เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / คู่มือดูแลผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
คู่มือดูแลผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง

การเห็นคนที่คุณรักต้องทรมานกับสุขภาพที่ไม่ดีเป็นเรื่องที่ทำใจลำบาก ผู้ดูแลสามารถเปลี่ยนตัวบุคคลและวิธีการมองชีวิตได้มากทีเดียว เรารู้ว่าความเครียดในการดูแลใครสักคนเป็นเรื่องที่ท้าทาย ดังนั้นเราจึงรวบรวมรายการเคล็ดลับสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง

เคล็ดลับข้อที่ 1: รอสักหนึ่งชั่วโมง

ความเจ็บปวดอาจทำให้รู้สึกหงุดหงิดและโมโห ในผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง พวกเขาอาจรู้สึกแย่และโมโหคุณโดยไม่มีเหตุผล ถ้าคุณต้องดูแลผู้ป่วยที่เป็นเช่นนี้ คุณควรอดทน ให้เวลาเขาสักชั่วโมงเพื่อให้ใจเย็นลงและแยกแยะได้ ผู้ป่วยมักจะรู้สึกผิดในภายหลัง ปล่อยให้พวกเขาทำความผิดและพูดคุยอย่างใจเย็นว่าการกระทำของเขาทำให้คุณรู้สึกอย่างไร จำไว้ว่าควรให้อภัยและลืมไปเสีย

เคล็ดลับข้อที่ 2: จดบันทึก

จดบันทึกรายการที่ต้องทำทุกวันจะช่วยให้คุณมีเป้าหมายและติดตามแต่ละงานได้ จดไว้ว่ายาตัวไหนที่ผู้ป่วยของคุณต้องกินและกินเมื่อไหร่ จดตารางนัดหมายของแพทย์ในวันนั้นหรือว่าพวกเขาต้องเตรียมตัวสำหรับวัดถัดไป เรื่องที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือคอยจับตาดูอาการลงแดงหากพวกเขาเคยสูบบุหรี่มาก่อน สนับสนุนให้พวกเขาเข้าร่วมคลาสบำบัดและไปกับพวกเขาด้วย

เคล็ดลับข้อที่ 3: เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

คุณจะต้องไปตามนัดหมายพร้อมกับคนที่คุณรัก นี่คือโอกาสของคุณในการเรียนรู้ เขียนคำถามที่คุณอยากถามทีมดูแลสุขภาพในสมุดบันทึก เว้นที่ว่างไว้สำหรับเขียนคำตอบของพวกเขาในภายหลัง การจดข้อมูลเหล่านี้ไว้เป็นเรื่องที่ดีเพราะคุณอาจจำข้อมูลทั้งหมดไม่ได้ นอกจากยาแล้ว อย่าลืมถามคำแนะนำในการใช้อุปกรณ์และวิถีชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง

เคล็ดลับข้อที่ 4: คอยจับตาดูอาการที่กำเริบขึ้น

โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังอาจกำเริบขึ้นเมื่ออาการเลวร้ายลง คุณควรรู้สัญญาณที่บ่งบอกว่าอาการจะกำเริบเมื่อไหร่เช่นเดียวกับวิธีการป้องกัน โดยทั่วไป คุณควรโทรหาแพทย์เมื่อคนรักของคุณมี:

ปัญหาในการหายใจที่รุนแรงระหว่างทำกิจกรรมประจำวัน

ไอมากกว่าปกติหรือไอแล้วเจ็บหน้าอก

น้ำมูกเพิ่มมากขึ้นหรือสีของน้ำมูกเปลี่ยนไป

มือหรือเท้าบวม

กล้ามเนื้อเป็นตะคริว

เหน็ดเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย

มีปัญหาในการนอนที่เกี่ยวข้องกับการหายใจถี่

เพื่อเข้าใจคนรักและความต้องการของพวกเขา คุณจะต้องเอาใจใส่ อดทนและเข้าใจให้มาก การเป็นผู้ดูแลเป็นงานที่ยาก อย่างไรก็ตาม ไม่มีวิธีการดูแลผู้ป่วยแบบไหนที่ถูกหรือผิด คุณต้องลองหลากหลายวิธีเพื่อดูว่าวิธีไหนเหมาะสมที่สุด

19/03/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว