เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / อาการโคม่าในเด็ก
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
อาการโคม่าในเด็ก

อะไรคืออาการโคม่าในเด็ก
เมื่อเด็กอยู่ในสภาวะโคม่า พวกเขาจะไม่รู้สึกตัวและไม่ตอบสนอง แม้เด็กจะดูเหมือนนอนหลับอยู่ แต่พวกเขาจะไม่สามารถตื่นขึ้นมาได้แม้จะเจ็บปวดก็ตาม

อะไรเป็นสาเหตุของอาการโคม่าในเด็ก
อาการโคม่าเกิดจากสภาวะที่สมองได้รับความเสียหาย ซึ่งเกิดจากภาวะเลือดออกในสมอง การเพิ่มขึ้นของแรงดันในสมอง การขาดออกซิเจน การก่อตัวของสารพิษ ความเสียหายนี้อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวหรือถาวร สาเหตุทั่วไปที่ก่อให้เกิดอาการโคม่า มีดังนี้
−การบาดเจ็บที่ศรีษะ: การบาดเจ็บที่ศรีษะสามารถส่งผลให้สมองบวมและเลือดออกได้ ซึ่งจะทำลายสมองที่ดูแลในส่วนของการกระตุ้นและการรับรู้
−การบวม: การบวมของสมองอาจเกิดขึ้นโดยปราศจากการบาดเจ็บทางกายภาพ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากภาวะขาดออกซิเจน ภาวะเสียสมดุลของอิเล็กโตรลัยท์ในร่างกาย และฮอร์โมน
−ภาวะเลือดออก: ภาวะเลือดออกในสมองอาจเกิดจากการแทรกซ้อนของภาวะความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองโป่งพอง และเนื้อร้าย
−โรคหลอดเลือดสมอง: การขาดเลือดไปเลี้ยงสมองหรือการสูญเสียเลือดพร้อมกับมีอาการบวมของสมอง อาจนำไปสู่อาการโคม่า
−น้ำตาลในเลือด โรคเบาหวานในเด็กอาจทำให้เกิดอาการโคม่าได้ ระดับน้ำตาลในเลือดอาจสูงเกินไป และอาจเกิดในกรณีเดียวกันกับภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
−การขาดออกซิเจน การติดเชื้อ อาการชัก ได้รับสารพิษ
จะจัดการกับอาการโคม่าในเด็กได้อย่างไร
การหาสาเหตุของอาการโคม่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก แพทย์จะประเมินสภาวะของเด็กเพื่อหาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ หากมีการติดเชื้อ แพทย์จะนำของเหลวออกมาตรวจเพิ่มเติม การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (อีอีจี) อาจมีความจำเป็นเพื่อวิเคราะห์และวินิจฉัยโรค
วิธีการรักษาอาการโคม่าในเด็ก
วิธีการรักษาอันดับแรกคือ ต้องมั่นใจว่าเด็กมีออกซิเจนหล่อเลี้ยงเพียงพอ และมีชีพจรและความดันโลหิตที่ปกติ อาจมีการให้กลูโคสและน้ำเกลือในเบื้องต้น หากเด็กมีอาการชัก อาจต้องมีวิธีการรักษาอื่นๆร่วมด้วย หากแรงดันในสมองเพิ่มมากขึ้น แพทย์จะให้ยาลดแรงดันดังกล่าว เช่น ยาขับปัสสาวะหรือสเตอรอยด์ เมื่อแพทย์หาสาเหตุของอาการโคม่าได้แล้ว จึงจะทำการรักษาต่อไป.
แล้วลูกของฉันจะฟื้นไหม
โอกาสฟื้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการโคม่าซะส่วนใหญ่ ในขณะที่โคม่าที่เกิดจากโรคเบาหวานสามารถรักษาได้ แต่โคม่าจากโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกอาจไม่สามารถรักษาได้ ขอบเขตความเสียหายของสมองจะนำไปสู่ ปัจจัยที่สำคัญต่อการเกิดอาการโคม่า ความรุนแรงของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสมองจะลดความไปได้ของการฟื้นจากอาการโคม่า มีรายงานว่า 75% ของเด็กที่มีอาการโคม่าที่ไม่เกี่ยวกับการบาดเจ็บที่ศีรษะ มีผลการรักษาในเชิงบวก

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว