เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / หนุ่มสาวรับมืออย่างไร เมื่อระดับน้ำตาลแปรปรวน
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
หนุ่มสาวรับมืออย่างไร เมื่อระดับน้ำตาลแปรปรวน

การรับมือกับอาการระดับน้ำตาลในเลือดแปรปรวนในวัยรุ่น

อาการ

วัยรุ่นส่วนใหญ่รวมทั้งคุณ อาจต้องเตรียมรับมือกับโรคเบาหวานในทุกๆ วัน โดยทั่วไปแล้วอาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่บางครั้งคุณอาจอยากให้อาการนี้หายไปเช่นกัน

คุณเคยทำ…

  • ถามกับตัวเองว่า “ทำไมต้องเป็นฉันด้วย”
  • คิดว่าตัวคุณเป็นคนเดียวที่รู้สึกเศร้า บ้า โดดเดี่ยว หวาดกลัว หรือต่างจากผู้อื่น
  • เหน็ดเหนื่อยกับการที่ถูกคนอื่นล้อเลียนหากคุณอ้วน
  • โทษตัวเองหรือครอบครัวที่ทำให้คุณเป็นโรคเบาหวาน

ความรู้สึกเหล่านี้คือเรื่องปกติ วัยรุ่นจำนวนมากที่เป็นโรคเบาหวานก็รู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เป็นไรหากคุณจะรู้สึกโกรธ เศร้า หรือคิดว่าคุณแตกต่างจากเมื่อก่อนมาก แต่สุดท้ายคุณก็ต้องพยายามปรับตัวและรับผิดชอบตนเองให้รู้สึกดีขึ้น

ทุกคนก็ต่างรู้สึกผิดหวังเช่นเดียวกันกับคุณ

คุณยังคงรู้สึกเศร้าอยู่ใช่ไหม

ควรติดต่อขอความช่วยเหลือ พูดคุยกับใครสักคนในครอบครัว คนที่คุณเคารพ เพื่อนที่โรงเรียน คุณครู หมอหรือผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคเบาหวาน อาจจดบันทึกความรู้สึกลงในสมุดสักเล่ม หากคุณยังรู้สึกเศร้าควรบอกคุณพ่อคุณแม่เพื่อขอความช่วยเหลือหาที่ปรึกษา

คุณสามารถขอความช่วยเหลือได้

เพียงแค่บอกคนรอบข้าง

ยังมีหลายคนที่ห่วงใยและต้องการที่จะช่วยเหลือคุณให้มีสุขภาพดีและมีความสุข ทีมดูแลสุขภาพของคุณ (ผู้ให้คำปรึกษาโรคเบาหวาน นักโภชนาการ หมอ พยาบาลและนักจิตวิทยา) สามารถช่วยคุณเรียนรู้วิธีการเลือกอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพ หมั่นกระตือรือร้นและรู้สึกดีกับตนเอง ติดต่อกับทีมดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อทราบถึงอาการและความต้องการของคุณ

แจ้งที่โรงเรียนเกี่ยวกับอาการของคุณ

คุณพ่อคุณแม่ต้องแจ้งกับทางพยาบาลของโรงเรียน คุณครู และเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ เกี่ยวกับการรักษาโรคเบาหวาน แจ้งให้เพื่อนและคุณครูทราบว่าคุณเป็นโรคเบาหวานและต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เท่านั้น ควรรับประทานยาให้ตรงเวลาและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

อย่าให้โรคเบาหวานจำกัดคุณในการร่วมกิจกรรมของโรงเรียน คุณสามารถทำทุกกิจกรรมที่คนอื่นก็ทำได้เช่นกัน!

คุณแม่ คุณพ่อ และสมาชิกในครอบครัวต้องต่อสู้ไปด้วยกัน!

เมื่อทุกคนในครอบครัวร่วมมือกันก็สามารถรับมือกับโรคเบาหวานได้อย่างง่ายดาย เช่น

  • ให้ครอบครัวรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เช่นเดียวกับคุณ เช่น ผัก ผลไม้ ขนมปังธัญพืช เนื้อสัตว์ นม และเนยไขมันต่ำ ควรมีอาหารเหล่านี้ติดบ้านไว้เสมอ และไม่ควรชักจูงคุณให้รับประทานคุกกี้ เค้ก ลูกอมหรือน้ำอัดลม
  • ให้ทุกคนในครอบครัวออกกำลังกายมากขึ้น เช่น ชู้ตบาส ปาลูกบอล ปั่นจักรยาน หรือเดินเล่นด้วยกัน การออกกำลังกายยังช่วยให้คุณผ่อนคลายและลดความเครียด

สุขภาพที่ดีของคุณก็คือสิ่งที่ทำให้คุณคนในครอบครัวมีสุขภาพดีเช่นกัน

ต้องการที่จะพบปะกับวัยรุ่นคนอื่นๆ ที่รู้สึกเหมือนกับคุณหรือไม่

  • โปรแกรมและกลุ่มช่วยเหลือวัยรุ่นที่เป็นโรคเบาหวานสามารถเข้าร่วมได้ที่คลินิก ศูนย์สุขภาพ หรือโรงพยาบาล สอบถามผู้ให้คำปรึกษาโรคเบาหวานเพื่อขอความช่วยเหลือโปรแกรมที่เหมาะสมกับคุณ
  • เข้าร่วมค่ายฤดูร้อนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อลดน้ำหนัก คุณสามารถทำทุกอย่างเหมือนกับคนอื่นได้ เช่น การว่ายน้ำ ปีนเขา เต้นและอื่นๆ แต่ส่วนที่ดีที่สุดคือการเข้าร่วมกับสมาชิกที่เป็นโรคเบาหวานและต้องการลดน้ำหนักเช่นเดียวกับคุณ ในบางค่ายอาจมีการออกค่ายใช้จ่ายช่วยเหลือให้สำหรับวัยรุ่นที่เข้าค่าย
  • ค้นหากลุ่มช่วยเหลือออนไลน์ หรือชุมชนออนไลน์ของวัยรุ่นที่เป็นโรคเบาหวาน บางครั้งอาจเป็นการดีที่คุณสามารถแบ่งปันความรู้สึกเมื่อเป็นโรคเบาหวานกับใครสักคน
  • ตรวจสอบแหล่งข้อมูลในตอนท้ายของเอกสารนี้

ยังคงเป็นเพื่อนฉันหรือไม่

เคยกังวลว่าเพื่อนของคุณอาจมีความคิดผิดๆ เกี่ยวกับโรคเบาหวานหรือไม่

  • บอกเพื่อนของคุณว่าคุณเป็นโรคเบาหวาน คุณไม่จำเป็นต้องเก็บไว้คนเดียว ยิ่งเพื่อนรู้จักโรคเบาหวานมากเท่าไรพวกเขายิ่งเข้าใจคุณมากขึ้น อธิบายว่าร่างการของคุณต้องได้รับอาหารที่มีประโยชน์
  • เข้าใจว่าทุกๆ คนไม่อาจรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับอาการเบาหวานของคุณได้
  • เพื่อนที่ดีจะช่วยคุณหาทางออก พวกเขาจะเข้าใจถึงความต้องการของคุณและให้การสนับสนุน ควรเลือกคบเพื่อนที่จะช่วยเหลือคุณในการเลือกรับประทานอาหารนอกบ้านที่เป็นประโยชน์ได้

ถูกล้อเลียนเรื่องโรคเบาหวานและน้ำหนักของคุณ

อธิบายและขอร้องพวกเขาหยุดล้อเลียน

เริ่มพูดคุยกับใครสักคน จดบันทึกความรู้สึกของคุณลงในสมุดบันทึก และส่งอีเมล์หาเพื่อน

ถึงเวลาแล้วที่คุณต้องทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับการดูแลรักษาโรคเบาหวานของคุณ

  • กำหนดเป้าหมายในสิ่งที่คุณจะทำ เริ่มต้นจากก้าวเล็กๆ เพียงลำพัง เช่น “ฉันจะลดการดื่มน้ำอัดลมและดื่มน้ำเปล่าแทน” เมื่ออาการดีขึ้นให้เริ่มขั้นต่อไป เพิ่มเป้าหมายอีก “ฉันจะเต้นหรือปั่นจักรยานควบคู่กันไปสัปดาห์ละ 1 ครั้ง” เพิ่มเป้าหมายขึ้นอีก “ฉันจะทานคุกกี้ เบอเกอร์ และของทอดให้น้อยลง”
  • พยายามเพิ่มเป้าหมายที่ยากขึ้นเรื่อยๆ หากคุณเริ่มชู้ตบาสสัปดาห์ละ 2 ครั้ง พยายามเพิ่มกิจกรรมในอีก 3 วันที่เหลือ เพิ่มเป้าหมายขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงระดับที่เหมาะสมกับคุณ
  • หลีกเลี่ยงเป้าหมายที่ยากเกินไป เช่น แทนที่คุณจะตั้งเป้าหมายว่าไม่ทานเบอเกอร์หรือลูกอมอีกเลย ให้เปลี่ยนเป็น ฉันจะทานเบอเกอร์และลูกอมเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  • บอกครอบครัวและเพื่อนเกี่ยวกับเป้าหมายที่คุณตั้งไว้ บางครั้งพวกเขาอาจจะสนับสนุนหรือช่วยเหลือคุณ
  • ให้รางวัลแก่ตัวเองเมื่อบรรลุเป้าหมาย รางวัลอาจเป็นอะไรก็ได้ไม่ใช่แค่อาหารเท่านั้น คุณไม่จำเป็นต้องบรรลุเป้าหมายทั้งหมดภายในครั้งเดียว อาจเริ่มต้นด้วยหนึ่งหรือสองและค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น

จดบันทึกเป้าหมาย 3 อันดับแรกของคุณ หรือใช้แผนภูมิร่วมด้วย

เขียนเป้าหมาย 3 อันดับแรกของคุณ

กำหนดเป้าหมายที่คุณสามารถทำสำเร็จได้จริง ใส่วันที่ที่เริ่มกำหนดเป้าหมายและวันที่ที่คุณทำสำเร็จ

เริ่มทำทันที!

ค่อยๆ ลองทำทีละขึ้นตอน ตัดสินใจเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดน้ำหนัก เร็วๆ นี้ คุณอาจสังเกตเห็นคว

19/03/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว