เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / การปฐมพยาบาลเบื้องต้น: กรณีงูไม่ทราบชนิดกัด
โดย : ชวลิต สุนันทวดี
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น: กรณีงูไม่ทราบชนิดกัด

งูกัดเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ในประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นราว 7.9 คนต่อหนึ่งแสนคนต่อปี และบ่อยครั้งที่เมื่อเกิดงูกัด จะยังไม่ทราบทันทีว่า งูที่กัดเป็นงูอะไร เนื่องจากไม่สามารถหางูที่กัดเจอ เพราะแพทย์จะทราบได้ก็ต่อเมื่อจะต้องนำงูที่กัดนั้นมาด้วย อย่างไรก็ตาม งูกัดส่วนใหญ่ในเมืองไทยมักเป็นงูไม่มีพิษ ในบางรายอาจจะเห็นรอยไหม้หรือบวม รอบบริเวณรอยกัดภายใน 5 นาทีหลังงูกัด

อาการและอาการแสดงเมื่อโดนงูไม่ทราบชนิดกัด

  • อาเจียนเป็นเลือด หรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระหรือปัสสาวะ
  • วิงเวียนศีรษะ มึนงง มีอาการอ่อนแรง ล้มพับและช็อก
  • เลือดออกภายในช่องปาก จมูก และบาดแผลต่าง ๆ
  • กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการหายใจติดขัดได้

ข้อควรปฏิบัติ

ผู้ที่โดนกัดควรพบแพทย์ ณ สถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด แม้ว่าจะมีอาการดังที่กล่าวไว้ข้างต้นเพียงเล็กน้อยก็ตาม เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบว่างูได้พ่นพิษผ่านรอยกัดนั้นหรือไม่ หรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ควรเข้ารับการรักษาเมื่อใด

ควรโทรหาแพทย์ทันที หากผู้ป่วยเกิดอาการดังต่อไปนี้

  • พบรอยบวมเลือด หรือม่วงคล้ำ บริเวณรอยกัด
  • มีรอยไหม้หรือรู้สึกปวดบริเวณรอยกัด
  • พบรอยกัด (รอยเขี้ยว) หนึ่งหรือสองรอย
  • เกิดอาการบวมบริเวณที่โดนกัด
  • ผู้ที่โดนกัดมีอาการป่วย หรือกรณีที่ท่านคิดว่าจำเป็นต้องพบแพทย์

การป้องกัน

  • ใช้ไม้เท้าเดินป่าเคาะให้สัญญาณล่วงหน้า ณ จุดรกทึบ งูมักจะหลีกหนี หากได้รับสัญญาณเตือนที่เพียงพอ
  • หากท่านเดินป่าบ่อย ควรจัดซื้อชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับเหตุงูกัด และไม่ควรใข้อุปกรณ์ชุดเก่า
  • หลีกเลี่ยงบริเวณกองหินหรือกองไม้ต่าง ๆ ที่งูอาจซ่อนตัวอยู่
  • เลี่ยงการสัมผัสหรือเล่นกับงู แม้งูส่วนใหญ่จะไม่มีพิษก็ตาม หากท่านไม่ได้รับการฝึกอย่างถูกต้องมาก่อน
  • อย่าแหย่งูเล่น เพราะอาจทำให้งูฉกได้
  • ควรสวมกางเกงขายาวและรองเท้าบูท หากต้องเดินเข้าพื้นที่ที่มีงูอยู่

อ่านเพิ่มเติม:

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

ปฐมพยาบาลให้ถูกวิธีเมื่อถูกงูกัด

ทบทวนวิธีปฐมพยาบาลที่ถูกต้องเมื่อถูกงูพิษกัด

เกี่ยวกับผู้แปล

ชวลิต สุนันทวดี จบการศึกษาปริญญาตรีรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีความชื่นชอบภาษาต่างประเทศ

มีความเชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารอันทรงพลัง ในการขับเคลื่อนโลกที่เต็มไปด้วยความหลากหลายมิติ ทั้งทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ และยังเป็นหนทางสู่สันติและเสรีภาพสำหรับพลเมืองโลก

ปัจจุบัน เป็นนักแปลและล่ามอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์

04/02/2022
บทความที่เกี่ยวข้อง

กระดูกก้นกบ หรือ กระดูกสันหลังส่วนก้นกบ (Coccyx) เป็นกระดูกชิ้นเล็กที่อยู่ส่วนปลายของกระดูกสันหลังตอนล่าง บ่อยครั้งอาการบาดเจ็บของกระดูกก้นกบเกิดจากการล้มลงบนพื้นผิวที่แข็ง เช่น พื้นน้ำแข็งหรือบันได โดยปกติแล้วอาการเจ็บมีสาเหตุมาจากอาการฟกช้ำบริเวณกระดูกก้นกบและอาการตึงของเส้นเอ็น อาการกระดูกก้นกบร้าวนั้นเกิดขึ้นไม่บ่อยนักและสามารถหายเองได้ ดังนั้น การเอกซเรย์ (X-ray) จึงไม่จำเป็นนักสำหรับอาการบาดเจ็บประเภทนี้



CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว