เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วคืออะไร

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation (AF)) คือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจจะมีอัตราการเต้นไม่สม่ำเสมอ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วเกิดจากแรงกระตุ้นไฟฟ้าของหัวใจห้องบนขวา เนื่องจากสัญญาณแรงกระตุ้นไฟฟ้ามีกระแสไม่ต่อเนื่อง จึงส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นไม่ต่อเนื่อง เต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ คุณจะรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วจนเกินไปหรือมีอาการที่ไม่สามารถคาดเดาได้

คำจำกัดความของ “การตัดออก”

คำว่า “การตัดออก (Ablation)” มาจากคำว่า “Ablate” ที่แปลว่า “ลบออก หรือ ทำลาย” ในแง่ของภาวะวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิดสั่นพลิ้ว หมายถึงตัวเลือกหนึ่งในการรักษาเมื่อยาไม่สามารถรักษาหรือควบคุมการทำงานของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิดสั่นพลิ้วได้ การผ่าตัดคือขั้นตอนที่ทำให้เกิดแผลเล็กน้อยบริเวณเนื้อเยื่อหัวใจ บริเวณเป้าหมายของแผลคือแหล่งกำเนิดแรงกระตุ้นไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว เมื่อเนื้อเยื่อได้รับผลกระทบหรือเกิดความเสียหาย จะไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่สม่ำเสมอเข้าสู่หัวใจได้อีก ตำแหน่งแผลขึ้นอยู่กับขั้นตอนในการผ่าตัด รวมไปถึงประเภทการรักษา เช่น

  • การกระตุ้นหัวใจห้องบนขวา
  • การผ่าตัดใส่หลอดสวน
  • การผ่าตัดหลอดเลือดดำในปอด
  • การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

การเตรียมพร้อมการผ่าตัดใส่หลอดสวน

การผ่าตัดรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วควรผ่าตัดในโรงพยาบาล ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โดยเฉพาะก่อนถึงขั้นตอนการผ่าตัด เช่น

  • ตรวจสอบการทำงานของเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีสุขภาพแข็งแรงพอสำหรับการผ่าตัด
  • ใช้ยาเจือจางเลือดก่อนเข้ารับการผ่าตัดเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อป้องกันเลือดอุดตัน
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือการเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจสอบกระบวนการทำงานของเส้นเลือด
  • อดอาหารหลังเที่ยงคืนก่อนวันผ่าตัด

แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่น ๆ ที่คุณกำลังรับประทาน คุณอาจจำเป็นต้องหยุดใช้ยาชั่วคราวเพื่อมาตรการการป้องกันก่อนการผ่าตัด

ระหว่างการผ่าตัด

การผ่าตัดสอดท่อ ควรปฏิบัติด้วยความใจเย็นและตั้งใจ ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยจะยังคงตื่นอยู่และควรระมัดระวังอย่างมาก แต่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บใดๆ ด้วยการใช้ยาชาเฉพาะที่ แพทย์จะสอดท่อยืดหยุ่นขนาดเล็กและบางเข้าภายในหลอดเลือดดำบริเวณขาหนีบ บางครั้งจะสอดเข้าหลอดเลือดดำบริเวณคอแทน จะใช้การเอกซเรย์ชนิดพิเศษที่เรียกว่า ฟลูโอโรสโคป เพื่อดูตำแหน่งของท่อ เมื่อท่ออยู่ในตำแหน่งที่ต้องการแล้ว แพทย์จะเริ่มส่งคลื่นวิทยุผ่านท่อ ส่วนปลายท่อจะมีความร้อนจากคลื่นวิทยุ ซึ่งจะใช้ความร้อนกับเนื้อเยื่อหัวใจที่เสียหาย การผ่าตัดนี้มักใช้เวลาหลายชั่วโมง

การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก

ขั้นตอนการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก เรียกว่า “การผ่าตัดที่มีขนาดแผลเล็กลง” และสามารถรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กโดยทั่วไปจะใช้เวลาไม่นานเท่าการผ่าตัดแบบปกติ ซึ่งจะใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3-4 ชั่วโมง เมื่อผ่าตัดเสร็จจะมีเพียงรอยที่มีขนาดพอสำหรับการส่องกล้องและท่อสวนแผลเล็กๆ บริเวณข้างลำตัวหรือใต้รักแร้  คลื่นวิทยุจะสามารถกำจัดเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะไชนิดสั่นพลิ้วได้

การฟื้นตัว

ผู้ป่วยจากการผ่าตัดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยอาจอยู่โรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน เพื่อให้แพทย์สามารถตรวจสอบการทำงานของหัวใจผู้ป่วย หลังจากการผ่าตัดผู้ป่วยอาจมีอาการกระตุกในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก ยาเจือจางเลือดจะช่วยป้องกันปัญหาต่าง ๆ เช่น ลิ่มเลือด ผู้ป่วยอาจใช้ยายารักษาการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ เพื่อควบคุมอัตราการทำงานของคลื่นไฟฟ้าที่ยังไม่เข้าที่เข้าทาง และผู้ป่วยจะกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ภายใน 2 สัปดาห์

ภาวะแทรกซ้อน

ถึงแม้ว่าการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กจะมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ แต่การผ่าตัดไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม ก็ยังมีความเสี่ยงของเลือดอุดตัน เนื่องจากการเจาะเข้าสู่หัวใจอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองได้ ตามข้อมูลบันทึกเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือด มีบุคคลเพียง 1-2% เท่านั้นที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ ความเสียหายของหลอดอาหารคือหนึ่งในความเสี่ยงเนื่องจากหัวใจห้องบนซ้ายนั้นอยู่ด้านหลังของหลอดอาหาร และการตีบของหลอดเลือดในปอดก็ยังเป็นอีกหนึ่งผลข้างเคียงจากการผ่าตัด อาการหลอดเลือดตีบอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดและปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับหลอดเลือดดำ

ผลลัพธ์ที่ได้

อัตราความสำเร็จของการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กนั้น แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะของผู้ป่วย การผ่าตัดมีประสิทธิ 30-90% ผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้นหัวใจไม่สม่ำเสมอหลังจากที่ได้รับการผ่าตัดแล้วจะมีอาการดีขึ้นมากกว่าแย่ลง แต่ไม่สามารถรักษาอาการให้หายขาดได้

19/03/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว