เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / โรคลิ้นหัวใจ (Heart Valve Disease) สาเหตุ อาการและการรักษา
โดย : ปิยะดา สุวรรณโรจน์
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
โรคลิ้นหัวใจ (Heart Valve Disease) สาเหตุ อาการและการรักษา

ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจ (Heart Valve Disease) มักจะมีอย่างน้อยหนึ่งลิ้นหัวใจที่ทำงานผิดปกติ โดยปกติแล้วหัวใจจะมีสี่ห้องที่ทําให้เลือดไหลไปในทิศทางที่ถูกต้อง ผู้ป่วยบางรายมีการปิด/เปิดของห้องหัวใจไม่ต่ำกว่าหนึ่งห้องไม่ปกติ ภาวะนี้ทำให้เกิดการหยุดชะงักของการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจของผู้ป่วย การรักษาโรคลิ้นหัวใจขึ้นอยู่กับภาวะของลิ้นหัวใจที่เสียหาย ผู้ป่วยบางรายต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยบางรายต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

อาการของโรคลิ้นหัวใจคืออะไร

ผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคลิ้นหัวใจอาจไม่แสดงอาการ โดยอาการทั่วไปบางอย่างมีดังนี้:

ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

ผู้ป่วยควรพบแพทย์หากมีอาการเสียงที่ไม่ปกติในหัวใจเกิดขึ้น หรือมีเสียงฟู่ของหัวใจ หากมีอาการดังที่กล่าวมาอาจพัฒนากลายเป็นโรคลิ้นหัวใจแนะนําให้ไปพบแพทย์

อะไรคือสาเหตุของอาการโรคลิ้นหัวใจ

หัวใจโดยทั่วไปมี 4 ลิ้นหัวใจ คือ ลิ้นไมตรัล (Mitral valve) ลิ้นไตรคัสปิด (Tricuspid valveลิ้นพัลมอนารี (Pulmonary valve) และ ลิ้นเออร์ติก (Aortic valve) แต่ละลิ้นมีอวัยวะที่เรียกว่าพนังแผ่นพับหรือ cusp ซึ่งเปิดและปิดในขณะที่มีการเต้นของหัวใจแต่ละครั้ง ด้วยโรคลิ้นหัวใจ มีอาการลิ้นปิดและเปิดไม่ปกติ ซึ่งจะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดที่จะนําไปสู่ร่างกาย นอกจากนี้โรคอาจมีอยู่ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งเรียกว่าโรคลิ้นหัวใจแต่กําเนิด โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ใหญ่ สืบเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ และหากมีภาวะดังนี้

  • ลิ้นหัวใจรั่ว: ผู้ป่วยที่มีอาการลิ้นหัวใจรั่วจะมีเยื่อที่ปิดไม่เป็นไปตามปกติ ซึ่งทำให้เกิดการรั่วไหลย้อนกลับในหัวใจ เกิดขึ้นเมื่อลิ้นกระพือและโป่งกลับ ซึ่งนําไปสู่สภาพที่เรียกว่าอาการห้อยยาน
  • ลิ้นหัวใจตีบ: ภาวะนี้พนังของลิ้นจะหนาขึ้นหรือแข็งและอาจหลอมรวมกัน และเป็นผลให้ลิ้นเปิดแคบลงขณะไหลเวียนเลือดเกิดการไหลผ่านของเลือดติดขัด
  • ลิ้นหัวใจฝ่อ: ลิ้นหัวใจไม่ก่อตัวขึ้นในผู้ป่วยที่มีอาการลิ้นหัวใจฝ่อ ดังนั้นการไหลเวียนของเลือดระหว่างห้องหัวใจจะเกิดการปิดกั้น

อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจ

ปัจจัยที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคลิ้นหัวใจมีดังนี้:

  • ผู้ป่วยมีอายุมากขึ้น
  • ผู้ป่วยมีการติดเชื้อที่สามารถส่งผลกระทบต่อหัวใจ
  • ผู้ป่วยมีโรคหัวใจบางอย่างหรือหัวใจวาย
  • ผู้ป่วยมีภาวะอื่นๆที่สามารถเพิ่มความเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลสูง และ โรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจตั้งแต่แรกเกิด (โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด)

แพทย์วินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจได้อย่างไร

แพทย์จะถามคําถามเกี่ยวกับอาการและอาการต่างๆของผู้ป่วยในการปรึกษาหารือ แพทย์จะทำการตรวจร่างกายหากจําเป็น มีแนวโน้มที่จะตรวจสอบเพิ่มเติมหากผู้ป่วยมีเสียงฟู่ของหัวใจซึ่งเป็นสัญญาณของโรคลิ้นหัวใจ นอกเหนือจากการทดสอบแล้วแพทย์อาจแนะนําให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยภาวะอื่นๆ

การตรวจอาจประกอบไปด้วย:

  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography): แพทย์ถืออุปกรณ์ส่องกล้องหรืออุปกรณ์ตรวจสอบสัญญาณบนหน้าอกของผู้ป่วย จากนั้นคลื่นเสียงจากหัวใจจะช่วยให้อุปกรณ์ฉายภาพวิดีโอการเคลื่อนไหวของหัวใจ การตรวจจะประเมินโครงสร้างของหัวใจ ลิ้นหัวใจ รวมไปถึงการไหลเวียนเลือดของหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ช่วยให้แพทย์ดูลิ้นในหัวใจของผู้ป่วยได้ชัดเจนขึ้นและตรวจสอบว่าการทำงานของลิ้นดีเพียงใด ในบางกรณี แพทย์อาจใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 3 มิติ แพทย์อาจเลือกใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบอื่นที่เรียกว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจผ่านหลอดอาหาร ในการทดสอบนี้ แพทย์จะใช้ตัวแปลงสัญญาณที่ติดอยู่ที่ปลายท่อ แล้วสอดท่อเข้าไปในปากของผู้ป่วยที่นำไปสู่กระเพาะอาหาร (หลอดอาหาร) การตรวจนี้ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจดูลิ้นหัวใจของผู้ป่วยได้แม่นยำมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบปกติ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG (Electrocardiogram): การตรวจด้วยวิธีนี้ แพทย์จะใช้สายอิเล็กโทรดที่ยึดติดกับแผ่นอิเล็กโทรดเพื่อยึดติดกับผิวหนังของผู้ป่วยเพื่อวัดแรงกระตุ้นไฟฟ้าจากหัวใจ การทดสอบนี้สามารถตรวจจับห้องหัวใจที่ขยายใหญ่ขึ้นของผู้ป่วยหรือภาวะอื่นๆ ที่เป็นไปได้ เช่น โรคหัวใจและ จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • เอ็กซ์เรย์หน้าอก (Chest X-ray): ในการตรวจสอบนี้ แพทย์จะสามารถระบุได้ว่าหัวใจขยายใหญ่ขึ้นหรือไม่และเป็นโรคลิ้นหัวใจชนิด จากการตรวจสอบ แพทย์ยังสามารถระบุได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะอาการปอดอื่นๆหรือไม่
  • การตรวจหัวใจด้วยภาพคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก (MRI): การทดสอบนี้ใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุเพื่อสร้างภาพที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับหัวใจของผู้ป่วย การตรวจสอบนี้ยังช่วยให้แพทย์ระบุได้ว่าภาวะดังกล่าวรุนแรงหรือไม่ และเพื่อประเมินขนาดและการทำงานของโพรงหัวใจของผู้ป่วยซึ่งเป็นห้องหัวใจส่วนล่าง
  • ทดสอบออกกำลังกายหรือความยืดหยุ่น: แบบทดสอบนี้ช่วยวัดผู้ป่วยเพื่อดูความอดทนต่อกิจกรรมและสังเกตการเต้นของหัวใจว่าตอบสนองต่อการออกกำลังกายอย่างไร หากผู้ป่วยไม่สามารถออกกำลังกายได้ แพทย์อาจยกเลิกการทดสอบเหล่านี้ ไปใช้ยาเพื่อเลียนแบบผลของการออกกำลังกายต่อหัวใจของผู้ป่วย
  • การตรวจสวนหัวใจ (Cardiac catheterization): แพทย์มักไม่ค่อยเลือกการตรวจสอบนี้เพื่อวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจ อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบนี้จะใช้เมื่อการทดสอบอื่นๆ ไม่สามารถวินิจฉัยหรือระบุความรุนแรงของเคสได้ ด้วยวิธีนี้ แพทย์จะสอดสายสวนเข้าไปในหลอดเลือดของผู้ป่วยที่แขนหรือขาหนีบเพื่อนำทางไปยังหลอดเลือดแดงในหัวใจของผู้ป่วย จากนั้นสีย้อมจะถูกฉีดผ่านท่อบาง ๆ เพื่อให้มองเห็นหลอดเลือดแดงบนเอ็กซ์เรย์ ขั้นตอนนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยได้ผ่านภาพที่มีรายละเอียด การทำงานของระบบหัวใจตรวจสอบในระหว่างขั้นตอนนี้เช่นกัน

แพทย์รักษาโรคลิ้นหัวใจอย่างไร

การรักษานั้นจะถูกเลือกจากสภาวะของอาการ หากผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงออกตามที่กล่าวข้างต้น หรืออาการแย่ลง แพทย์โรคหัวใจหรือแพทย์หัวใจจะแนะนำให้เลือกการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพของตนเอง ตลอดจนให้การดูแลผู้ป่วย ในบางกรณี ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจจะได้รับการประเมินและรักษาที่ศูนย์ด้วยทีมแพทย์จากสหสาขาวิชาชีพ ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมและมีประสบการณ์ในการประเมินและรักษาโรคลิ้นหัวใจ ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดกับทีมแพทย์เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพของตนเองมากที่สุด
 
นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะได้รับการแนะนำให้ติดตามอาการของตนเองด้วยการนัดหมายติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยให้ใช้ชีวิตด้วยสุขภาพที่ดีพร้อมทั้งรับประทานยารักษาอาการต่างๆ ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจต้องผ่าตัดแก้ไขหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่ผิดปกติในที่สุด ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจอาจยังคงได้รับการแนะนำให้เลือกรับการผ่าตัด แม้ว่าจะไม่มีอาการใดๆ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งปรับปรุงผลการรักษา และหากผู้ป่วยต้องผ่าตัดสำหรับอาการอื่นๆ แพทย์จะกระทำพร้อมกันกับการผ่าตัดที่มีอยู่ แพทย์มักจะทำการผ่าตัดโดยการกรีดหน้าอกของผู้ป่วย
 
ในบางกรณี แพทย์อาจดำเนินผ่าตัดที่ลุกล้ำน้อยที่สุดโดยการผ่าตัดผ่านทางแผลเล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ในบางกรณี แพทย์อาจเลือกการผ่าตัดหัวใจโดยใช้หุ่นยนต์ช่วย ขั้นตอนนี้เป็นการผ่าตัดหัวใจที่มีการลุกล้ำน้อยที่สุดโดยใช้เครื่องมือหุ่นยนต์ ในบางกรณี แพทย์อาจใช้กระบวนการที่มีการลุกล้ำน้อยกว่าในการแก้ไขลิ้นหัวใจที่ได้รับผลกระทบผ่านการใช้สายสวน ในขั้นตอนเหล่านี้ อาจใช้คลิป ปลั๊ก หรืออุปกรณ์อื่นๆ ลิ้นจะถูกเปลี่ยนระหว่างขั้นตอนการใส่สายสวน ปัจจุบันมีการใช้วิธีการใส่สายสวนเพื่อทดแทนหรือซ่อมแซมลิ้นหัวใจ
 
ตัวเลือกการผ่าตัดที่มักใช้มีดังนี้:
  • การซ่อมแซมลิ้นหัวใจ: ในบางกรณี แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเลือกใช้การซ่อมแซมลิ้นหัวใจเพื่อรักษาลิ้นหัวใจและรักษาการทำงานของหัวใจ ในขั้นตอนนี้ ศัลยแพทย์อาจแยกเนื้อเยื่อลิ้นที่รวมกันออก เปลี่ยนสายที่ค้ำลิ้น กำจัดเนื้อเยื่อลิ้นวนเกิน ดังนั้นเนื้อเยื่อจึงสามารถปิดสนิทและปิดสนิทรวมทั้งซ่อมแซมรูในลิ้นได้ นอกจากนี้ วงแหวนรอบลิ้นหรือวงแหวนอาจถูกทำให้แน่นโดยการฝังแหวนเทียม
  • เปลี่ยนลิ้นหัวใจ: ในกรณีที่ไม่สามารถซ่อมแซมลิ้นได้ จะทำการเปลี่ยนลิ้นหัวใจใหม่ ในขั้นตอนนี้ ลิ้นที่เสียหายจะถูกนำออกและแทนที่ด้วยลิ้นเทียม ในบางกรณี ลิ้นทางชีวภาพหรือเนื้อเยื่อจะทำจากเนื้อเยื่อหัวใจที่เป็นของวัว สุกร หรือมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ลิ้นเนื้อเยื่อชีวภาพสามารถเสื่อมสภาพเมื่อเวลาผ่านไป และจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ ผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจเทียมมักต้องการยาทำให้เลือดบางไปตลอดชีวิตเพื่อป้องกันลิ่มเลือด ก่อนทำหัตถการ ผู้ป่วยจะต้องปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแลเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของลิ้นแต่ละประเภท ในระหว่างกระบวนการให้คำปรึกษานี้ ผู้ป่วยจะต้องเลือกลิ้นที่เหมาะสมที่สุดกับสภาพของตนเอง ในบางกรณี แพทย์อาจเลือกใช้การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน (TAVR) ซึ่งเป็นขั้นตอนการผ่าตัดที่มีผลกระทบรุนแรงน้อยที่สุดเพื่อเปลี่ยนลิ้นที่เสียหาย ในขั้นตอนนี้จะใช้สายสวนและสอดเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ขาหรือหน้าอกของผู้ป่วย ท่อบางๆ นี้จะนำทางแพทย์ไปยังลิ้นหัวใจ การเปลี่ยนลิ้นทำได้โดยใช้สายสวน และปรับลิ้นให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

การเตรียมความพร้อมสำหรับการนัดหมาย:

ก่อนพบแพทย์ ขอแนะนำให้เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับอาการ ยา ทั้งหมด และคำถามที่จะปรึกษาแพทย์ ฯลฯ

สิ่งที่แพทย์มักปฏิบัติเมื่อเข้าพบ

คุณอาจถูกถามคำถามหลายชุด เช่น เมื่ออาการของคุณเริ่มต้น อาการของคุณรุนแรงแค่ไหน หรือสมาชิกในครอบครัวของคุณเป็นโรคนี้หรือไม่ เป็นต้น

ประวัติเจ้าของบทความ

ปิยะดา สุวรรณโรจน์ เป็นนักแปลอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์ และเชี่ยวชาญด้านการแปลสายการเงิน การตลาด ฯลฯ อีกด้วย ปัจจุบัน เป็นพนักงานฝ่ายการตลาด เป็นนักแปลฟรีแลนซ์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาภาษาอังกฤษ และมีผลงานการแปลบทความสัญญาและข้อตกลงต่าง ๆ ในบริษัท รวมไปถึงการแปลโฆษณาด้านการตลาด

15/06/2021
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว