลั่ง
  • ปัสสาวะลำบากชั่วคราว
  • มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • มีเลือดออก
  • ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมาก แต่อาจน้อยกว่านี้หลังการผ่าตัดที่ไม่ต้องเปิดหน้าท้อง (เช่น การผ่าตัดด้วยเลเซอร์)
  • มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือสูญเสียการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ

อย่างไรก็ตาม หากคุณจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดแบบปิดหน้าท้องหรือการผ่าตัดแบบใดก็ตาม ต่อไปนี้คือตัวเลือก:

  • การผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านท่อปัสสาวะ (TURP): ด้วยวิธีนี้ ศัลยแพทย์อาจใช้กล้องสอดเข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อเอาส่วนนอกของต่อมลูกหมากออกมาบางส่วน โดยปกติ TURP จะช่วยบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็ว และผู้ชายส่วนใหญ่จะมีปัสสาวะไหลแรงขึ้นทันทีหลังทำการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม คุณอาจได้รับคำแนะนำให้ใช้สายสวนชั่วคราวเพื่อส่งผ่านปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ
  • การกรีดต่อมลูกหมาก (TUIP): ศัลยแพทย์อาจเลือกใช้ขั้นตอนนี้เพื่อทำแผลเล็กๆ หนึ่งหรือสองครั้งในต่อมลูกหมากเพื่อให้ปัสสาวะผ่านท่อปัสสาวะได้ง่าย ขั้นตอนนี้เหมาะสำหรับผู้มีต่อมลูกหมากโตขนาดเล็กและปานกลาง ขั้นตอนนี้จะถูกเลือกใช้ในกรณีที่คุณมีภาวะสุขภาพอื่น ๆ ที่เสี่ยงต่อการผ่าตัดอื่น ๆ
  • การผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านท่อปัสสาวะโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (คลื่นไมโครเวฟ) (TUMT): ด้วยขั้นตอนนี้ ขั้วไฟฟ้าพิเศษจะถูกแทรกผ่านท่อปัสสาวะของคุณและถูกผลักไปจนถึงบริเวณต่อมลูกหมาก จากนั้นพลังงานไมโครเวฟจากขั้วไฟฟ้าจะถูกนำมาใช้เพื่อทำลายส่วนด้านในของต่อมลูกหมากที่ขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ต่อมลูกหมากหดตัวลงและทำให้ปัสสาวะไหลได้สะดวก อย่างไรก็ตาม TUMT อาจช่วยบรรเทาอาการของคุณได้บางส่วน อาจต้องใช้เวลาในบางครั้งจึงจะเห็นผล หากคุณมีต่อมลูกหมากขนาดเล็กลง และคุณได้รับการรักษาอีกครั้ง แพทย์ของคุณอาจแนะนำตัวเลือกนี้ให้กับคุณ คุณอาจรู้สึกไม่สบายอย่างต่อเนื่องเนื่องจากยังมีเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่ไม่แข็งแรงหลงเหลืออยู่
  • การผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านท่อปัสสาวะโดยเข็มทำลายเนื้อเยื่อ (TUNA): ด้วย TUMT กล้องจะถูกสอดเข้าไปในท่อปัสสาวะ ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถใส่เข็มเข้าไปในต่อมลูกหมากได้ จากนั้นคลื่นวิทยุจะถูกส่งผ่านเข็มเพื่อให้ความร้อนและทำลายเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากซึ่งมากเกินไปที่มาขวางทางการไหลของปัสสาวะ ปัจจุบัน TUNA ไม่ค่อยมีการนำมาใช้เนื่องจากเป็นตัวเลือกสำหรับคนไข้ที่ได้รับการคัดสรรมาเป็นอย่างดี อาจทำให้รู้สึกไม่สบายเช่นเดียวกับ TUMT
  • การรักษาด้วยเลเซอร์ (Laser therapy): การผ่าตัดประเภทนี้อาจเป็นทางเลือกสำหรับผู้ชายที่ไม่มีทางเลือกอื่นหรือต้องการหลีกเลี่ยงการผ่าตัดที่ลุกลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาใช้ยาทำให้เลือดจาง ด้วยขั้นตอนนี้ ศัลยแพทย์จะใช้เลเซอร์พลังงานสูงทำลายและขจัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่ขยายใหญ่ออก ขั้นตอนโดยทั่วไปสามารถบรรเทาอาการได้ทันทีโดยลดความเสี่ยงของผลข้างเคียง
  • ขั้นตอนในการกำจัดทิ้ง (Ablative procedures): ในขั้นตอนนี้ศัลยแพทย์จะทำให้เนื้อเยื่อที่อุดกั้นกลายเป็นไอเพื่อเพิ่มการไหลของปัสสาวะ ทำให้เลือดออกน้อยลงและฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดช่องท้อง
  • กระบวนการคว้านออก (procedures): ขั้นตอนนี้มุ่งเป้าไปที่การกำจัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่ขัดขวางการไหลของปัสสาวะ รวมทั้งป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของเนื้อเยื่อ ในทางเทคนิค เนื้อเยื่อที่ถูกนำออกจากขั้นตอนนี้จะถูกตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากรวมถึงการสอบสวนโรคอื่นๆไปด้วยในตัว
  • การใช้อุปกรณ์โลหะชนิดพิเศษบีบอัดต่อมลูกหมาก Prostatic urethral lift (PUL): ศัลยแพทย์จะใช้อุปกรณ์โลหะชนิดพิเศษบีบอัดด้านข้างของต่อมลูกหมากเพื่อเพิ่มการไหลของปัสสาวะ หากอาการทางเดินปัสสาวะของคุณไม่รุนแรง ศัลยแพทย์อาจแนะนำวิธีการนี้ ศัลยแพทย์จะให้คำแนะนำแก่ผู้ชายที่กังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อการรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศและปัญหาการหลั่งน้ำอสุจิในปัจจุบัน ด้วย PUL ผลกระทบต่อการพุ่งออกมาและการทำงานทางเพศนั้นค่อนข้างต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับ TURP ในอนาคตคุณอาจต้องผ่าตัดแบบที่มีการลุกลามมากขึ้น
  • การอุดกั้นตำแหน่งที่เลือดออก (Embolization): กระบวนการนี้ยังขาดข้อมูลระยะยาวเกี่ยวกับประสิทธิภาพ โดยปกติศัลยแพทย์จะใช้ขั้นตอนนี้เพื่อป้องกันการไหลเวียนของเลือดไปยังต่อมลูกหมาก ซึ่งมีผลทำให้ขนาดลดลง
  • การผ่าตัดต่อมลูกหมากแบบเปิดหรือการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์: กระบวนการผ่าตัดนี้ จะทำในช่องท้องส่วนล่างของคุณ โดยที่ศัลยแพทย์จะนำเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่มีปัญหาออก ศัลยแพทย์จะเลือกใช้การผ่าตัดต่อมลูกหมากแบบเปิด ถ้าต่อมลูกหมากของคุณมีขนาดใหญ่มาก กระเพาะปัสสาวะเสียหายหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ แพทย์อาจขอให้คุณเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากคุณอาจต้องได้รับการถ่ายเลือด เป็นการรักษาอาการที่ลุกลามมากที่สุดและทำให้เกิดผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น เช่น ภาวะกลั้นไม่ได้หรือความอ่อนแอ

การเตรียมตัวสำหรับการนัดหมายของคุณ:

ก่อนการพบแพทย์ คุณควรสำรวจอาการของคุณ สังเกตุความถี่ที่คุณปัสสาวะต่อวัน ข้อมูลทางการแพทย์ที่สำคัญ ยารักษาโรคทั้งหมด และคำถามที่คุณเตรียมจะถามแพทย์

ข้อมูลเบื้องต้นที่แพทย์อาจจะต้องสอบถามจากคุณ:

คุณอาจถูกถามด้วยชุดคำถามจากแพทย์ผู้วินิจฉัยโรค เช่น เมื่ออาการของคุณเริ่มต้นขึ้น สมาชิกในครอบครัวคนใดเป็นโรคนี้หรือไม่ และคุณเคยใช้ยาบางชนิดหรือไม่

ประวัติเจ้าของบทความ

ฐิติกาญจน์ ฉายรัศมีกุล ปัจจุบันเป็น นักแปลอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการแปลเอกสารสายงานการบริหารจัดการภายในองค์กร อาทิ งานบริหารสำนักงานและงานเลขานุการ งานประชุมสัมมนา งานธุรการและบุคคล งานโรงงาน  ฯลฯ

ฐิติกาญจน์ เคยปฏิบัติงานในตำแหน่งเลขานุการนายกสมาคมสตรีไทยดีเด่นแห่งชาติ, ผู้ช่วยส่วนตัว กรรมการผู้จัดการบริษัท ดีเอ็นที อินสเป็คชั่น เซอร์วิส จำกัด, เลขานุการบริหารรองประธานกลุ่มบริษัทในเครือเซ็นทาโก้  

ปัจจุบัน เป็นนักแปลอิสระ รับงานแปลหลากหลายสาขาตามวัตถุประสงค์ของผู้ว่าจ้างโดยไม่จำกัดขอบเขตของงาน จบการศึกษาระดับปริญญาโท คณะภาษาและการสื่อสาร (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)  สถาบันบัณพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)  มีผลงานการค้นคว้าอิสระจากหนังสือธรรมะของพระอาจารย์ ว.วชิรเมธี  เรื่อง “เข็นธรรมะขึ้นภูเขา”  (English I.S.) An Investigation of Venerable Vor Vachiramethee’s Dharma Teaching in “Difficulties of Accessing Dharma” with CMM Theory (English Version)

08/06/2021
บทความที่เกี่ยวข้อง



การเสพติดการช่วยตัวเอง หรือการเสพติดการเสพติดการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองเป็นภาวะที่ซับซ้อนที่ต้องเข้าใจ และรักษา

CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว