เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / กลุ่มอาการแสบร้อนในช่องปาก: สาเหตุ อาการและการรักษา
โดย : ธวัชชัย นาอุดม
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
กลุ่มอาการแสบร้อนในช่องปาก: สาเหตุ อาการและการรักษา

กลุ่มอาการแสบร้อนในช่องปากคืออะไร

อาการแสบร้อนในปากเป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยมีอาการเฉพาะเกี่ยวกับความรู้สึกผิดปกติของเยื่อบุช่องปากคล้ายถูกลวกบริเวณส่วนหน้าของปากและส่งผลต่อริมฝีปากด้านใน เพดานปาก ด้านข้างและปลายลิ้นในผู้ป่วยส่วนใหญ่ ในขณะที่อาจส่งผลบริเวณลิ้นเท่านั้นในผู้ป่วยบางราย อย่างไรก็ตามอาจเกิดอาการร่วมกันได้ในบริเวณดังกล่าว โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือการรับรู้รสชาดลดลงในผู้ป่วยบางราย (รสขมและรสเค็ม) และอาจรู้สึกว่าปากแห้งหรือเหนียวในผู้ป่วยรายอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ในทุกกรณี เยื่อบุช่องปากจะดูเป็นปกติในทางคลินิก

อาการและอาการแสดงของกลุ่มอาการแสบร้อนในช่องปากคืออะไร

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคแสบร้อนในช่องปากคือสตรีวัยหมดประจำเดือน โดยผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนปานกลางถึงรุนแรงที่ลิ้น เพดานปาก ริมฝีปาก เหงือก หรือภายในแก้ม ซึ่งอาการจะเริ่มเริ่มต้นในตอนเช้าและแสดงอาหารสูงสุดในตอนเย็น และค่อยๆ หายไปในตอนกลางคืน ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการแสบร้อนตลอดเวลา หรือมีอาการเป็นช่วง ๆ  โดยอาการอื่นๆ อาจรวมถึงอาการชาหรือรู้สึกซ่าที่ปากหรือลิ้น รู้สึกขมหรือมีรสโลหะในปาก รวมถึงปากแห้งหรือเจ็บ ซึ่งผู้ป่วยมักอธิบายอาการแสบร้อนในช่องปากว่ารู้สึกเหมือนลวกปากด้วยอาหารหรือเครื่องดื่มร้อน ทั้งนี้อาจมีอาการหรืออาการแสดงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ

  • การรักษา สามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้โดย
  • จิบน้ำบ่อยๆ
  • ดูดน้ำแข็งบด
  • เคี้ยวหมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล - ช่วยให้คุณผลิตน้ำลายได้มากขึ้น ซึ่งช่วยให้ปากไม่แห้ง
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ปากระคายเคือง เช่น อาหารร้อนและเผ็ด น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ หรือผลไม้และน้ำผลไม้ที่เป็นกรด
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ยาสูบและแอลกอฮอล์

ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์หรือทันตแพทย์หากมีอาการ เนื่องจากอาการแสบร้อนในช่องปากนั้นสัมพันธ์กับภาวะทางการแพทย์อื่นๆ มากมาย แพทย์หรือทันตแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยพบผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ  เช่น แพทย์ผิวหนัง แพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านปัญหาหู จมูก และคอ หรือแพทย์ประเภทอื่น

 โดยในขั้นแรก ทันตแพทย์จะสามารถตรวจสอบได้ว่าสาเหตุมาจากสาเหตุทางทันตกรรมหรือไม่ เช่น ฟันปลอมหรือ "ปากแห้ง" หากใช่ ทีมทันตกรรมจะตรวจสอบความพอดีของฟันปลอมของคุณ (ถ้าคุณใส่) และยังสามารถดูว่าคุณมีอาการแพ้วัสดุที่ทำขึ้นหรือไม่ ทีมทันตกรรมยังสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์เพื่อบรรเทาอาการปากแห้งหรือกำจัดการติดเชื้อราได้อีกด้วย

หากไม่พบสาเหตุทางทันตกรรม ทีมทันตกรรมอาจแนะนำให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์หรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นผู้ป่วยสามารถตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุของอาการแสบร้อนในช่องปากได้

การป้องกัน

ยังมีการป้องกันอาการแสบร้อนในช่องปากได้ แต่การหลีกเลี่ยงยาสูบ อาหารที่เป็นกรด อาหารรสเผ็ด และเครื่องดื่มอัดลม และความเครียดที่มากเกินไป อาจสามารถลดอาการแสบร้อนในช่องปาก หรือป้องกันไม่ให้อาการดังกล่าวแย่ลงกว่าเดิมได้

อ้างอิง

http://www.aaomp.org/public/burning-mouth.php

https://www.dentalhealth.org/tell-me-about/topic/mouth-conditions/burning-mouth-syndrome

http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/burning-mouth-syndrome/basics/preparing-for-your-appointment/con-20029596

ธวัชชัย นาอุดม จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและภูมิศาสตร์กายภาพ เริ่มเก็บประสบการณ์การแปลจากการแปลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม รวมถึงรายงานการประชุมที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อม และผ่านการอบรมของชมรมนักแปลและล่ามอาชีพ (Professional Translators and Interpreters Society) หลักสูตรอบรมการแปลเอกสารภาษาอังกฤษเป็นไทย รุ่นที่ 4 (Intermediate Level)

 

ปัจจุบัน ธวัชชัย นาอุดม เป็นนักแปลและล่ามอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์

02/05/2022
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว