เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / โรคไข้เหลือง (Yellow Fever): สาเหตุ อาการและการรักษา
โดย : สมิตา รุ่งอรุณ
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
โรคไข้เหลือง (Yellow Fever): สาเหตุ อาการและการรักษา

ไวรัสโรคไข้เหลืองมักพบในเขตร้อนแถบทวีปอเมริกาใต้และแอฟริกา เชื้อไวรัสสามารถติดต่อสู่คนได้ด้วยการกัดของยุงที่ติดเชื้อ โรคถูกวินิจฉัยตามอาการ การค้นพบทางร่างกาย การทดสอบจากห้องทดลองและประวัติการเดินทาง รวมถึงความเป็นไปได้ของการติดต่อจากยุงที่เป็นพาหะ โรคไข้เหลืองยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงซึ่งการดูแลจะขึ้นอยู่กับอาการ 

โรคไข้เหลืองมีสัญญาณและอาการอะไรบ้าง

อาการของโรคประกอบไปด้วย:

       คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อด้วยโรคไม่มีอาการเจ็บป่วยหรือป่วยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในกลุ่มคนที่มีอาการระยะการฟักตัว (ตั้งแต่ติดเชื้อจนกระทั่งเจ็บป่วย)โดยทั่วไปแล้วประมาณ 3-6 วัน อาการแรกเริ่มคือเป็นไข้ฉับพลัน หนาวสั่น ปวดหัวรุนแรง ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้และอาเจียน อ่อนแรงและอ่อนเพลีย ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อาการดีขึ้นหลังผ่านช่วงอาการแรกเริ่ม หลังอาการทุเลาลงในช่วงชั่วโมงถึง 1 วันประมาณ 15% ของเคสผู้ติดเชื้อมีการพัฒนารูปแบบของโรคที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งมีลักษณะมีไข้สูง ภาวะตัวเหลือง มีเลือดออก และท้ายที่สุดมีการช็อคและการทำงานของอวัยวะหลายส่วนล้มเหลว

วิธีการรับมือ

ควรปฏิบัติตนอย่างไร

       ยังไม่มีการรักษาเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วยโรคไข้เหลือง หากเป็นไปได้ผู้ป่วยควรรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อการดูแลและสังเกตุอาการอย่างใกล้ชิด การรักษาเป็นเป็นไปตามอาการ การพักผ่อน ดื่มน้ำ และการใช้ยาแก้ปวดปวดและยารักษาโรคเพื่อลดไข้ในการบรรเทาอาการปวดและไข้ หลีกเหลี่ยงยาบางกลุ่ม เช่น ยาแก้ปวด หรือยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (เช่น ไอบูโพรเฟนและนาพรอกเซน) ซึ่งอาจไปช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเลือดออก ผู้ป่วยโรคไข้เหลืองควรได้รับการปกป้องจากยุงทุกชนิด (อยู่ในที่ร่มหรืออยู่ในมุ้ง)ในช่วงแรกของการเจ็บป่วย วิธีนี้จะช่วยให้ไวรัสในกระแสเลือดของผู้ป่วยไม่สามารถติดต่อสู่ยุงที่ยังไม่ติดเชื้อเพื่อหยุดวงจรการแพร่เชื้อและลดความเสี่ยงการติดต่อสู่คนรอบข้าง

การป้องกันโรค

สามารถหลีกเหลี่ยงได้อย่างไร

การป้องกันโรคไข้เหลือง:

หลีกเลี่ยงการโดนยุงกัด:

       ใช้ยากันยุงเมื่อต้องออกกลางแจ้งให้ใช้ยากันยุงที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม เช่นยาที่มีสารประกอบดีอีอีที ไพคาริดิน ไออาร์3535 หรือน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส ลงบนผิวหนังส่วนที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม แม้จะเป็นระยะเวลาสั้นๆที่อยู่ด้านนอกแต่ก็นานพอที่จะทำให้ถูกยุงกัด สวมเสื้อผ้าที่เหมาะสมเพื่อลดการโดนยุงกัด เมื่อสภาพอากาศเอื้ออำนวยสวมใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และถุงเท้าตอนอยู่กลางแจ้ง ยุงอาจกัดทะลุเสื้อที่บางดังนั้นให้ฉีดยากันยุงที่มีส่วนผสมของเพอร์เมทรินหรือสารป้องกันอื่นๆที่ได้รับการจดทะเบียนกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยเพิ่มการป้องกัน เสื้อผ้าที่เคลือบสารเพอร์มิทรินมีจำหน่ายทั่วไปแต่ยากันยุงที่มีส่วนผสมของสารเพอร์มิทรินนั้นไม่ถูกรับรองให้ใช้กับผิวหนังโดยตรงระวังชั่วโมงยุงชุม ช่วงเวลาที่มีการกัดของยุงหลายสายพันธ์มากที่สุดคือช่วงค่ำถึงรุ่งสาง อย่างไรก็ตามหนึ่งในยุงที่แพร่เชื้อไวรัสไข้เหลืองอย่างยุงลายนั้นหาอาหารช่วงเวลากลางวันให้ระวังมากขึ้นด้วยการใช้ยากันยุงและเสื้อผ้าที่ป้องกันในช่วงกลางวันเช่นเดียวกับช่วงเย็นและช่วงใกล้เช้า การอยู่ในที่พักอาศัยที่มีลักษณะเป็นห้องปิดหรือมีเครื่องปรับอากาศโดยเฉพาะช่วงที่ยุงชุมช่วยลดความเสี่ยงต่อการโดนยุงกัดได้

เกี่ยวกับผู้แปล

       สมิตา รุ่งอรุณ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสำนักวิชาศิลปศาสตร์สาขาภาษาอังกฤษ มีความสนใจทางด้านการแปลตั้งแต่เริ่มเรียนการแปลภาษาอังกฤษ-ไทยเบื้องต้นในรายวิชาของสาขา และลองทักษะของตัวเองจากการเข้าทดสอบการแปลบทความทางการแพทย์ของบริษัทสัญชาติไต้หวัน เพื่อศึกษาและพัฒนาทักษะการแปลเพิ่มเติมได้เข้าร่วมการอบรมหลักสูตรการแปลเอกสารภาษาอังกฤษเป็นไทย รุ่นที่ 3

ปัจจุบัน สมิตา รุ่งอรุณ เป็นนักแปลและล่ามอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์

02/03/2022
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว