เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / แมงมุมกัด (Spider Bites): อาการ สาเหตุและวิธีการรักษา
โดย : ธมลวรรณ สุภานุกานนท์
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
แมงมุมกัด (Spider Bites): อาการ สาเหตุและวิธีการรักษา

ถึงแม้ว่ารอยกัดของแมงมุมส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตราย แต่ก็มีโอกาสที่จะเป็นแมงมุมแม่หม้ายสีดำ สัญญาณบ่งชี้และอาการเมื่อถูกแมงมุมที่ไม่ทราบชนิดกัดนั้นมีหลายอย่าง ควรรีบพบแพทย์โดยทันทีเมื่อรู้สึกไม่สบายใจ

วิธีดูแลเบื้องต้นเมื่อถูกแมงมุมไม่ทราบชนิดกัด

ล้างดูแลทำความสะอาดอย่างทั่วถึงด้วยสบู่และน้ำ ให้ติดต่อแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการปวดแสบปวดร้อนหรือเจ็บบริเวณที่ถูกกัด กล้ามเนื้อบริเวณที่ถูกกัดหดเกร็ง หรือเมื่อลูกของคุณมีอาการป่วย และพยายามจับแมงมุมใส่กระปุก (ไม่ว่าจะจับเป็นหรือจับตาย) และนำไปที่คลินิกด้วย พยายามอย่าตีจนไม่เหลือสภาพเดิม

สามารถติดต่อแพทย์ได้ในภายหลังเมื่อรอยกัดเปลี่ยนเป็นแผลพุพองหรือรอยจ้ำสีม่วง มีอาการปวดอย่างต่อเนื่อง หรือเมื่อลูกของคุณเริ่มมีอาการแย่ลง

วิธีหลีกเลี่ยงการโดนแมงมุมกัด

หลีกเลี่ยงการทำงานใกล้กองไม้ กองหิน กองขยะ หน้าต่างใต้ดิน หรือมุมมืดภายนอกอาคารโดยที่ไม่สวมถุงมือ ฉีดยาฆ่าแมลงบริเวณที่พบเห็นแมงมุมแม่หม้าย โดยปกติแล้วแมงมุมจะเข้ามาภายในเมื่ออากาศเริ่มหนาว ป้องกันการอพยพของแมงมุมมาสู่บ้านของคุณโดยการซ่อมรอยแตกและฉีดยาฆ่าแมลงใกล้ ๆ ประตูด้านนอก

ธมลวรรณ สุภานุกานนท์ จบการศึกษาจากสาขาวิชาภาษาเยอรมัน โทภาษาอังกฤษ เริ่มเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการทำงานในสำนักงานกฎหมาย ควบคู่ไปกับการเรียนปริญญาตรีภาคบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ และผ่านการอบรมการแปลของชมรมนักแปลและล่ามอาชีพ (Professional Translators  and Interpreters Society) หลักสูตรการแปลเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย รุ่นที่ 3 (Intermediate Level)

ปัจจุบัน ธมลวรรณ สุภานุกานนท์ เป็นนักแปลและล่ามอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์

05/03/2022
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว