เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ถั่วเหลือง (Soy)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ถั่วเหลือง (Soy)

สรรพคุณของถั่วเหลือง

 

ถั่วเหลืองสกัดจาดเมล็ดถั่วเหลือง ถั่วเหลืองใช้รักษาอาการเจ็บป่วยดังนี้:

  • ภาวะคลอเรสเตอรอลในเลือดสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • เบาหวานทั้ง 2 ประเภท
  • โรคหืด
  • มะเร็งในปอด
  • มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • มะเร็งไทรอยด์
  • โรคกระดูกพรุน (osteoporosis)
  • โรคไตเสื่อม
  • โรคท้องผูก
  • โรคท้องร่วง
  • โปรตีนในปัสสาวะเนื่องมากจากโรคไต
  • บำรุงความจำ
  • ปวดกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการออกกำลังกาย
  • ปวดหน้าอก
  • มะเร็งเต้านม
  • ภาวะร้อนวูบวาบหลังเป็นมะเร็งเต้านม
  • อาการของหญิงวัยหมดประจำเดือน
  • อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome (PMS))

ถั่วเหลือง อาจใช้ในการรักษาอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

กลไกการออกฤทธิ์:

ถั่วเหลืองมีสารประกอบไอโซฟลาโวนซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นสาร “ไฟโตอีสโตรเจน“  ซึ่งเป็นสารที่คล้ายคลึงกับฮอร์โมนเอสโตรเจน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

 

ข้อควรระวังและคำเตือน:

 

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ถั่วเหลือง:

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารถั่วเหลือง ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร แพ้นมหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

 

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารถั่วเหลืองนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

ถั่วเหลืองปลอดภัยหรือไม่:

เด็ก:

ถั่วเหลือง ปลอดภัยสำหรับเด็กเมื่อใช้ในปริมาณปกติที่พบในอาหารหรือผงนมสำหรับเด็กแรกเกิด

อย่าให้เด็กรับประทานถั่วเหลืองเกินขนาดที่มีในอาหารหรือนมผงทารก นักวิจัยยังไม่พบข้อสรุปว่าการที่เด็กรับประทานถั่วเหลืองปลอดภัยหรือไม่

 

ช่วงตั้งครรภ์หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตร:  

 

การใช้โปรตีนถั่วเหลือง ปลอดภัยเมื่อใช้ขณะตั้งครรภ์หรือระหว่างให้นมบุตรในปริมาณปกติ ซึ่งปริมาณนี้จะอยู่ในอาหารทั่วไป อย่างไรก็ตาม ถั่วเหลืองอาจจะไม่ปลอดภัยหากใช้ในปริมาณยา การได้รับปริมาณที่มากไปจะอันตรายกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้ ไม่มีการศึกษาที่เพียงพอว่าจะปลอดภัยหากได้รับในปริมาณที่สูงในขณะให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในปริมาณสูง

 

ผลข้างเคียง:

 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากถั่วเหลือง

 

ถั่วเหลือง อาจเป็นสาเหตุให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการท้องผูก ท้องอืด และคลื่นไส้ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุให้เกิดอาการแพ้เป็นผื่นคันและอาการคันในบางคน

ในบางราย อาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้ถั่วเหลือง

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา:

ถั่วเหลืองอาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้

 

ถั่วเหลืองอาจมีปฏิกิริยาต่อโรคซึมเศร้า (Medications for depression (MAOIs))

 

 

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยาระหว่างกับเต้าหู้

เต้าหู้ และซอสถั่วเหลือง จะประกอบด้วยสารไทรามีนและสารไทรามีน คือกรดอะมิโน ที่ช่วยในการปรับความดันเลือด สารไทรามีน จะทำลายการทำงานของยายับยั้งเอ็นไซม์

ยารักษาโรคซึมเศร้าบางอย่างสามารถลดการยับยั้งของ สารไทรามีนได้ การบริโภคสารไทรามีนมากกว่า 6 มิลลิกรัม ต่อการรับประทานยา 1 ครั้ง สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงได้มากขึ้น เช่น ความดันเลือดสูงเกินไป  โดยปกติปริมาณของสารไทรามีนในผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองหมักจะมีปริมาณในบางอย่างมีน้อยกว่า 0.6 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค อย่างไรก็ตาม อาจมีความแตกต่าง ขึ้นอยู่กับ ผลิตภัณฑ์แต่ละอย่าง การเก็บรักษา และระยะเวลาของการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ การเก็บเต้าหู้ไว้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ จะเพิ่มปริมาณสารไทรามีนจาก 0.23 มิลลิกรัม เพิ่มเป็น 4.8 มิลลิกรัมต่อหน่วยบริโภค หลีกเลี่ยงการรับประทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองหมักที่มีปริมาณของสารไทรามีนสูงหากมีการรักษาด้วยยาตัวนี้
บางยารักษาโรคที่ประกอบด้วย ยาฟีเนลซีน  ยาทรานิลไซโปรมีนและอื่นๆ

 

ยาปฎิชีวนะ

ยาปฎิชีวนะอาจลดจำนวนแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในลำไส้ แบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อลำไส้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของถั่วเหลืองโดยการลดจำนวนของแบคทีเรียในลำไส้ ยาปฎิชีวนะอาจลดประสิทธิภาพในการทำงานของถั่วเหลืองแต่ส่งผลอย่างช้าๆ

ฮอร์โมนเอสโตรเจน

ถั่วเหลืองในปริมาณมากจะให้ผลเดียวกันกับฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่ถั่วเหลืองนั้นจะไม่ออกฤทธิ์ชัดเจนเท่ายาเม็ดฮอร์โมนเอสโตรเจน การใช้ถั่วเหลืองร่วมกับยาเม็ดฮอร์โมนเอสโตรเจน อาจส่งผลให้ยาเม็ดฮอร์โมนเอสโตรเจน ออกฤทธิ์ยาได้น้อยลง

ยาเม็ดฮอร์โมนเอสโตรเจนบางตัวประกอบด้วยสารทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ได้จากธรรมชาติ เช่น พรีมาริน เอทินิล เอสตร้าไดออล เอสตร้าไดออล และอื่นๆ

 

ทาม็อกซิเฟน

มะเร็งบางชนิดเกิดขึ้นจากฮอร์โมนบางอย่างในร่างกาย มะเร็งที่เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจน คือมะเร็งที่เป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ทาม็อกซิเฟน ใช้ในการรักษาและป้องกันมะเร็งชนิดนี้ถั่วเหลือง มีผลต่อระดับเอสโตรเจนในร่างกาย ซึ่งผลดังกล่าวจะลดการออกฤทธิ์ของยา ทาม็อกซิเฟน ห้ามใช้ถั่วเหลืองร่วมกับยาทาม็อกซิเฟน

 

วอร์ฟาริน

วอร์ฟาริน ใช้ต้านการแข็งตัวของเลือด ถั่วเหลืองจะลดประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของยาวอร์ฟาริน  การที่วอร์ฟารินถูกกดการออกฤทธิ์ยานั้นจะทำให้เกิดความเสี่ยงให้เกิดการแข็งตัวของเลือดมากขึ้น ซึ่งอาจไม่เกิดปฏิกิริยาดังกล่าวเสมอไป ควรมีการตรวจเช็คเลือดเป็นประจำ ปริมาณยาที่ใช้ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม

ตัวยาถูกแปรสภาพโดยตับ

ตับจะเปลี่ยนฤทธิ์ยาหรือทำลายฤทธิ์ยารักษาโรคบางชนิด ถั่วเหลือง  อาจเพิ่มประสิทธิภาพของตับให้ทำลายฤทธิ์ของยาได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งไม่ได้มีการศึกษามากพอว่าปฏิกิริยานี้ว่าจะเกิดขึ้นกับทุกคนหรือไม่ หรือส่งผลกระทบกับการออกฤทธิ์ของตัวยาหรือไม่

ตัวยาบางอย่างจะถูกแปรสภาพโดยตับได้แก่ คาร์วีไดลอล ฟลูวาสแตติน ลอซาร์แทน เฟนิโทอิน และอื่นๆ

 

 

ปรึกษาแพทย์หากมีสภาวะร่างกายดังต่อไปนี้:

 

โรคซิสติก ไฟโบรซิส :

นมถั่วเหลืองจะส่งผลรบกวน ซิสติกไฟโบรซิส ในการผลิตโปรตีนในเด็ก ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองในเด็กที่มีอาการดังกล่าว

 

โรคมะเร็งเต้านม :

ไม่ได้มีข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับผลกระทบในการใช้ ถั่วเหลือง ในผู้ป่วยหญิงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งต้านม ผู้หญิงที่เคยมีประวัติการป่วยเป็นมะเร็งเต้านม หรืออยู่ในครอบครัวที่มีประวัติการป่วยโรคนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ถั่วเหลืองจึงจะดีที่สุด จนกว่าจะได้มีการศึกษามากกว่านี้

 

โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก :

จากใช้ยาไอโซฟลาโวนโปรตีนนมถั่วเหลืองเข้มข้นเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะก่อนการเป็นมะเร็งเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเยื่อบุมดลูกเพิ่มขึ้น อย่าใช้ยาไอโซฟลาโวนในขณะที่ป่วยเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

 

ภาวะไตวาย :

ถั่วเหลือง ประกอบด้วยสารที่ชื่อว่า ไฟโตอีสโตรเจน ปริมาณของ ไฟโตอีสโตรเจน ที่สูงเกินไปจะทำให้เกิดพิษได้ ผู้ป่วยทีมีภาวะไตวายที่ใช้ถั่วเหลือง อาจมีความเสี่ยงให้ระดับของไฟโตอีสโตรเจนในเลือดสูงเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้ถั่วเหลืองในปริมาณมากหากเป็นผู้ที่มีภาวะไตวาย

 

 

นิ่วในไต :

ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดนิ่วในไตได้เนื่องจากมีสารประกอบที่เรียกว่า ออกซาเลตสูง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตขั้นรุนแรงจะไม่สามารถกำจัดสารเคมีบางอย่างในถั่วเหลืองได้ ทำให้เกิดอันตรายจากปริมาณสารเคมีตกค้างในปริมาณสูง หลีกเลี่ยงการใช้ ถั่วเหลืองในปริมาณมากหากมีประวัติการเป็นนิ่วในไต

 

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ :

ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อาจเพิ่มโอกาสให้เกิดมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะได้ หลีกเลี่ยงการใช้อาหารที่ทำมาจากถั่วเหลืองหากป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง (ครอบครัวมีประวัติในการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ)

       

โรคเบาหวาน :

ถั่วเหลืองอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงอย่างมากกับผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด

 

ภาวะขาดไทรอยด์ โรคหืด และ ไข้ละอองฟาง ( โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ )

 

ขนาดยา:

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ก่อนใช้

 

ขนาดการใช้ลินเดนปกติอยู่ที่เท่าไร:

สำหรับผู้ที่มีคลอเรสเตอรอลสูง:

ปริมาณที่แนะนำคือโปรตีนถั่วเหลือง 20 – 50 กรัมต่อวัน

 

สำหรับป้องกันโรคกระดูกพรุน :

ปริมาณที่แนะนำคือโปรตีนถั่วเหลือง 40 กรัมต่อวัน บรรจุ ไอโซฟลาโวน 2 – 2.25 มิลลิกรัม ต่อ 1 กรัม

 

สำหรับแก้อาการของหญิงวัยหมดประจำเดือนเช่นภาวะร้อนวูบวาบ:

ปริมาณที่แนะนำคือโปรตีนถั่วเหลือง 20 – 60 กรัมต่อวัน บรรจุ ไอโซฟลาโวน 34 - 76 มิลลิกรัม

 

สำหรับอาการโรคไตที่มีโปรตีนปนเปื้อนในปัสสาวะ:

ปริมาณที่แนะนำคือโปรตีนถั่วเหลือง 700 – 800 มิลลิกรัมต่อวัน

 

สำหรับแก้อาการท้องร่วงในทารก:

ปริมาณที่แนะนำของอาหารเสริมใยอาหารจากถั่วเหลือง ขนาดบรรจุ 18 - 20 กรัมของโปรตีนถั่วเหลืองต่อลิตร

 

สำหรับโรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิด:

ปริมาณที่แนะนำของสารสกัดจากโทอูชิ จำนวน 300 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน โทอูชิ คืออาหารพื้นเมืองของจีนซึ่งทำมาจากเมล็ดถั่วเหลือง

 

สำหรับโรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิดในหญิงช่วงก่อนมีประจำเดือน:

ปริมาณที่แนะนำคือโปรตีนถั่วเหลือง 30 กรัมต่อวัน บรรจุด้วยไฟโตเอสโตรเจนจำนวน 132 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ขึ้นไป

 

ปริมาณการใช้สมุนไพร อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และพยาธิสภาพอื่น ๆ อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับปริมาณยาที่เหมาะสม

ถั่วเหลืองมีจำหน่ายในรูปแบบใด:

ถั่วเหลืองอาจมีอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • แบบเม็ด
  • แบบแคปซูล
  • ชนิดผง
23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว