เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / โรคฝีดาษ (Smallpox): สาเหตุ อาการและการรักษา
โดย : ธีธัช กันยุบล
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
โรคฝีดาษ (Smallpox): สาเหตุ อาการและการรักษา

โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ (Smallpox) คือ โรคที่เกิดจากไวรัส ทำให้เกิดอาการ ไข้ และ ผื่นผิวหนังลุกลามอย่างเด่นชัด เป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน และ สามารถติดต่อสู่กันได้ และในบางกรณี สามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้

อาการและอาการแสดงของโรคฝีดาษ

อาการของโรคฝีดาษเริ่มต้นด้วย ไข้สูง ปวดศีรษะ และ ปวดตามตัว ในบางครั้ง อาจมีอาการอาเจียน จากนั้นจะมีผื่นตามมา ซึ่งจะกระจายลุกลามไปทั่วตัว กลายเป็นติ่งนูน และ เป็นตุ่มหนองพองออก ซึ่งจะตกสะเก็ดเป็นแผ่น และ หลุดออก หลังจากผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์ โดยทิ้งรอยแผลเป็นไว้

สาเหตุของการเกิดโรคฝีดาษ

เกิดจากไวรัสวาริโอลา (Variola virus) (อยู่ในกลุ่มของสกุล ไวรัสออร์โธพอกซ์ (orthopoxvirus))

วิธีการรักษาหรือป้องกันโรคฝีดาษ

ยังไม่มีการรักษาใดที่พิสูจน์ว่าสามารถรักษาโรคฝีดาษได้ แต่การวิจัยเพื่อประเมินยาต้านไวรัสตัวใหม่ยังคงดำเนินต่อไป จากผลการศึกษาทางห้องปฏิบัติการในช่วงเริ่มแรก ได้แนะนำว่า ยา ซิโดโฟเวียร์ (cidofovir) อาจต้านไวรัสโรคฝีดาษได้ ในปัจจุบัน การศึกษาในสัตว์ทดลอง ทำให้เข้าใจถึงคุณสมบัติของตัวยานี้ที่จะนำมาใช้ในการรักษาโรคฝีดาษมากยิ่งขึ้น (การใช้ซิโดโฟเวียร์ในการรักษา โรคฝีดาษ หรือ ปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อโรคฝีดาษ ควรได้รับการประเมิน และ ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญจาก สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (The National Institutes of Health, NIH) และ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention, CDC)) ผู้ป่วยโรคฝีดาษอาจได้ประโยชน์จากการบำบัดแบบประคับประคองตามอาการ (เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การให้ยาบรรเทาไข้ หรือ ยาบรรเทาอาการปวด) และ ยาปฏิชีวนะสำหรับป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียทุติยภูมิที่อาจเกิดขึ้น

การป้องกันโรคฝีดาษ ทำได้โดย การฉีดวัคซีนโรคฝีดาษ ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคฝีดาษ ในปี ค.ศ. 1980 ได้ประกาศว่า โรคฝีดาษ ได้ถูกกำจัดให้หมดไปจากโลกแล้ว ตามโครงการการฉีดวัคซีนทั่วโลก

หากคิดว่ากำลังป่วยเป็นโรคฝีดาษ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

คำแนะนำเพิ่มเติม

สำหรับคนโดยส่วนใหญ่ วัคซีนโรคฝีดาษมีความปลอดภัย และ มีประสิทธิภาพ แต่อาจรู้สึกถึงปฏิกิริยาการตอบสนองต่อวัคซีนแบบไม่รุนแรง และ พบได้ทั่วไปโดยปกติ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการที่วัคซีนกำลังกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่ในบางคนอาจรู้สึกถึงปฏิกิริยาการตอบสนองที่อาจต้องได้รับการรักษา

อย่างไรก็ตาม อาจมีบางคนที่ไม่ควรได้รับวัคซีนโรคฝีดาษ ได้แก่ 1) เคยมีอาการแพ้อย่างรุนแรงจนอันตรายถึงชีวิต หลังจากที่ได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของ บาดทะยัก หรือ คอตีบ ในครั้งก่อน 2) แพ้ส่วนประกอบของวัคซีนอย่างรุนแรง หรือ 3) มีข้อควรระวังที่ไม่ควรได้รับวัคซีนบาดทะยัก (Tetanus vaccine, Td vaccine) ให้แจ้งบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้วัคซีนเกี่ยวกับอาการแพ้อย่างรุนแรงใด ๆ ดังข้างต้น

ให้แจ้งแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ 1) มีอาการชัก หรือ มีปัญหาทางระบบประสาทอื่น ๆ 2) เคยมีอาการ ปวด หรือ บวม อย่างรุนแรง หลังจากที่ได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของ บาดทะยัก หรือ คอตีบ 3) เคยมีภาวะที่เข้าได้กับ กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barré syndrome, GBS) หรือ 4) รู้สึกไม่สบายในวันที่นัดหมายฉีดวัคซีนโรคฝีดาษ

ประวัตินักแปล

ธีธัช กันยุบล เป็น เภสัชกรโรงพยาบาล ประจำโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง มีประสบการณ์ การแปล และ การเขียนบทความวิชาการทาง เภสัชศาสตร์ และ การแพทย์ สำเร็จการศึกษาหลักสูตร เภสัชศาสตรบัณฑิต สอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น ได้ระดับ N2 และ สอบเทียบระดับภาษาอังกฤษ จัดโดย Cambridge English Placement Test ได้ระดับ CEFR B1

ปัจจุบัน เป็นนักแปลและล่ามอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์

04/03/2022
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว