เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / โกโก้ (Cocoa)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
โกโก้ (Cocoa)

วิธีการใช้

โกโก้ (Cocoa) ใช้ทำอะไร?

โกโก้ (Cocoa) เป็นพืชชนิดหนึ่งซึ่งใช้ทำ ช็อคโกแลต  ซึ่งถือว่าเป็น a food treat มายาวนานแล้ว,  โกโก้ (Cocoa) ถูกนำมาใช้

เป็นยาในปัจจุบัน

เมล็ดของโกโก้ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาโรคติดเชื้อในลำไส้และอาการท้องเสีย, โรคหอบหืด, โรคหลอดลมอักเสบ, และโรคไต, โรคเบาหวาน, ถือว่าเป็นยาชูกำลัง (a tonic), ถือเป็นยารักษาโรคทั่วไป (a general remedy).

เนยโกโก้ (cocoa butter) ใช้สำหรับ คอเลสเตอรอลสูง(high cholesterol)   บางคนใช้เนยโกโก้ (cocoa butter)เพื่อรักษาริ้วรอยและป้องกันผิวหนังแตกลายระหว่างตั้งครรภ์

ในทางการผลิตแล้ว บริษัทยาใช้เนยโกโก้ (cocoa butter) เป็นส่วนผสมตั้งต้นที่ใช้ทำยาเหน็บขี้ผึ้งต่างๆ

 

 

 

 

 

 

โกโก้ (Cocoa) ทำงานอย่างไร?

เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของโกโก้ (Cocoa) ไม่เพียงพอ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพืชชนิดนี้สามารถหาได้จากผู้เชี่ยวชาญด้านสุมนไพรหรือแพทย์ได้  อย่างไรก็ตาม, เป็นที่ทราบกันดีว่า โกโก้ (Cocoa) ประกอบด้วยสารเคมีต่างๆ รวมถึง ฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ  ยังไม่เป็นแน่ชัดว่าสารเหล่านี้มีผลต่อร่างกายอย่างไร  แต่พบว่าสารเหล่านี้มีผลทำให้หลอดเลือดดำคลายตัว ซึ่งยังผลให้ความดันโลหิตลดลง

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้โกโก้ (Cocoa)

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • แพ้ โกโก้ (Cocoa) หรือยาอื่น หรืออาหารเสริมอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ทั้งนี้ ก่อนใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

โกโก้ (Cocoa) ปลอดภัยแค่ไหน?

การรับประทาน โกโก้ (Cocoa) นั้นปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่    การทาเนยโกโก้ (cocoa butter)นั้นก็ปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่เช่นกัน

 

 

 

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร: โกโก้ (Cocoa) นั้นปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์และคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรหากใช้ในปริมาณปานกลางหรือปริมาณที่พบในอาหารทั่วไป แต่ควรจะระมัดระวังเรื่องการรับประทานด้วย

การรับประทานโกโก้ (Cocoa) ในปริมาณที่มากเกินไปนั้นอาจจะไม่ปลอดภัยเนื่องด้วยมีคาเฟอีน (caffeine) เป็นส่วนประกอบ   คาเฟอีนที่พบในโกโก้นั้นสามารถผ่านรกมาสู่ทารกในครรภ์ได้จากกระบวนการ producing fetal blood concentrations ซึ่งทำให้ระดับความเข้มข้นเลือดของทารกอยู่ระดับเดียวกับของมารดา   แม้ว่าจะมีการโต้แย้งจากหลักฐานบางอย่างว่าปริมาณคาเฟอีนระดับสูงในระหว่างตั้งครรภ์นั้นอาจจะสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนด, ทารกน้ำหนักตัวน้อย, และ การแท้งบุตร    ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนแนะนำให้บริโภคคาเฟอีนในปริมาณที่น้อยกว่า 200 มก. ต่อวัน ระหว่างตั้งครรภ์   และให้ระลึกไว้ด้วยว่าผลิตภัณฑ์ช๊อคโกแลตแต่ละชนิดนั้นมีคาเฟอีนอยู่ 2-35 มก. และช๊อคโกแลตร้อน 1 ถ้วยนั้นมีคาเฟอีนอยู่ 10 มก.โดยประมาณ

ส่วนคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรก็ควรจะระมัดระวังเรื่องการบริโภคคาเฟอีนด้วยเช่นกัน (Caffeine is also a concern during breast-feedingเนื่องจากความเข้มข้นของคาเฟอีนที่ผ่านน้ำนมไปสู่ทารกนั้นมีความเข้มข้นเป็นครึ่งนึงของระดับความเข้มข้นของคาเฟอีนในเลือดแม่  ถ้าคุณแม่รับประทานช๊อคโกแลตในปริมาณที่มากเกินไป (16 oz per day), จะทำให้ทารกเกิดภาวะลำไส้แปรปรวน และถ่ายบ่อยเนื่องจากคาเฟอีนที่ได้รับนั่นเอง (the nursing infant may become irritable and have too frequent bowel movements because of the caffeine).

 

โรควิตกกังวล: มีความกังวลว่าคาเฟอีนปริมาณสูงที่อยู่ในโกโก้นั้น อาจทำให้อาการของโรควิตกกังวลแย่ลง

ภาวะเลือดออกผิดปกติ: โกโก้ทำให้การแข็งตัวของเลือดช้าลง  การบริโภคโกโก้ปริมาณมากอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเลือดออก (bleeding) และเป็นแผลฟกช้ำ (bruising) ในผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ (bleeding disorders)

โรคหัวใจ (Heart conditions): โกโก้มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ    คาเฟอีนในโกโก้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติในผู้ป่วยบางรายด้วย  ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหัวใจ

โรคเบาหวาน: โกโก้อาจเป็นสาเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นและอาจจะรบกวนการความควบคุมน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานได้

ท้องเสีย: โกโก้มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ, ซึ่งคาเฟอีนในโกโก้โดยเฉพาะหากรับประทานในประมาณมาก สามารถทำให้ภาวะท้องเสียรุนแรงขึ้นได้

 

โรคกรดไหลย้อน - Gastroesophageal Reflux Disease (GERD): โกโก้ไปขัดขวางประสิทธิภาพการทำงานของลิ้นเปิดปิดหลอดอาหาร ซึ่งเป็นตัวป้องกันไม่ให้อาหารในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับมายังหลอดอาหารหรือทางเดินหายใจ   ซึ่งโกโก้อาจจะทำให้อาการของ GERD แย่ลง

โรคต้อหิน: โกโก้มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ   คาเฟอีนในโกโก้นี้ไปเพิ่มความดันในตา  ดังนั้นจึงควรใช้อย่างระมัดระวังในกลุ่มผู้ป่วยโรคต้อหิน

โรคความดันโลหิตสูง: โกโก้มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ   คาเฟอีนในโกโก้นี้ไปเพิ่มความดันเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง  อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่รับประทานคาเฟอีนในปริมาณสูงอยู่แล้วนั้น  อาจจะไม่ได้เป็นสาเหตุให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นมากนั้น

โรคลำไส้แปรปรวน - Irritable Bowel Syndrome (IBS): โกโก้มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ   คาเฟอีนในโกโก้นี้ โดยเฉพาะหากรับประทานในปริมาณมาก จะทำให้อาการท้องเสียแย่ลง และอาจจะทำให้อาการ IBS แย่ลงด้วยเช่นกัน

ปวดศรีษะไมเกรน: โกโก้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดไมเกรนได้ในผู้ป่วยที่ไวต่ออาการเจ็บป่วย (sensitive person)

โรคกระดูกพรุน: โกโก้มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ   คาเฟอีนในโกโก้นี้อาจจะทำให้ปริมาณแคลเซียมในปัสสาวะเพิ่มสูงขึ้นดังนั้นจึงควรใช้โกโก้อย่างระมัดระมัดในกลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

การผ่าตัด: โกโก้อาจจะรบกวนการควบคุมระดับน้ำตาลในระหว่างหรือหลังจากการผ่าตัด  ควรหยุดรับประทานโกโก้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ- Rapid, irregular heartbeat (tachyarrhythmia): โกโก้จากดาร์คช๊อคโกแลต (Dark Chocolate) สามารถเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจได้  ผลิตภัณฑ์ต่างๆของโกโก้อาจจะทำให้อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะแย่ลง

 

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากโกโก้ (Cocoa)

โกโก้มีคาเฟอีนและสารเคมีที่สัมพันธ์อื่นๆเป็นส่วนประกอบ    การรับประทานในปริมาณที่มากอาจเป็นสาเหตุให้เกิดผลข้างเคียงที่สัมพันธ์กับคาเฟอีน ตัวอย่างเช่น อาการกระวนกระวาย(nervousness), ปัสสาวะบ่อย, นอนไม่หลับ และมีภาวะหัวใจเต้นเร็วขึ้น

 

 

 

 

โกโก้เป็นสาเหตุให้เกิดโรคภูมิแพ้ที่ผิวหนัง, ท้องผูก, และอาจเป็นตัวนำให้เกิดปวดศรีษะไมเกรน   นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุให้ปัญหาในระบบย่อยอาหารซึ่งรวมถึงอาการคลื่นไส้, อาการมวนท้อง (intestinal discomfort), มีอาการท้องร้องและก๊าซ/ลมในกระเพาะอาหาร (stomach rumbling, and gas).

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อย่างไรก็ตาม อาจเกิดผลข้างเคียงที่นอกเหนือจากที่ไม่ได้ระบุไว้ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากกังวลเรื่องผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น 

 

ปฏิกิริยาต่อยา
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับโกโก้ (Cocoa)

โกโก้ (Cocoa) อาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กันหรือสภาพวะทางการแพทย์อื่นๆ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยา

ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะทำปฏิกิริยากับโกโก้ (Cocoa) รวมถึง:

  • อะดีโนซีน (Adenosine)

โกโก้มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ   คาเฟอีนที่อยู่ในโกโก้อาจจะยับยั้งปฏิกิริยาของอะดีโนซีน-adenosine (Adenocard).    แพทย์มักจะใช้อะดีโนซีน-adenosine (Adenocard) เพื่อทำการทดสอบเกี่ยวกับหัวใจ  ซึ่งการทดสอบที่กล่าวถึงนี่คือ Cardiac Stress Test   ควรหยุดรับประทานโกโก้หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนทำ Cardiac Stress Test

 

  • โคลซาปีน (Clozapine)

ร่างกายทำการย่อยสลายโคลซาปีน (Clozapine) เพื่อขับออกจากร่างกาย   คาเฟอีนในโกโก้

อาจจะทำให้ขบวนการขับ โคลซาปีน (Clozapine) ออกจากร่างกายนั้นช้าลง  การรับประทานโกโก้ร่วมกับ โคลซาปีน (Clozapine) สามารถเพิ่มปฏิกิริยาและผลข้างเคียงของ โคลซาปีน (Clozapine) ได้

 

  • ไดไพริดาโมล (Dipyridamole) 

โกโก้มีส่วนผสมของคาเฟอีน  ซึ่งคาเฟอีนในโกโก้นี้อาจจะยับยั้งปฏิกิริยา (affects) ของไดไพริดาโมล (Dipyridamole).    แพทย์มักจะใช้ไดไพริดาโมล (Dipyridamole)เพื่อทำการทดสอบเกี่ยวกับหัวใจ  ซึ่งการทดสอบที่กล่าวถึงนี่คือ Cardiac Stress Test   ควรหยุดรับประทานโกโก้หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนทำ Cardiac Stress Test

 

  • เออร์โกตามีน (Ergotamine)

โกโก้มีส่วนผสมของคาเฟอีน   คาเฟอีนสามารถเพิ่มการดูดซึมของเออร์โกตามีน (Ergotamine) เข้าสู่ร่างกายได้

 ดังนั้นการรับประทานโกโก้ร่วมกับเออร์โกตามีน (Ergotamine) อาจจะเพิ่มปฏิกิริยาและผลข้างเคียงของ เออร์โกตามีน (Ergotamine) ได้

 

  • เอสโตรเจน (Estrogen)

ร่างกายทำการย่อยสลายคาเฟอีนในโกโก้เพื่อขับออกจากร่างกาย   เอสโตรเจน (Estrogen)  ทำให้กระบวนการย่อยสลายคาเฟอีนของร่างกายช้าลง ดังนั้นการรับประทานคาเฟอีนร่วมกับเอสโตรเจน (Estrogen) อาจเป็นสาเหตุให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการสั่นในเด็กทารกแรกเกิด (jitteriness), หัวใจเต้นเร็ว, และอื่นๆ    ถ้าคุณรับประทานเอสโตรเจน (Estrogen)อยู่  ก็ควรจะจำกัดการบริโภคคาเฟอีน

เอสโตรเจน (Estrogen) แบบเม็ดบางประเภทรวมถึง conjugated equine estrogens (Premarin), ethinyl estradiol, estradiol, และอื่นๆ

 

  • ลิเทียม (Lithium)

ร่างกายมีการกำจัดลิเทียม(Lithium)ออกโดยธรรมชาติ  คาเฟอีนในโกโก้ทำให้กระบวนการกำจัดลิเทียม (Lithium) ออกจากร่างกายเร็วขึ้น  ถ้าคุณรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีความผสมของคาเฟอีนร่วมกับการรับประทานลิเธียมอยู่แล้ว ควรจะงดรับประทานคาเฟอีนอย่างช้าๆ  การงดรับประทานคาเฟอีนเร็วเกินไปนั้นจะทำให้ผลข้างเคียงของลิเธียมนั้นเพิ่มขึ้น

 

  • ยาสำหรับโรคหอบหืด (Medications for asthma)

โกโก้มีส่วนผสมของคาเฟอีน  คาเฟอีนสามารถกระตุ้นการทำงานของหัวใจ  ยาบางประเภทที่ใช้สำหรับโรคหอบหืดนั้นสามารถกระตุ้นการทำงานของหัวใจด้วยเช่นกัน  ดังนั้นการรับประทานคาเฟอีนร่วมกับยาบางประเภทที่ใช้สำหรับรักษาโรคหอบหืดนั้นอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการกระตุ้นหัวใจมากเกินไปซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจได้

ยาบางประเภทสำหรับโรคหอบหืดนั้นรวมถึง albuterol (Proventil, Ventolin, Volmax), metaproterenol (Alupent), terbutaline (Bricanyl, Brethine), และ isoproterenol (Isuprel)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • ยาสำหรับรักษาโรคซึมเศร้า (Medications for depression)

โกโก้มีส่วนผสมของคาเฟอีน   คาเฟอีนสามารถกระตุ้นการทำงานของร่างกาย  ยาบางประเภทที่ใช้เพื่อรักษาโรคซึมเศร้านั้นสามารถกระตุ้นการทำงานของร่างกายด้วยเช่นกัน   การบริโภคโกโก้ร่วมกับยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้านั้นอาจจะเป็นสาเหตุให้ร่างการได้รับการกระตุ้นมากเกินไป  ซึ่งจะส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ซึ่งรวมถึงอาการหัวใจเต้นเร็ว, ความดันโลหิตสูง, กระวนกระวาย(nervousness) และอาการอื่นๆ

ยาบางประเภทที่ใช้สำหรับรักษาโรคซึมเศร้านั้นรวมถึง phenelzine (Nardil), tranylcypromine (Parnate), และ

อื่นๆ

  • ยารักษาโรคเบาหวาน (Antidiabetes drugs)

โกโก้อาจจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น   ยารักษาโรคเบาหวานนั้นใช้เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลง    โกโก้นั้นอาจทำให้ประสิทธิภาพของยารักษาโรคเบาหวานลดลงจึงเป็นผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น   ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอย่างใกล้ชิด  ขนาดยาที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามระดับน้ำตาลในเลือด

ยาบางชนิดที่ใช้สำหรับการรักษาโรคเบาหวานนั้นรวมถึง glimepiride (Amaryl), glyburide (DiaBeta, Glynase PresTab, Micronase), insulin, pioglitazone (Actos), rosiglitazone (Avandia), chlorpropamide (Diabinese), glipizide (Glucotrol), tolbutamide (Orinase), และอื่นๆ

 

  • ฟีนิลโพรพาโนลามีน (Phenylpropanolamine)

คาเฟอีนในโกโก้สามารถกระตุ้นการทำงานของร่างกายได้  ฟีนิลโพรพาโนลามีน (Phenylpropanolamine)ก็สามารถกระตุ้นการทำงานของร่างกายได้เช่นกัน   การรับประทานโกโก้ร่วมกับ ฟีนิลโพรพาโนลามีน (Phenylpropanolamine) อาจเป็นสาเหตุให้ร่างกายได้รับการกระตุ้นมากเกินไปซึ่งยังผลให้ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น, ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น และเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะวิตกกังวล

 

  • ทีโอฟิลลีน (Theophylline)

โกโก้มีส่วนประกอบของคาเฟอีนอยู่   คาเฟอีนมีผลต่อร่างกายในทางเดียวกับทีโอฟิลลีน (Theophylline)   คาเฟอีนทำให้กระบวนย่อยสลายทีโอฟิลลีน (Theophylline) ของร่างกายช้าลง   ดังนั้นการรับประทานโกโก้ร่วมกับทีโอฟิลลีน (Theophylline) อาจจะเพิ่มปฏิกิริยาและผลข้างเคียงของทีโอฟิลลีน (Theophylline) ได้

 

 

 

 

 

 

 

  • ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic)

ร่างกายทำการย่อยสลายคาเฟอีนในโกโก้เพื่อขับออกจากร่างกาย  ยาปฏิชีวนะบางชนิดทำให้กระบวนการย่อยสลายคาเฟอีนของร่างกายช้าลง  การรับประทานยาปฏิชีวนะร่วมกับโกโก้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงต่างๆรวมถึงอาการสั่นในเด็กทารกแรกเกิด (jitteriness), ปวดศรีษะ, เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและผลข้างเคียงตื่นๆ

ยาปฏิชีวนะบางชนิดที่ทำให้กระบวนการย่อยสลายคาเฟอีนช้าลงนั้นรวมถึง ciprofloxacin (Cipro), enoxacin (Penetrex), norfloxacin (Chibroxin, Noroxin), sparfloxacin (Zagam), trovafloxacin (Trovan), and grepafloxacin (Raxar)

 

  • ยาคุมกำเนิด (Birth contral pills)

ร่างกายทำการย่อยสลายคาเฟอีนเพื่อขับออกจากร่างกาย   ยาคุมกำเนิดนั้นทำให้กระบวนการย่อยสลายคาเฟอีนของร่างกายลดลง   การรับประทานโกโก้ร่วมกับยาคุมกำเนิดสามารถเป็นสาเหตุให้เกิดอาการสั่นในเด็กทารกแรกเกิด (jitteriness), ปวดศรีษะ, เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและผลข้างเคียงตื่นๆ

ยาคุมกำเนิดบางประเภทนั้นรวมถึง ethinyl estradiol and levonorgestrel (Triphasil), ethinyl estradiol and norethindrone (Ortho-Novum 1/35, Ortho-Novum 7/7/7), และอื่นๆ

 

  • ไซเมทิดีน (Cimetidine)

โกโก้มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ  ร่างกายทำการย่อยสลายคาเฟอีนเพื่อขับออกจากร่างกาย  ไซเมทิดีน (Tagamet) ทำให้กระบวนการย่อยสลายคาเฟอีนของร่างกายลดลง  การรับประทานไซเมทิดีน (Tagamet) ร่วมกับโกโก้นั้นอาจจะเพิ่มโอกาสของการเกิดผลข้างเคียงของคาเฟอีน ซึ่งรวมถึงอาการสั่นในเด็กทารกแรกเกิด (jitteriness), ปวดศรีษะ,  หัวใจเต้นเร็ว, และอื่นๆ

 

  • ไดซัลฟิแรม (Disulfiram)

ร่างกายย่อยสลายคาเฟอีนเพื่อขับออกจากร่างกาย  ไดซัลฟิแรม (Disulfiram) ทำการกระบวนการย่อยสลายคาเฟอินของร่างกายลดลง  การรับประทานโกโก้(ซึ่งประกอบด้วยคาเฟอีนนั้น) ร่วมกับ ไดซัลฟิแรม (Disulfiram) อาจจะเพิ่มปฏิกิริยาและผลข้างเคียงของคาเฟอีนซึ่งรวมถึงอาการสั่นในเด็กทารกแรกเกิด (jitteriness), มีสมาธิสั้น (hyperactivity), หงุดหงิด (irritability) และอื่นๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • ฟลูโคนาโซล (fluconazole)

โกโก้มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ   ร่างกายทำการย่อยสลายคาเฟอีนเพื่อขับออกจากร่างกาย   ฟลูโคนาโซล (Diflucan) ทำให้กระบวนการย่อยสลายคาเฟอีนของร่างกายลดลง   ฟลูโคนาโซล (Diflucan) อาจเป็นสาเหตุให้คาเฟอีนอยู่ในร่างกายนานเกินไป    ดังนั้นการรับประทานโกโก้ร่วมกับ ฟลูโคนาโซล (Diflucan) อาจจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงข้างคาเฟอีน เช่น กระวนกระวาย(nervousness), วิตกกังวล (anxiety), และนอนไม่หลับ (insomnia)

 

  • เมกซิทิล (Mexiletine)

โกโก้มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ   ร่างกายทำการย่อยสลายคาเฟอีนเพื่อขับออกจากร่างกาย   เมกซิทิล (Mexitil) ทำให้กระบวนการย่อยสลายคาเฟอีนของร่างกายลดลง   การรับประทานเมกซิทิล (Mexitil) ร่วมกับโกโก้อาจจะเพิ่มปฏิกิริยาและผลข้างเคียงของโกโก้

 

  • เวอราปามิล (Verapamil)

ร่างกายทำการย่อยสลายคาเฟอีนในโกโก้เพื่อขับออกจากร่างกาย   เวอราปามิล (Calan, Covera, Isoptin, Verelan) ทำให้กระบวนการย่อยสลายคาเฟอีนของร่างกายลดลง     การรับประทานคาเฟอีนร่วมกับเวอราปามิล (Calan, Covera, Isoptin, Verelan) ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงของคาเฟอีนซึ่งรวมถึงอาการสั่นในเด็กทารกแรกเกิด (jitteriness), ปวดศรีษะ,  และหัวใจเต้นเร็วขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติของการใช้ cocoa อยู่ที่เท่าไร

ให้รับประทานตามขนาดที่ได้มีการศึกษาแล้วในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์:

โดยการรับประทาน:

กรณีความดันโลหิตสูง: รับประทานช็อคโกแลคหรือช็อคโกแลคนม 46 – 105 กรัม/วัน  จะมีส่วนผสมของ cocoa polyphenols อยู่ 213 – 500 มก.

ขนาดรับประทานของโกโก้ (cocoa) อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และพยาธิสภาพอื่น ๆ สมุนไพรอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อรับปริมาณยาที่เหมาะสม

โกโก้(cocoa)  มีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง
โกโก้(cocoa) อาจมีจำหน่ายอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • โกโก้ (cocoa) แบบผง
  • โกโก้ (cocoa) แบบสกัดในรูปแบบแคปซูล
  • เนยโกโก้ (cocoa butter)

แหล่งที่มา:

Cocoa http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-812-cocoa.aspx?activeingredientid=812& Accessed August 10, 2017

Cocoa Butter Creme Cream http://www.webmd.com/drugs/2/drug-93244/cocoa-butter-creme-topical/details Accessed August 10, 2017

8 Cocoa Butter Benefits and Uses https://draxe.com/cocoa-butter/ Accessed August 10, 2017

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว