เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / โรคฟันผุจากขวดนม: สาเหตุ อาการและการรักษา
โดย : ปีย์มนัส เกตุกั้น
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
โรคฟันผุจากขวดนม: สาเหตุ อาการและการรักษา

โรคฟันผุในเด็กทารก และเด็กเล็กมักถูกเรียกว่าโรคฟันผุจากขวดนม


โรคฟันผุจากขวดนมเกิดขึ้นเมื่อของเหลวรสหวาน หรือของเหลวที่มีน้ำตาลธรรมชาติ (เช่น นม นมผงดัดแปลงสำหรับทารก และน้ำผลไม้) เกาะติดกับฟันของทารกเป็นเวลานาน แบคทีเรียในช่องปากเจริญเติบโตด้วยการกินน้ำตาลนี้ และสร้างกรดที่ทำลายฟั ผลที่ได้คือฟันมีอาการเน่าเปื่อยรุนแรงอย่างรวดเร็ว รู้จักกันในชื่อโรคฟันผุจากขวดนม (BBTD)

อาการแสดง และอาการของโรคฟันผุจากขวดนมคืออะไร
ต่างจากฟันผุในผู้ใหญ่ ที่มักจะมองไม่ค่อยเห็น ฟันผุในเด็กเล็กมองเห็นได้อย่างชัดเจนที่บริเวณฟันหน้า แต่ผู้ปกครองนั้นใจเย็นไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงเพราะในระยะเวลาหลายเดือนฟันจะค่อย ๆ อ่อนแอลง และมองไม่เห็นความเสียหายของฟัน เมื่อชั้นเคลือบฟันที่คอยปกป้องฟันแตกออก กระบวนการฟันผุที่น่ากลัวก็เกิดเร็วขึ้น อาจมีอาการแสดง หรืออาการบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ

การรักษา
ขั้นตอนง่าย ๆ ไม่กี่ขั้นตอนที่สามารถช่วยป้องกันโรคฟันผุจากขวดนม รวมถึงการใช้ผลิตภัณพ์สุขอนามัยทางช่องปากที่ดีตั้งแต่อายุยังน้อย นี่คือขั้นตอน:

  • เช็ดเหงือกของทารกด้วยผ้าก๊อซชนิดแผ่น หรือผ้าสะอาดหลังให้นมในแต่ละครั้ง
  • เริ่มแปรงฟันให้ลูกของคุณโดยไม่ต้องใช้ยาสีฟัน เมื่อฟันน้ำนมซี่แรกของเขาหรือเธอโผล่ขึ้นมา
  • ทำความสะอาด และนวดเหงือกในบริเวณที่ไม่มีฟัน
  • ใช้ไหมขัดฟันเมื่อฟันน้ำนมขึ้นครบหมดแล้ว
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกของคุณได้รับฟลูออไรด์เพียงพอ ซึ่งจะช่วยลดอาการฟันผุได้ หากน้ำดื่มในท้องถิ่นของคุณไม่มีฟลูออไรด์ ให้ถามทันตแพทย์ หรือแพทย์ว่าลูกของคุณควรได้รับฟลูออไรด์ได้อย่างไร
  • จัดเวลาไปตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำตามวันเกิดปีแรกของลูกคุณ ทันตแพทย์ยังช่วยเสนอการเคลือบหลุมร่องฟันแบบพิเศษให้ ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคฟันผุในเด็กได้


ไม่มีคำว่าสายเกินไปที่จะเลิกนิสัยที่ไม่ดี หากลูกของคุณดื่มของเหลวที่มีรสหวานจากขวดและ/หรือหลับคาขวด ให้เลิกนิสัยเสียตอนนี้ และลดความเสี่ยงของโรคฟันผุจากขวดนมโดย:

  • ค่อย ๆ เจือจางโดยเทน้ำลงในขวดเป็นเวลา 2 ถึง 3 สัปดาห์
  • เมื่อครบระยะเวลาดังกล่าว ให้เติมเฉพาะน้ำลงในขวด
  • จำไว้ว่าฟันน้ำนมที่แข็งแรงจะนำไปสู่ฟันแท้ที่แข็งแรง


ฉันควรพบไปทันตแพทย์เมื่อไหร่
คุณอาจไม่ทราบว่าหลุมกำลังก่อตัวในฟันของลูกน้อยของคุณ นั่นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากว่าทำไมต้องมีการตรวจ และทำความสะอาดฟัน เมื่อลูกน้อยของคุณมีฟันของเขาหรือเธอโผล่ขึ้นมา อย่างไรก็ตาม หากคุณพบความผิดปกติใด ๆ คุณควรพาลูกน้อยของคุณไปพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด

การป้องกัน
เคล็ดลับการป้อนนมเพื่อป้องกันฟันผุ:

  • อย่าเติมของเหลวที่มีน้ำตาลสูงลงในขวดนมของลูกคุณ เช่น น้ำพันช์ เจลาติน หรือน้ำอัดลม
  • ให้ลูกของคุณนอนหลับกับขวดน้ำเปล่าเท่านั้น ไม่ใช่น้ำผลไม้ นม หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ
  • ให้เด็กอายุ 6 - 12 เดือนดูดนมผงดัดแปลงสำหรับทารกจากขวดเท่านั้น
  • เอาขวดนมออก หรือหยุดให้นมขณะที่ลูกของคุณนอนหลับ
  • หลีกเลี่ยงการปล่อยให้ลูกของคุณเดินไปมาโดยใช้ขวดที่มีน้ำผลไม้ หรือนมเป็นจุกนมปลอม หลีกเลี่ยงการใช้จุกนมหลอกเป็นเวลานาน และอย่าจุ่มจุกนมปลอมลงในน้ำผึ้ง น้ำตาล หรือน้ำเชื่อม
  • เริ่มสอนให้ลูกของคุณดื่มจากถ้วยเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน พยายามเลิกใช้ขวดเมื่ออายุ 12 - 14 เดือน
  • จำกัดน้ำผลไม้ให้น้อยกว่า 6 ออนซ์ต่อวันระหว่างมื้ออาหาร


เคล็ดลับในการดูแลฟันของลูกน้อยของคุณ

  • หลังการให้นมแต่ละครั้ง ให้เช็ดฟัน และเหงือกของลูกน้อยของคุณเบา ๆ ด้วยผ้าสะอาด หรือผ้าก๊อซแบบแผ่นเพื่อขจัดคราบพลัค
  • เริ่มแปรงฟันทันทีที่ลูกของคุณมีฟันขึ้น แปรงฟันด้วยกันอย่างน้อยก่อนนอน
  • หากคุณมีเด็กทารก หรือลูกวัยเตาะแตะ ให้บีบยาสีฟันที่ไม่ผสมฟลูออไรด์จำนวนเล็กน้อยลงบนผ้าขนหนู แล้วถูเบา ๆ ที่ฟันของพวกเขา คุณสามารถเปลี่ยนไปใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ เมื่อคุณแน่ใจว่าลูกของคุณคายยาสีฟันทั้งหมดออกหลังจากแปรงฟัน เด็กโตสามารถใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงไนลอนแบบนุ่ม ใช้ยาสีฟันในปริมาณที่เล็กน้อย (ไม่เกินขนาดของถั่ว)
  • เริ่มใช้ไหมขัดฟันสำหรับเด็กเมื่อฟันน้ำนม (เด็กน้อย) เกิดขึ้นมาทั้งหมด (โดยปกติอายุประมาณ 1 ขวบครึ่ง ถึง 2 ขวบ)
  • หากลูกน้อยของคุณอายุ 6 เดือนหรือมากกว่า ให้ใช้น้ำที่มีฟลูออไรด์ หรืออาหารเสริมที่มีฟลูออไรด์ หากคุณมีน้ำดื่มที่มีคุณภาพที่ไม่มีฟลูออไรด์ หากคุณใช้น้ำดื่มบรรจุขวด ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีฟลูออไรด์
  • ตรวจสอบฟันของลูกของคุณอย่างสม่ำเสมอ และเริ่มเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันเมื่อฟันน้ำนมทั้งหมดขึ้นครบ หรือเมื่ออายุ 2 หรือ 3 ขวบ ขึ้นอยู่กับว่ากรณีใดนั้นเกิดก่อน

ปีย์มนัส เกตุกั้น จบการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ ปัจจุบันเป็นนักแปลอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์ และเชี่ยวชาญทางด้านการแปลสายการตลาด วิศวกรรม แฟชั่น และซับไตเติ้ล

ปีย์มนัส ผ่านการฝึกอบรมทางด้านการแปลจากสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

31/10/2022
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว