เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ระกำ (Wintergreen)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ระกำ (Wintergreen)

การใช้

ระกำใช้ทำอะไร

ระกำคือสมุนไพรชนิดหนึ่ง ใบและน้ำมันใช้ทำเป็นยาได้ ใบระกำใช้รักษาอาการต่อไปนี้:

  • ปวดศีรษะ
  • อาการปวดเส้นประสาท
  • โรคข้ออักเสบ
  • เจ็บปวดรังไข่
  • อาการปวดประจำเดือน
  • ปวดท้องและมีแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • โรคหอบหืด
  • เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
  • อาการบาดเจ็บและบวม (อักเสบ)
  • ไข้
  • โรคไต

บางครั้ง ใบระกำสามารถนำมาใช้ทาบริเวณผิวหนังเพื่อบรรเทาอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เจ็บปวดกล้ามเนื้อ และอาการปวดบริเวณหลัง

การรับประทานน้ำมันระกำ สามารถช่วยเพิ่มประมาณน้ำในกระเพาะและช่วยระบบการย่อยอาหารได้

น้ำมันระกำเมื่อนำมาทาบริเวณผิวหนัง จะมีประสิทธิภาพช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อ กระตุ้นให้เกิดอาการระคายเคืองเพื่อลดอาการปวดและบวมบริเวณเนื้อเยื่อ และยังสามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคบนผิวหนัง

ระกำอาจสามารถใช้รักษาอาการอื่นๆ ได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์

 

ผลที่ได้

เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ อย่างไรก็ดี มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ระกำประกอบไปด้วยสารเคมีที่มีฤทธิ์คล้ายกับแอสไพริน ซึ่งช่วยลดอาการเจ็บปวด บวม และไข้

 

ข้อควรระวังและคำเตือนการใช้

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ระกำ

ควรปรึกษาหรือพบกับแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างรับประทานยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • หากเคยมีประวัติแพ้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งของระกำหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆ
  • หากมีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือสภาพทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากเคยมีประวัติการแพ้ต่างๆ แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายาชนิดอื่นๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้ต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์

 

ระกำปลอดภัยหรือไม่

สำหรับเด็ก:

ใบระกำและน้ำมันระกำ อาจเป็นพิษต่อเด็ก เมื่อรับประทานในปริมาณ 4-10 มิลลิลิตร อาจทำให้เสียชีวิตได้

หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันระกำทาบริเวณผิวหนังของเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

 

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร:

ไม่ควรรับประทานระกำหรือใช้ทาบริเวณผิวหนัง หากอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร


ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ระกำ

การรับประทานระกำอาจทำให้มีอาการมีเสียงวี้ดในหู คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดศีรษะ ปวดท้องและอาการมึนงง

เมื่อทาน้ำมันระกำบริเวณผิวหนังอาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง

จากอาการผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์

 

ปฏิกิริยาระหว่างกันของยา

ปฏิกิริยาที่จะได้รับเมื่อใช้ยาอื่นควบคู่กับระกำ

ระกำอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับระกำ เช่น:

  • วาร์ฟาริน: เมื่อรับประทานน้ำมันระกำควบคู่กับยาวาร์ฟาริน (คูมาดิน) อาจเพิ่มโอกาสของอาการช้ำและมีเลือดออก
  • แอสไพริน: เมื่อใช้น้ำมันระกำในปริมาณมาก ทาบริเวณผิวหนัง ควบคู่กับการรับประทานยาแอสไพริน อาจเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียง

กรุณาแจ้งแพทย์เมื่อมีอาการต่อไปนี้:

  • อาการอักเสบของกระเพาะอาการและลำไส้
  • อาการแพ้ซาลิไซเลตและแอสไพริน
  • โรคหอบหืด
  • ริดสีดวงจมูก

 

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติของการใช้ระกำยู่ที่เท่าไร

  • ไม่ใช่ยาที่มีขายตามทั่วไป
  • รับประทานชาใบระกำ โดยใช้ใบระกำแห้ง 1 ช้อนชาต้มน้ำเดือด 1 ถ้วย รับประทานวันละ 1 ถ้วย

ยาใช้ภายนอก:

  • ใช้น้ำมันระกำชนิด เจล โลชั่น ขี้ผึ้งหรือน้ำมันนวด (ประกอบด้วยเมทิลซาลิไซเลต 10%-60%) ทาบริเวณผิวหนัง 3-4 ครั้งต่อวัน
  • ความร้อนอาจเพิ่มปริมาณการดูดซึมยาบริเวณผิวหนัง ไม่ควรใช้หลังจากการออกกำลังกายหรือหลังการใช้แผ่นประคบร้อน

 

ปริมาณการใช้ระกำอาจแตกต่างกันไปในแต่ละผู้ป่วย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับการรับประทาน

 

ระกำมีจำหน่ายในรูปแบบใบบ้าง

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารระกำอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • ชา
  • เจล
  • โลชั่น
  • ขี้ผึ้ง
  • น้ำมันนวด

 

Wintergreen. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-783-Wintergreen.aspx?activeingredientid=783&activeingredientname=Wintergreen. AccessedDecember 14, 2016

Wintergreen. http://naturaldatabase.therapeuticresearch.com/nd/PrintVersion.aspx?id=783. AccessedDecember 14, 2016

 

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว