เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Nodules) สาเหตุ อาการและการรักษา
โดย : เรืองมาศ ว่องสุวรรณเลิศ
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Nodules) สาเหตุ อาการและการรักษา

ผู้ป่วยที่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Nodules) จะพบก้อนแข็งหรือก้อนที่มีของเหลวเกิดขึ้นในต่อมไทรอยด์ของตนเอง ในกรณีทั่วไปมักไม่แสดงอาการ และมีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่จะพัฒนาเป็นมะเร็ง แพทย์สามารถตรวจพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์ได้จากการตรวจสุขภาพตามปกติหรือจากการสแกนร่างกายเพื่อเหตุผลทางสุขภาพอื่นๆ ก้อนที่ต่อมไทรอยด์บางอันสามารถเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า

อาการและอาการแสดงของโรคก้อนที่ต่อมไทรอยด์เป็นอย่างไร

ผู้ป่วยที่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ขนาดใหญ่จะพบอาการแสดงดังต่อไปนี้

  • สามารถรู้สึกได้เอง
  • บวมบริเวณฐานของลำคอ
  • เมื่อกดที่หลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจไม่ออกหรือกลืนลำบาก

ในบางกรณี ก้อนที่ต่อมไทรอยด์จะผลิตฮอร์โมนไทรอกซินมากกว่าปกติ ทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน เช่น

  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เหงื่อออกมาก
  • ตัวสั่น
  • กระสับกระส่าย วิตกกังวล
  • หัวใจเต้นเร็วหรือผิดจังหวะ

มีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่ก้อนจะกลายเป็นมะเร็ง มะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ชนิดรุนแรงเป็นโรคที่พบได้ยากโดยก้อนที่ต่อมไทรอยด์จะขยายขึ้นมากอย่างรวดเร็ว


เมื่อใดจึงควรพบแพทย์

ผู้ป่วยสามารถขอให้แพทย์ตรวจสอบอาการบวมแบบผิดปกติในลำคอได้ โดยเฉพาะเมื่อรู้สึกลำบากขณะหายใจหรือกลืน ในบางกรณีผู้ป่วยสามารถขอให้แพทย์วินิจฉัยความเป็นไปได้ของการเกิดมะเร็งร่วมด้วย

ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลทางการแพทย์ หากปรากฏอาการดังต่อไปนี้

  • น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
  • หัวใจเต้นแรง
  • นอนหลับยาก
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • หงุดหงิดและฉุนเฉียว

ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดไทรอยด์ควรพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้

  • รู้สึกหนาว
  • อ่อนเพลีย
  • ผิวหนังแห้ง
  • มีปัญหาด้านการจำ
  • มีอาการซึมเศร้า

สาเหตุของโรคก้อนที่ต่อมไทรอยด์คืออะไร

ก้อนที่ต่อมไทรอยด์สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้

แพทย์มีวิธีวินิจฉัยก้อนที่ต่อมไทรอยด์อย่างไร

แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับการตรวจดังต่อไปนี้

  • การแสกนต่อมไทรอยด์
  • การเจาะชิ้นเนื้อด้วยเข็มขนาดเล็ก
  • การอัลตราซาวด์
  • การตรวจสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์
  • การตรวจร่างกายภายนอก

แพทย์มีวิธีรักษาก้อนในต่อมไทรอยด์อย่างไร

แพทย์จะแนะนำวิธีรักษาให้แก่ผู้ป่วยโดยยึดตามประเภทของก้อนที่ต่อมไทรอยด์ เช่น

ในกรณีเป็นก้อนที่ไม่ผิดปกติ แพทย์อาจใช้วิธีต่อไปนี้

  • การผ่าตัด เช่น การเจาะชิ้นเนื้อ
  • การรักษาด้วยฮอร์โมนส์ไทรอยด์
  • เฝ้าระวังการแสดงอาการ เช่น การตรวจร่างกายภายนอก การทดสอบการทำงานของไทรอยด์ การอัลตราซาวด์และการเจาะชิ้นเนื้อ

ในการรักษาก้อนที่อาจก่อให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน แพทย์อาจใช้วิธีต่อไปนี้

  • การผ่าตัดเพื่อเอาก้อนที่ต่อมไทรอยด์ที่ทำงานไวเกินไปออกทั้งหมด
  • การให้ยาต้านการทำงานของต่อมไทรอยด์ เช่น เมทิมาโซล
  • การรักษาด้วยแร่ไอโอดีน 131

ในการรักษาก้อนที่เป็นมะเร็ง แพทย์อาจใช้วิธีต่อไปนี้

  • การเฝ้าสังเกตที่รวมถึงการอัลตราซาวด์และการตรวจเลือด
  • การผ่าตัดออก เช่น การตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบทั้งหมด
  • การฉีดด้วยแอลกอฮอล์ เช่น ฉีดแอลกอฮอล์ปริมาณน้อยๆ เข้าไปในก้อนที่ต่อมไทรอยด์ที่เป็นมะเร็งเพื่อทำลาย

การเตรียมตัวเมื่อพบแพทย์

จะเป็นการย่นระยะเวลาหากผู้ป่วยและแพทย์มีการเตรียมตัวก่อนนัดหมาย ดังนี้

  • ถามแพทย์ว่ามีสิ่งใดที่ต้องเตรียมเป็นการล่วงหน้าหรือไม่
  • จดรายละเอียดของอาการและการเปลี่ยนแปลงที่พบทั้งหมด
  • ควรเตรียมข้อมูลทางการแพทย์สำคัญเอาไว้ให้พร้อมเสมอ เช่น การผ่าตัดครั้งล่าสุด ยาที่ใช้และข้อมูลอื่นๆ ที่ทำให้แพทย์สามารถเห็นภาพรวมของอาการป่วยได้ง่ายขึ้น
  • เตรียมข้อมูลประวัติการป่วยของตนเองและสมาชิกในครอบครัว
  • เตรียมคำถามสำหรับถามแพทย์

ประวัติเจ้าของบทความ

เรืองมาศ ว่องสุวรรณเลิศ ล่ามภาษาอิตาลี-อังกฤษ-ไทย ที่มีประสบการณ์การเรียนและทำงานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของอิตาลีและยุโรปมากว่า 15 ปี นักแปลอาชีพสายกฏหมายและการแพทย์ จบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกภาษาอิตาลี เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และปริญญาโท สาขา Media Culture จาก Maastricht University ประเทศเนเธอร์แลนด์

15/06/2021
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว