เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / กระเทียม (Garlic)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
กระเทียม (Garlic)

การใช้

กระเทียม ใช้ทำอะไร?

กระเทียมใช้รักษาหลายอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและระบบเลือด ได้แก่ :

- ความดันโลหิตสูง

- ความดันโลหิตต่ำ

- ไขมันในเลือดสูง

- ไขมันในเลือดสูงพันธุกรรม

- โรคหัวใจขาดเลือด

- หัวใจวาย

- ลดการไหลเวียนของโลหิตเนื่องจากหลอดเลือดแดงหดตัว

- การแข็งตัวของเส้นเลือดแดง (atherosclerosis)

จากการศึกษาบางแห่ง กระเทียมอาจช่วยป้องกันมะเร็งได้หลายชนิด เช่น:

- มะเร็งลำไส้ใหญ่

- มะเร็งทวารหนัก

- มะเร็งกระเพาะอาหาร

- มะเร็งเต้านม

- มะเร็งต่อมลูกหมาก

- เอ็มเอ็ม (มะเร็งทางโลหิตวิทยา)

- มะเร็งปอด

- มะเร็งต่อมลูกหมาก

  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

นอกจากนี้ยังใช้เพื่อรักษาเมื่อเห็บกัด ในรูปแบบยากันยุง ; ป้องกันโรคไข้หวัด; และรักษาเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

กระเทียมยังมีสรรพคุณอื่นๆอีก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของท่าน

 

ในกระเทียมมีสารที่เรียกว่า อัลลิซิน (Allicin) ที่มีคุณประโยชน์บางประการ และยังให้กลิ่นเฉพาะตัวของกระเทียมอีกด้วย

มีการทำผลิตภัณฑ์กระเทียมไร้กลิ่นโดยวิธีการบ่มกระเทียม แต่กระบวนการนี้จะทำให้กระเทียมมีประสิทธิภาพน้อยลง เป็นความคิดที่ดีหากจะหาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่สามารถเคลือบลำไส้ ผลิตภัณฑ์จะละลายในลำไส้และไม่ได้ค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร

ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้กระเทียม

ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ถ้ามีอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • มีอาการแพ้สารใดๆที่มีสารประกอบของกระเทียมผสมยู่ หรือยาอื่นๆ
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

กระเทียมปลอดภัยแค่ไหน?

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร:

ยังมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือไม่เพียงพอทางด้านความปลอดภัยในการใช้กระเทียมระหว่างมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร จึงควรอยู่ในความควบคุมที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้

เด็ก:

กระเทียมอาจจะปลอดภัยเมื่อใช้อย่างเหมาะสมสำหรับเด็กในระยะสั้น บางแหล่งแนะนำว่ากระเทียมปริมาณมากอาจเป็นอันตรายต่อเด็ก เมื่อนำมาทาลงบนผิวหนังกระเทียมอาจทำให้ผิวหนังเกิดความเสียหายคล้ายกับการเผาไหม้

การผ่าตัด:

กระเทียมอาจทำให้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น อาจเพิ่มความเสี่ยงในระหว่างการผ่าตัด ให้หยุดรับประทานกระเทียม 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

 

ผลข้างเคียง

อาการข้างเคียงจากกระเทียมมีอะไรบ้าง?

ผลข้างเคียงบางส่วนมีดังนี้:

  • กลิ่นปาก
  • กลิ่นกาย
  • ท้องร่วง
  • การเผาไหม้ของปาก
  • หลอดอาหาร
  • อาการคลื่นไส้
  • อาเจียน
  • การขับเหงื่อ
  • วิงเวียนศีรษะ
  • มีเลือดออก
  • โรคหอบหืด
  • ภูมิแพ้
  • ความเสียหายทางผิวหนัง
  • ระคายเคืองอย่างรุนแรง

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อย่างไรก็ตาม อาจเกิดผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากกังวลเรื่องผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

 

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับกระเทียม

กระเทียมอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้ควบคู่กันในปัจจุบัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยา

ยาหรือภาวะทางสุขภาพที่อาจมีปฏิกิริยากับกระเทียม ได้แก่

 

ยาไอโซไนอาซิด Isoniazid (Nydrazid, INH)

กระเทียมอาจลดการทำงานของยาไอโซไนอาซิดโดยการดูดซึม

ยาที่ใช้สำหรับการติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์ (non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs))

การใช้กระเทียมร่วมกับยาที่ใช้สำหรับการติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์ บางชนิด อาจลดประสิทธิภาพของยาได้

ยาที่ใช้สำหรับการติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์ บางชนิด ได้แก่ ยาเนวิราปีน nevirapine (Viramune), ยาดีลาเวอร์ดีน delavirdine (Rescriptor) และ ยาเอฟฟาไวเร็นซ์ efavirenz (Sustiva)

 

ยาซาควินาเวียร์ Saquinavir (Fortovase, Invirase)

การรับประทานกระเทียมพร้อมกับยาซาควินาเวียร์ อาจทำให้ประสิทธิผลของยาลดลง เนื่องจากกระเทียมอาจไปเร่งการย่อยสลายยาซาควินาเวียร์ของร่างกาย

 

ยาคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิดบางชนิดมีส่วนผสมของเอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) ร่างกายสลายเอสโตรเจนในยาคุมกำเนิดเพื่อกำจัดฮอร์โมนนี้ กระเทียมอาจไปเร่งการสลายตัวของเอสโตรเจน การใช้กระเทียมพร้อมกับยาคุมกำเนิดอาจลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิด

หากท่านใช้ยาคุมกำเนิดพร้อมกับกระเทียม ให้ใช้รูปแบบการคุมกำเนิดอื่นๆ เช่น ใช้ถุงยางอนามัย

ยาคุมกำเนิดบางชนิดประกอบด้วย ยาเอทินิล เอสตร้าไดออล (ethinyl estradiol) และ ยาลีโวนอร์เจสเตรล levonorgestrel (Triphasil), ยาเอทินิล เอสตร้าไดออล  ethinyl estradiol และ ยานอร์อิทิสเตอโรน norethindrone (Ortho-Novum 1/35, Ortho-Novum 7/7/7) และอื่นๆ

 

ยาไซโคลสปรีน Cyclosporine (Neoral, Sandimmune)

ขณะที่ร่างกายกำลังสลายยาไซโคลสปรีน กระเทียมอาจอาจไปเร่งความเร็วมากขึ้น ซึ่งการใช้กระเทียมควบคู่กับยานี้อาจไปลดประสิทธิผลของยาได้

 

ยาที่ปลี่ยนแปลงและถูกทำลายโดยตับ (Cytochrome P450 2E1 (CYP2E1)substrates)

ยาบางตัวมีการเปลี่ยนแปลงและถูกทำลายโดยตับ

น้ำมันกระเทียมอาจทำให้ความเร็วที่ตับสลายยานั้นลดลง

การรับประทานน้ำมันกระเทียมพร้อมกับยาบางชนิดที่ปลี่ยนแปลงและถูกทำลายโดยตับสามารถเพิ่มผลข้างเคียงได้

ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนที่จะใช้น้ำมันกระเทียม หากท่านใช้ยาที่มีการเปลี่ยนแปลงและถูกทำลายโดยตับ

ยาบางชนิดที่ปลี่ยนแปลงและถูกทำลายโดยตับ ได้แก่ ยาอะซีตะมิโนเฟน (acetaminophen), ยาโคลซอซาโซน chlorzoxazone (Parafon Forte), เอทานอล (ethanol), ยาทีโอฟิลลีน (theophylline) และยาที่ใช้ในการระงับความรู้สึกระหว่างการผ่าตัด เช่น ยาเอนฟลูเรน enflurane (Ethrane), ยาฮาโลเธน halothane (Fluothane), ยาไอโซฟลูเรน isoflurane (Forane) และ ยามีโธไซฟลูเรน methoxyflurane (Penthrane).

 

ยาที่ปลี่ยนแปลงและถูกทำลายโดยตับ (Cytochrome P450 3A4 (CYP3A4) substrates)

ขณะที่ร่างกายกำลังสลายยาบางชนิด กระเทียมอาจอาจไปเร่งความเร็วมากขึ้น ซึ่งการใช้กระเทียมควบคู่กับยาที่ปลี่ยนแปลงและถูกทำลายโดยตับนี้อาจไปลดประสิทธิผลของยาได้

ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนที่จะใช้กระเทียมร่วมกับยาที่ปลี่ยนแปลงและถูกทำลายโดยตับ

ยาบางชนิดที่ปลี่ยนแปลงและถูกทำลายโดยตับ เช่น ยาโลวาสแตติน lovastatin (Mevacor), ยาคีโตโคนาโซล ketoconazole (Nizoral), ยาไอทราโคนาโซล itraconazole (sporanox), ยาเฟกโซเฟนาดีน fexofenadine (Allegra), ยาไตรอาโซแลม triazolam (halcion) และอื่นๆ อีกมากมาย

 

ยาที่ต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant / Antiplatelet drugs)

กระเทียมอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า การรับประทานกระเทียมพร้อมกับยาที่ต้านการแข็งตัวของเลือดอาจเพิ่มโอกาสที่จะมีรอยช้ำและมีเลือดออก

ยาบางชนิดที่ต้านการแข็งตัวของเลือด ได้แก่ ยาแอสไพริน aspirin, ยาโคลพิโดเกรล clopidogrel (Plavix), ยาไดโคลฟีแนค diclofenac (ยาโวลทาเรล Voltaren, ยาคาทาแฟลม Cataflam อื่น ๆ ),

ยาไอบูโพรเฟน ibuprofen (Advil, Motrin อื่น ๆ ), ยานาพรอกเซน naproxen (Anaprox, Naprosyn, อื่น ๆ), dalteparin (Fragmin), ยาอีนอกซาพาริน enoxaparin (Lovenox) , ยาเฮพาริน heparin,

ยาวาร์ฟาริน warfarin (Coumadin) และอื่นๆ

 

ยาวาร์ฟาริน  Warfarin (Coumadin)

การใช้ยาวาร์ฟาริน ร่วมกับกระเทียมอาจทำให้มีเลือดออกหรือเกิดรอยฟกช้ำตามผิว

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านได้ตรวจเลือดเป็นประจำ ปริมาณที่ควรใช้ยาวาร์ฟารินอาจมีการเปลี่ยนแปลง

 

ความผิดปกติของเลือด:

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระเทียมสดอาจเพิ่มความเสี่ยงของการมีเลือดออก

 

ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือการย่อยอาหาร:

กระเทียมอาจทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร (GI) ในกรณีที่คุณมีปัญหาในกระเพาะอาหารหรือการย่อยอาหารควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

 

ความดันโลหิตต่ำ:

กระเทียมสามารถลดความดันโลหิตได้ ในทางทฤษฎีการใช้กระเทียมอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำเกินไปในคนที่มีความดันโลหิตต่ำ

 

ปริมาณ

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ

ปริมาณปกติสำหรับกระเทียมคืออะไร?

การรับประทาน :

สำหรับการแข็งตัวของเส้นเลือด

-  การใช้ผงเม็ดกระเทียม 300 มิลลิกรัม 1 หรือ 3 ครั้งต่อวันนานถึง 4 ปีได้ถูกนำมาใช้

-  การใช้กระเทียม 150 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลา 24 เดือน รวมผลิตภัณฑ์ที่มีกระเทียมได้ถูกนำมาใช้

-  การใช้สารสกัดจากกระเทียม 250 มิลลิกรัมทุกวันเป็นเวลา 12 เดือนได้ถูกนำมาใช้

-  การใช้ผลิตภัณฑ์ผสมที่มีสารสกัดจากกระเทียมอยู่ 300 มิลลิกรัม ปริมาณ 4 เม็ดต่อวันเป็นเวลา 1 ปี ได้ถูกนำมาใช้

 

สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งลำไส้ใหญ่:

- การใช้แคปซูลที่บรรจุสารสกัดจากกระเทียม 2.4 มิลลิลิตร ทุกวันเป็นเวลา 12 เดือนได้ถูกนำมาใช้

 

สำหรับความดันโลหิตสูง:

-  การใช้กระเทียมชนิดเม็ด 300 มิลลิกรัม ถึง 1500 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 24 สัปดาห์ได้ถูกนำมาใช้

-  วิธีนำผงแป้งกระเทียม 2400 มิลลิกรัม มารับประทานวันละ 600 มิลลิกรัม ต่อวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ได้ถูกนำมาใช้

-  วิธีใช้แคปซูลที่มี 960 มิลลิกรัม ถึง 7.2 กรัม ของสารสกัดจากกระเทียม ใช้เป็นเวลานานถึง 6 เดือนโดยแบ่งเป็น 3 ขนาดได้ถูกนำมาใช้

-  การใช้น้ำมันกระเทียม 500 มิลลิกรัม กับ น้ำมันปลา 600 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลา 60 วันได้ถูกนำมาใช้

 

สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก:

- การนำสารสกัดจากกระเทียมที่ละลายน้ำได้ 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มารับประทานทุกวันเป็นเวลา 1 เดือนได้ถูกนำมาใช้

 

สำหรับเห็บกัด:

- วิธีใช้กระเทียมชนิดแคปซูล 1200 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ได้ถูกนำมาใช้

 

การให้ยาเฉพาะทาง :

สำหรับการติดเชื้อราที่ผิวหนัง (กลาก, สังคัง, น้ำกัดเท้า) :

ได้มีการทดลองใช้กระเทียมรักษาเชื้อราเพราะในกระเทียมมีสาร ajoene ซึ่งออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา ใช้ครีมสกัดกระเทียม (0.4% cream)

เจลสกัดกระเทียม 0.6% และเจลสกัดกระเทียม 1% (0.6% gel, and 1% gel) ใช้วันละสองครั้งเป็นเวลา 1 สัปดาห์

ขนาดและปริมาณการใช้สมุนไพรเสริมนี้ อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกระเทียมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบปริมาณยาที่เหมาะสม

 

 

 

กระเทียมมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง?

กระเทียมอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

- เม็ดกระเทียม

- ผงกระเทียม

- แคปซูลกระเทียม

- สารสกัดจากกระเทียม

- เจลกระเทียม

- ครีมกระเทียม

 

Garlic. https://www.drugs.com/npc/garlic.html. Accessed November 21, 2016

Garlic. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-300-garlic.aspx?activeingredientid=300. Accessed November 21, 2016

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว