เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ความแตกต่างของกลไกการออกฤทธิ์ยาในเพศหญิงและชาย
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
ความแตกต่างของกลไกการออกฤทธิ์ยาในเพศหญิงและชาย

งานวิจัยเปิดเผยว่าเพศสภาพของคนเรามีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาแต่ละชนิด โดยเพศอาจเป็นตัวกำหนดทั้งศักยภาพ ความมีประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงของตัวยา

สภาพทางชีววิทยาของผู้หญิงมีผลต่อยาอย่างไร

นอกจากเรื่องน้ำหนักตัวแล้ว ปัจจัยทางชีววิทยาอื่นๆที่เกี่ยวกับเพศหญิงอาจมีผลกระทบต่อร่างกายในการนำตัวยาบางชนิดไปใช้ หนึ่งในนั้นคือไขมันส่วนเกินในร่างกาย เพราะผู้หญิงมีไขมันในร่างกายมากกว่าผู้ชาย ยาที่ละลายได้ดีในไขมันจะส่งผลที่แตกต่างต่อผู้หญิง ยาที่ละลายได้ดีในไขมันได้แก่ ยาต้านเศร้า ยาแก้ความวิตกกังวล และยารักษาโรคจิต

ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะไม่แน่ใจว่าทำไม แต่ได้มีการสำรวจว่า ยาต้านเศร้าและยารักษาโรคจิตบางตัวมีประสิทธิภาพมากกว่าในการใช้กับผู้หญิง อย่างไรก็ตาม พวกเขายังต้องเผชิญกับผลข้างเคียงของยาต้านเศร้า อย่างเช่นความต้องการทางเพศที่ลดลง ในขณะที่ผู้ชายนั้นสามารถใช้ไวอากร้าในการต่อสู้กับผลข้างเคียงนี้ ผู้หญิงไม่ได้มีทางเลือกอื่นใด

ความแตกต่างอีกประการอยู่ที่ระบบการย่อยของผู้หญิง โดยทั่วไปผู้หญิงจะผลิตกรดในกระเพาะอาหารน้อยกว่าผู้ชาย เพราะเหตุนี้ ผุ้หญิงจะย่อยอาหารได้ช้ากว่าผู้ชาย ดังนั้น เมื่อผู้หญิงใช้ยาที่ต้องการสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดในการดูดซึม (ยาต่อต้านเชื้อรา อย่าง คีโทโคนาโซล เป็นต้น) ผุ้หญิงจะได้รับประโยชน์จากยาน้อยกว่า อีกอย่างหนึ่ง เมื่อผู้หญิงต้องใช้ยาที่ต้องการท้องว่างในการดูดซึม ผู้หญิงต้องรอเวลานานกว่า หลังจากอาหารมื้อล่าสุด

ฮอร์โมนเพศหญิงมีผลต่อฤทธิ์ยา

ฤทธิ์ยานั้นก็ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมน ในระหว่างการมีประจำเดือนและวัยหมดประจำเดือนนั้น ฮอร์โมนของผู้หญิงจะไม่สม่ำเสมอ ฮอร์โมนเพศหญิงอาจรบกวนการทำงานของตับในการจัดการกับยา หากตับไม่สามารถทำงานของมันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ความเข้นข้นของยาในเลือดนั้นจะสูงขึ้น แม้ว่าจะได้ทานยานั้นในขนาดที่ปลอดภัย เช่นเดียวกันนี้เกิดกับยาที่ต้องผ่านการกรองโดยไต งานวิจัยระบุว่าร่างกายของผู้หญิงกำจัดยารักษาโรคมะเร็ง เมโธเทรกเซท ช้ากว่าร่างกายผู้ชาย 13-17%

ยาโรคหัวใจและผู้หญิง

ยาที่ใช้รักษาโรคหัวใจนั้นทำงานแตกต่างออกไปในผู้หญิงเช่นเดียวกัน แอสไพรินขนาดน้อยๆไม่ช่วยในการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายในผู้หญิง เนื่องมาจากโอกาสในการตกเลือดที่มีมากกว่า อีกอย่างหนึ่ง ผู้หญิงที่ใช้ยาปิดกั้นเบต้าต้องพบกับความเสี่ยงในการกลับเข้ารักษาในโรงพยาบาลมากกว่า จึงแนะนำให้ผู้หญิงทานยาจือจางเลือด อย่างวาร์ฟาริน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่ออิงจาก American Family Physician ผู้หญิงต้องการยาวาร์ฟารินน้อยกว่าผู้ชาย 2.5 ถึง 4.5 มิลลิกรัมในหนึ่งสัปดาห์

ยาลดอาการปวด และยาช่วยการนอนหลับ

ยาบรรเทาปวดมีผลข้างเคียงที่แตกต่างไปในแต่ละเพศ การศึกษาในปี 2002 พบความเกี่ยวข้องกันระหว่างการใช้ยาอะซีตะมิโนเฟน และยารักษาอาการอักเสบแบบไม่มีเสตียรอยด์ในผู้หญิง และการเพิ่มความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่ใช้ยารักษาอาการอักเสบแบบไม่มีเสตียรอยด์มากกว่า 22 วันต่อเดือนนั้นเผชิญกับความเสี่ยงในการเป้นความดันโลหิตสูงมากขึ้นถึง 86% ในขณะที่ผู้ที่ใช้ยาอะซีตะมิโนเฟนมีแนวโน้มจะเป็นความดันโลหิตสูงเป็นสองเท่า

ผู้หญิงปัญหาในการกำจัดยาช่วยนอนออกจากร่างกาย มีรายงานว่าผู้หญิงขับรถอย่างลำบากหลังจากการใช้ยาช่วยการนอนหลับวันก่อนหน้า ซึ่งมาจากการดูดซึมที่ช้า ในปี 2013 องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่าผู้หญิงนั้นควรใช้ยาขนาดแค่ครึ่งเดียวของยานอนหลับ อย่างแอมเบียนจากที่ผู้ชายใช้ปกติ

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว