เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / โยเกิร์ต (Yogurt)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
โยเกิร์ต (Yogurt)

การใช้

โยเกิร์ต ใช้ทำอะไร

โยเกิร์ต (Yogurt) คือผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำมาจากนม โดยเติมจุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งก็คือเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆ ลงไปหมักในนม เช่น Lactobacillus acidophilus, Lactobacillus rhamnosus, Lactobacillus bulgaricus, Enterococcus faecium, Streptococcus thermophilus และอื่น ๆ

โยเกิร์ตใช้สำหรับ:

อาการท้องร่วงในเด็ก

อาการท้องร่วงที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะ

อาการท้องร่วงในเด็กทารกและเด็กที่ขาดสารอาหาร

การแพ้แลคโตส

รักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร (Helicobacter pylori) เมื่อใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ

ระดับคอเลสเตอรอลสูง

หอบหืด

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

ป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTIs)

ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

ป้องกันการติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอด

การรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

ป้องกันผิวไหม้เกรียมจากการถูกแดดมากเกินไป

 

การออกฤทธิ์?

เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของโยเกิร์ตไม่เพียงพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันดีว่าโยเกิร์ตมีแบคทีเรียซึ่งอาจช่วยฟื้นฟูแบคทีเรียตามปกติในระบบทางเดินอาหารและช่องคลอด ซึ่งอาจช่วยรักษาอาการท้องร่วงและติดเชื้อในช่องคลอด

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้โยเกิร์ต

 ควรปรึกษาแพทย์ นักสมุนไพร หรือเภสัชกร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • มีอาการแพ้สารบางอย่างในโยเกิร์ต หรือแพ้ยาชนิดอื่นๆ หรือสมุนไพรอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ต่างๆ เช่น แพ้อาหาร สารย้อมสี สารกันบูด หรือสัตว์

ข้อบังคับสำหรับการใช้อาหารเสริมนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยาทั่วไป จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ทั้งนี้ก่อนการใช้งาน ควรคำนึงถึงประโยชน์ของอาหารเสริมนี้ว่าควรมีมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษานักสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

โยเกิร์ต ปลอดภัยแค่ไหน?

โยเกิร์ต ดูเหมือนจะปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เมื่อนำมารับประทาน และโยเกิร์ตอาจปลอดภัยเมื่อนำไปใช้ในช่องคลอด

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

ช่วงตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: โยเกิร์ตน่าจะมีความปลอดภัยหากใช้ในปริมาณที่พบในอาหาร และอาจปลอดภัยเมื่อนำมาใช้ในช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์ มีงานวิจัยเล็กๆทางการศึกษาที่เกี่ยวเนื่องกับหญิงตั้งครรภ์ว่าไม่มีผลข้างเคียงใดๆ

โยเกิร์ตดูเหมือนจะปลอดภัยในสตรีที่ให้นมบุตรเมื่อใช้ในปริมาณที่พบในอาหารตามปกติ แต่นักวิจัยยังไม่ได้ศึกษาความปลอดภัยในการใช้โยเกิร์ตในระหว่างการให้นมบุตรอย่างเหมาะสม เป็นการดีที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงการใช้งานภายในช่องคลอดถ้าคุณกำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร

ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ: มีความกังวลบางอย่างเกี่ยวกับแบคทีเรียที่มีชีวิตอยู่ในโยเกิร์ตว่าอาจแพร่พันธุ์ในปริมาณมากเกินไปทำให้เกิดความเจ็บป่วยในคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น คนที่ติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์ หรือผู้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ เนื่องมาจากแลคโตบาซิลลัส(Lactobacillus)ในโยเกิร์ตอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรค แต่ไม่ค่อยพบในคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เพื่อความปลอดภัยหากคุณมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอให้หลีกเลี่ยงการกินโยเกิร์ตในปริมาณมากที่บรรจุแบคทีเรียอยู่เป็นเวลานาน ถ้าหากไม่ได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพของคุณ

 

ผลข้างเคียงที่อาจได้รับจากการใช้โยเกิร์ต

มีรายงานผลข้างเคียงไม่มากนัก แต่มีกรณีที่คนป่วยจากโยเกิร์ตที่ปนเปื้อนแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค

ไม่ใช่ทุกคนจะได้รับผลข้างเคียงดังกล่าว อาจมีผลข้างเคียงอื่นๆที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้โยเกิร์ต

โยเกิร์ตอาจมีปฏิกิริยากับยาหรือเงื่อนไขทางการแพทย์ในปัจจุบันของคุณ ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนการใช้งาน

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยาร่วมกับโยเกิร์ต ได้แก่:

ยาปฏิชีวนะ (ยาปฏิชีวนะกลุ่มเทททราซัยคลีน (Tetracycline Antibiotics))

ในโยเกิร์ตมีแคลเซียม ซึ่งแคลเซียมในโยเกิร์ตสามารถเกาะไปกับยากลุ่มเทททราซัยคลีนลงไปในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นการลดจำนวนยากลุ่มเทททราซัยคลีนที่สามารถดูดซึมได้   ดังนั้นการใช้แคลเซียมร่วมกับยากลุ่มเทททราซัยคลีน อาจไปลดประสิทธิภาพของยากลุ่มเทททราซัยคลีนได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยานี้ควรทานโยเกิร์ต 2 ชั่วโมงก่อน หรือ 4 ชั่วโมงหลังใช้ยากลุ่มเทททราซัยคลีน

ยากลุ่มเทททราซัยคลีนบางชนิด ได้แก่ demeclocycline (Declomycin), minocycline (Minocin), และ tetracycline (Achromycin).

 ไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin (Cipro))

ไซโปรฟลอกซาซิน เป็นยาปฏิชีวนะ โยเกิร์ตอาจลดปริมาณไซโปรฟลอกซาซินที่ร่างกายดูดซึม ดังนั้นการใช้โยเกิร์ตร่วมกับไซโปรฟลอกซาซิน อาจลดประสิทธิภาพของไซโปรฟลอกซาซินได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยานี้ให้ใช้โยเกิร์ตอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงหลังจากใช้ไซโปรฟลอกซาซิน

ยากดภูมิคุ้มกัน

โยเกิร์ตมีแบคทีเรียและยีสต์อยู่ ระบบภูมิคุ้มกันจะควบคุมแบคทีเรียและยีสต์ในร่างกายเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ยาที่ช่วยลดระบบภูมิคุ้มกันอาจเพิ่มโอกาสที่คุณจะป่วยจากแบคทีเรียและยีสต์ การทานโยเกิร์ตควบคู่ไปกับยาที่ช่วยลดระบบภูมิคุ้มกันอาจเพิ่มโอกาสป่วยได้

ยาบางชนิดที่ช่วยลดระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ azathioprine (Imuran), basiliximab (Simulect), cyclosporine (Neoral, sandimmune), daclizumab (Zenapax), muromonab-CD3 (OKT3, Orthoclone OKT3), mycophenolate (CellCept), tacrolimus (FK506, Prograf ), sirolimus (Rapamune) prednisone (Deltasone, Orasone), corticosteroids (glucocorticoids) และอื่น ๆ

 

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

ขนาดยาปกติสำหรับการใช้โยเกิร์ต คือเท่าไร?

ปริมาณต่อไปนี้ได้รับการศึกษาในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์:

รับประทาน:

เพื่อป้องกันอาการท้องร่วงเนื่องจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ:โยเกิร์ตที่มี Lactobacillus GG ปริมาณ 125 มิลลิลิตร (ประมาณ 4 ออนซ์) รับประทานวันละ 2 ครั้งตลอดการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ นักวิจัยบางคนแนะนำให้ทาน 240g หรือ 8 ออนซ์ของโยเกิร์ต วันละ 2 ครั้ง ใช้โยเกิร์ตอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนหรือ 2 ชั่วโมงหลังจากใช้ยาปฏิชีวนะ

สำหรับอาการท้องร่วง: ทาน 125 กรัมของโยเกิร์ตที่มี Lactobacillus casei วันละ 2 ครั้ง

ลดคอเลสเตอรอล: มีการทดลองใช้ยาหลายขนาดขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต ขนาดยาที่ทานทั่วไปคือ 200 มิลลิลิตรของโยเกิร์ตที่มี Lactobacillus acidophilus ต่อวัน ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ผสมร่วมกันระหว่างโยเกิร์ตที่มีLactobacillus acidophilus ขนาด 125 มล. ผสมกับฟรุคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ (fructo-oligosaccharides) 2.5% วันละ 3 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการใช้โยเกิร์ตที่มี Causido 450 มล. (ซึ่งประกอบด้วย Enterococcus faecium และ Streptococcus bacteria อีก 2 สายพันธุ์)

เพื่อป้องกันยีสต์ในช่องคลอดหรือการติดเชื้อแบคทีเรีย: โยเกิร์ตที่มี Lactobacillus acidophilus ขนาดยาทั่วไปคือ 150 มล. ต่อวัน

ปริมาณการใช้อาหารเสริมชนิดนี้อาจมีความแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ อนึ่งอาหารเสริมไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณการใช้ยาที่เหมาะสม

 

โยเกิร์ต สามารถพบได้ในรูปแบบใดบ้าง?

โยเกิร์ต อาจมีอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

โยเกิร์ตธรรมดา (ผลิตภัณฑ์จากนม): โยเกิร์ต(นมล้วน), โยเกิร์ตไขมันต่ำ, โยเกิร์ตไม่มีน้ำมัน, โยเกิร์ตกรีก, โยเกิร์ตวิปปิ้ง

โยเกิร์ตอื่น ๆ :โยเกิร์ตนมแพะ, โยเกิร์ตชีส, โยเกิร์ตนมแกะ, โยเกิร์ตนมถั่วเหลือง

เครื่องดื่มโยเกิร์ต

 

Yogurt http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-829-yogurt.aspx?activeingredientid=829& Accessed September 21, 2017

Yogurt is not just for breakfast! 53 ways to use this magical ingredient https://www.today.com/food/yogurt-not-just-breakfast-53-ways-use-magical-ingredient-t96721 Accessed September 21, 2017

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว