เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ภาวะเป็นพิษจากปลามีพิษ (Venomous Fish Reactions): อาการ สาเหตุและการรักษา
โดย : สิตานันท์ สังวาลย์วรกุล
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
ภาวะเป็นพิษจากปลามีพิษ (Venomous Fish Reactions): อาการ สาเหตุและการรักษา

ภาวะเป็นพิษจากปลามีพิษคืออะไร

ปลาที่มีเงี่ยงมักจะมีพิษอยู่ในกระดูกสันหลัง ปลากระเบนก็มีหนามพิษเป็นจำนวนหนึ่งหรือมากกว่าบนหางของมัน และยังก่อให้เกิดแผลฉีกขาดบ่อยครั้งเนื่องจากการโจมตีที่รุนแรง

อาการและสาเหตุ

การโดนหนามจากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ตำจะทำให้มีรอยแดงและปวดบริเวณที่โดนตำ และมักจะก่อให้เกิดอาการอ่อนแรง เหงื่อออก มีไข้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ อัมพาต หรือแม้กระทั่งช็อคได้ 

วิธีการรักษา

พิษจากปลาเหล่านี้สามารถถูกกำจัดได้ด้วยความร้อน ดังนั้นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นควรเริ่มจากการล้างบริเวณที่โดนตำด้วยน้ำทะเลจำนวนมากเพื่อทำให้พิษเจือจางลง นำชิ้นส่วนของกระดูนสันหลังปลากระเบนที่เหลือออกจากบาดแผล และแช่บริเวณที่โดนตำในน้ำร้อน (อุณหภูมิ 110 – 114 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 43 – 45 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 30 นาที น้ำร้อนจะทำให้พิษจากปลามีพิษหรือหอยเม่นอ่อนลงและช่วยลดความเจ็บปวดได้ 

ทั้งนี้คุณควรพบแพทย์ทันทีหากอาการทั่วไปของคุณรุนแรงมากขึ้น และในกรณีที่ได้รับพิษจากปลากระเบน คุณต้องรีบพบแพทย์หากผิวของคุณฉีกออกจากกัน หรือต้องนำเงี่ยงและหนามออกจากบาดแผลของคุณ

ข้อแนะนำอื่นๆ เพิ่มเติม

วิธีการปกป้องตนเองที่ดีที่สุดคือการออกห่างจากชีวิตใต้ทะเล เมื่อคุณไปชายหาด ให้อ่านป้ายคำเตือนเกี่ยวกับแมงกระพรุนหรือสัตว์ทะเลอันตรายทั้งหลายในบริเวณนั้น เมื่อคุณมีเลือดไหล ให้ออกห่างจากเรือตกปลาและน้ำทะเลเพราะเลือดของคุณจะดึงดูดฉลามที่อยู่ไกลเป็นไมล์มาได้ 

หากคุณกำลังเดินในบริเวณน้ำตื้น การเดินลากเท้าสามารถช่วยคุณหลีกเลี่ยงการเหยียบเท้าลงบนสัตว์ที่อาจมีพิษได้ และคุณไม่ควรจับสัตว์ทะเลรวมถึงชิ้นส่วนของพวกมัน ถึงแม้จะมาจากสัตว์ที่ตายไปแล้วก็ตาม 

การสวมเสื้อผ้าหรือรองเท้าลงน้ำสามารถช่วยปกป้องคุณจากการโดนหนามจากสัตว์ทะเลตำหรือข่วนได้ แต่ก็อย่าลืมว่าสัตว์ที่มีหนามแหลมคมสามารถตัดผ่านรองเท้าและชุดว่ายน้ำของคุณได้เช่นเดียวกัน

เกี่ยวกับผู้แปล

สิตานันท์ สังวาลย์วรกุล จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเอกโครงการอังกฤษ-อเมริกันศึกษา ปัจจุบันทำงานในองค์กร NGO ตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ ซึ่งต้องใช้ทักษะในการแปลเอกสารเสมอ นอกจากนี้ยังมีความสนใจในการเป็นนักแปลอาชีพสายกฎหมายและแพทย์ จึงได้เข้าร่วมการอบรบการแปลของชมรมนักแปลและล่ามอาชีพ หลักสูตรการแปลเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย

ปัจจุบัน สิตานันท์ สังวาลย์วรกุล เป็นนักแปลอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์

02/03/2022
บทความที่เกี่ยวข้อง


เมื่อมีการแจ้งเหตุงูกัด การระบุชนิดของงูที่กัดในบางครั้งก็อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากงูตัวดังกล่าวอาจจะหนีหายไปก่อนที่จะแจ้งเหตุ


กระดูกก้นกบ หรือ กระดูกสันหลังส่วนก้นกบ (Coccyx) เป็นกระดูกชิ้นเล็กที่อยู่ส่วนปลายของกระดูกสันหลังตอนล่าง บ่อยครั้งอาการบาดเจ็บของกระดูกก้นกบเกิดจากการล้มลงบนพื้นผิวที่แข็ง เช่น พื้นน้ำแข็งหรือบันได โดยปกติแล้วอาการเจ็บมีสาเหตุมาจากอาการฟกช้ำบริเวณกระดูกก้นกบและอาการตึงของเส้นเอ็น อาการกระดูกก้นกบร้าวนั้นเกิดขึ้นไม่บ่อยนักและสามารถหายเองได้ ดังนั้น การเอกซเรย์ (X-ray) จึงไม่จำเป็นนักสำหรับอาการบาดเจ็บประเภทนี้

CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว