เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / วัณโรค (Tuberculosis): อาการ สาเหตุและการรักษา
โดย : ธันยพัฒน์ สวนเมือง
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
วัณโรค (Tuberculosis): อาการ สาเหตุและการรักษา

วัณโรค เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส โดยปกติเชื้อวัณโรคจะส่งผลต่อปอด แต่เชื้อวัณโรคก็สามารถส่งผลต่อส่วนอื่นๆของร่างกายได้เช่นกัน เช่น ไต ไขสันหลัง และสมอง ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ผู้ป่วยวัณโรคก็อาจถึงแก่ชีวิตได้

ลักษณะอาการของวัณโรค

อาการของวัณโรคขึ้นอยู่กับว่าเกิดขึ้นที่ส่วนใดของร่างกาย เชื้อวัณโรคมักจะเกิดขึ้นที่ปอด หรือ (วัณโรคปอด) ซึ่งวัณโรคปอดมักมีอาการดังนี้ ไอเรื้อรังมากกว่า ๓ สัปดาห์ เจ็บหน้าอก ไอปนเลือดหรือมีเสมหะ (เสมหะลงลึกถึงปอด) นอกจากนี้อาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย ได้แก่ เหนื่อยง่ายหรืออ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หนาวสั่น มีไข้ เหงื่อออกตอนกลางคืน ส่วนลักษณะอาการของวัณโรคในส่วนอื่นๆของร่างกายขึ้นอยู่กับบริเวณที่ติดเชื้อ หากผู้ติดเชื้อวัณโรคอยู่ในระยะแฝงจะไม่มีอาการจ็บป่วย หรือแสดงอาการใดๆ และไม่สามารถแพร่เชื้อวัณโรคไปสู่ผู้อื่นได้

ข้อปฏิบัติ

หากคิดว่าคุณได้สัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรค ก็ควรที่จะไปพบแพทย์หรือสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อได้รับการทดสอบทูเบอร์คูลินทางผิวหนัง (TB skin test) หรือการตรวจทางเลือด อย่าลืมบอกแพทย์หรือพยาบาลว่าคุณคลุกคลีอยู่กับผู้ป่วยวัณโรคเมื่อไร สิ่งสำคัญที่ควรรู้ว่าผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคไม่สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ทันที เฉพาะคนที่มีอาการติดเชื้อวัณโรคในระยะแสดงอาการเท่านั้นจึงจะสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ก่อนที่คุณจะสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้นั้น คุณจะต้องสูดลมหายใจเอาเชื้อเข้าไปก่อนข้างในก่อน จากนั้นเชื้อจึงกระจายตัวภายในร่างกายและเกิดเป็นการติดเชื่อวัณโรคระยะแสดงอาการ ซึ่งในระยะนี้เป็นช่วงที่สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ มีความเป็นไปได้มากทีเดียวที่ผู้ป่วยวัณโรคจะแพร่เชื้อไปสู่บุคคลที่ใช้เวลาอยู่ด้วยกันทุกๆวัน เช่น สมาชิกในครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน

การป้องกัน

วัคซีนบาซิลลัสกาลแม็ต-เกแร็ง (หรือวัคซีน BCG) เป็นวัคซีนป้องกันวัณโรคที่มักจะฉีดในเด็กแรกเกิดและเด็กเล็กในบางประเทศที่มีความชุกของวัณโรค ซึ่งวัคซีนบีซีจีนี้ก็ไม่สามารถป้องกันวัณโรคได้เสมอไป วัคซีนบีซีจีควรพิจารณาให้ฉีดเฉพาะเด็กที่มีผลตรวจทูเบอร์คูลินเป็นลบ เด็กที่สัมผัสเชื้ออย่างต่อเนื่อง และเด็กที่ไม่สามารถแยกตัวจากผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับการักษาหรือรับการรักษาวัณโรคที่ไม่มีประสิทธิภาพ และเด็กที่ไม่ได้รับการรักษาการติดเชื้อวัณโรคในขั้นต้น หรือมีเชื้อวัณโรคที่ต่อต้านฤทธิ์ยา isoniazid และ rifampicin สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ควรที่จะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือประโยชน์ที่เกี่ยวกับวัคซีนบีซีจีและการรักษาการติดเชื้อวัณโรคในระยะแฝง

ข้อแนะนำอื่น ๆ เพิ่มเติม

  • ป้องกันการสัมผัสเชื้อวัณโรคขณะเดินทางต่างประเทศโดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคในที่แออัดหรือสิ่งแวดล้อมปิด
  • หากเป็นผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคในระยะแฝงและเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น ติดเชื้อ HIV เคยติดเชื้อวัณโรคมาก่อน ติดยาเสพติด หรือผู้สูงอายุ ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งเพื่อไม่ให้กลายเป็นผู้ป่วยวัณโรค

เกี่ยวกับผู้แปล

ธันยพัฒน์ สวนเมือง จบการศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ เคยเป็นครูสอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันเปลี่ยนมาทำงานในองค์กรบังคับใช้กฎหมาย

ปัจจุบัน ธันยพัฒน์ สวนเมือง เป็นนักแปลและล่ามอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์

02/03/2022
บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อมีการแจ้งเหตุงูกัด การระบุชนิดของงูที่กัดในบางครั้งก็อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากงูตัวดังกล่าวอาจจะหนีหายไปก่อนที่จะแจ้งเหตุ


กระดูกก้นกบ หรือ กระดูกสันหลังส่วนก้นกบ (Coccyx) เป็นกระดูกชิ้นเล็กที่อยู่ส่วนปลายของกระดูกสันหลังตอนล่าง บ่อยครั้งอาการบาดเจ็บของกระดูกก้นกบเกิดจากการล้มลงบนพื้นผิวที่แข็ง เช่น พื้นน้ำแข็งหรือบันได โดยปกติแล้วอาการเจ็บมีสาเหตุมาจากอาการฟกช้ำบริเวณกระดูกก้นกบและอาการตึงของเส้นเอ็น อาการกระดูกก้นกบร้าวนั้นเกิดขึ้นไม่บ่อยนักและสามารถหายเองได้ ดังนั้น การเอกซเรย์ (X-ray) จึงไม่จำเป็นนักสำหรับอาการบาดเจ็บประเภทนี้


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว