เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ทำไมแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านยาจึงไม่ยอมกินยา
ทำไมแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านยาจึงไม่ยอมกินยา

มีข่าวออกมาอย่างไม่เป็นทางการว่า นายสมาคมเภสัชกรญี่ปุ่นบอกสื่อก่อนลงจากตำแหน่งว่า ผู้ป่วยทั้งหลาย จงอย่าใช้ยา เพราะยาคือพิษ กินไปก็ไม่หาย โรคภัยไข้เจ็บยังเกิดขึ้นได้ก็จากการกินยานี่อีก เมื่อมียาที่ออกฤทธิ์เฉพาะทางนำออกมาจำหน่ายสู่ท้องตลาด ก็จะพบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น จริงเท็จประการใดไม่ทราบ แต่ที่แน่ ๆ คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่อายุยืนจะไม่ค่อยใช้ยา

ตัวอย่างเช่นชาวบ้านในนางาโนะที่มีประชากรอายุยืนที่สุด และชาวนางานโนะใช้เงินกับการรักษาพยาบาลน้อยที่สุด และได้ขึ้นแท่นเป็นเมืองที่ “ชายหญิงอายุยืนที่สุดในญี่ปุ่น” ในปี ค.ศ. 2013 โดยอายุเฉลี่ยของประชากรชายในเมืองนางาโนะอยู่ที่ 80.88 ปี และหญิง 87.18 ปี และจำนวนแพทย์ต่อเตียงผู้ป่วย เคสการรักษา ระยะเวลาที่เข้ารักษา ก็อยู่ในระดับที่ต่ำของประเทศเช่นกัน และจากสถิติพบว่า คนนางาโนะจะเสียชีวิตในบ้านหรือเสียชีวิตระหว่างการรักษาด้วยตัวเองถึง 14.9 เปอร์เซ็นต์ นั่นแหลว่า คนนางานโนะส่วนใหญ่ไม่ไปหาหมอและมีชีวิตยืนยาวมากที่สุด

บ่อยครั้งที่เราจะได้ยินว่า คนที่มีสุขภาพดี เมื่อเข้ารับการรักษาโรคแล้ว อาการก็จะแย่ลง เช่น โรคมะเร็ง และจะเสียชีวิตเร็วมากหรือกลายเป็นผู้ป่วยนอนติดเตียง ยาต้านมะเร็งหรือเคมีบำบัดส่วนใหญ่เป็นยาอันตราย เช่นเดียวกับการรับยาฆ่าแมลงเข้าสู่ร่างกาย แม้คนที่มีสุขภาพดี เมื่อใช้ยาอย่างต่อเนื่องแล้ว เซลล์ปกติของร่างกายจะถูกทำลายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด

งานวิจัยบางชิ้นบอกว่า ยากว่าร้อยละ 90 ปกปิดความจริง ด้วยตัวเลขปลอมหรือกลบเกลื่อนอาการป่วยและยังมีผลข้างเคียงที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง นายแพทย์คนโดะ มากาโตะ แพทย์ประจำภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคโอ เล่าประสบการณ์ และบวกกับงานวิจัยบางชิ้น ให้ฟังว่า

  • การใช้ยาลดไข้หรือยับยั้งอาการท้องเสียจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นหรือเป็นนานขึ้น
  • ถ้าใช้ยาแก้ปวดหรือแผ่นบรรเทาปวดจนติด อาการปวดจะรุนแรงขึ้นในครั้งต่อ ๆ ไปเพราะเกิดการดื้อยาขึ้น
  • การใช้ยาลดความดันโลหิตสูงหรือยาลดคอเลสเตอรอลทำให้สมองขาดเลือด หลงลืมและสมองเสื่อม
  • การลดระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไปจะทำให้ช็อกหมดสติ มีโอกาสเสียชีวิตฉับพลันสูง
  • ยาระงับประสาท ยาแก้โรคซึมเศร้า ยานอนหลับ ทำให้เมื่อยล้าและมีโอกาสเสพติดได้ และอาจก่อให้เกิดเหตุฆ่าตัวตาย ก่อเหตุฆาตกรรม หรือใช้ความรุนแรง เป็นต้น
  • วิตามินไม่ได้ช่วยในการรักษา การกินบีตาแคโรทีนมากเกินไปจะทำให้เกิดมะเร็งได้

พูดตรง ๆ คือ หากป่วยแล้วต้องกินยาหรือใช้ยา นั่นแหลว่าเรากำลังเอาชีวิตเราไปเสี่ยง แต่อย่างไรก็ตาม ชีวิตประจำวันชองเรา โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน หรือฟรีแลนซ์ทั้งหลาย ที่ห้ามป่วย ห้ามตาย ห้ามลา ฯลฯ จำเป็นต้องพึ่งยากันทั้งนั้น และคำแนะนำของ ทีมเช็คสุขภาพ ก็คือ กินยาได้ หายแล้วเลิกกิน ที่สำคัญกินตามที่เภสัชกรแนะนำ ห้ามซื้อยาอันตรายกินเอง ยกเว้นยาบรรจุเสร็จหรือยาสามัญประจำบ้าน ยาอาจจะไม่ฆ่าเราวันนี้ แต่แน่นอน ชีวิตเราคงอยู่ไม่ได้นานกว่าที่ควรจะเป็น

อ้างอิง:

คนโดะ มากาโตะ. (2560). 47 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนใช้ยา: อย่าให้ยาฆ่าคุณ. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์นานมีส์

07/05/2018
วณิชชา สุมานัส

วณิชชา สุมานัส

บรรณาธิการบริหารเว็บไซต์ "เช็คสุขภาพ" และ "ถามหมอ"

จบหลักสูตรผู้ช่วยเภสัชการร้านยา จบหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลดูและเด็กและผู้สูงอายุ เคยทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาลห้องผ่าตัด; จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยนเรศวร; ปริญญาโทภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยรามคำแหง; ประกาศนียบัตรบัณฑิต ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; ประกาศนียบัตรบัณฑิต ภาษาอังกฤษเฉพาะวิชาชีพ (กฎหมาย) และ (สาธารณสุข) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; ประกาศนียบัตรบัณฑิต การเขียนเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเปิดอินทิรา คานธี (กรุงนิวเดลี) และ ประกาศนียบัตรบัณฑิต การเขียนเชิงสร้างสรรค์และสื่อสารมวลชน (ลอนดอน สกูล ออฟ เจอนัลลิสซึม --- กรุงลอนดอน)

บทความอื่นๆ
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ให้ความรู้โรคระบบทางเดินหายใจแก่ประชาชน
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เปิดตัวโครงการให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจที่สามารถ

WHO เฝ้าระวัง ปอดอักเสบ ในทุกวัย
WHO ออกแถลงการณ์ พบกลุ่มผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ-ปอดบวม ระบาดในเด็กมากขึ้นทางตอนเหนือของจีน โดยหวั่นกันว่า อาจเกิดการระบาดใหญ่อีกระลอก พร้อมเรียกร้องให้จีนเผยข้อมูล

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ผนึกกำลังภาครัฐ - นักวิชาการแพทย์ เร่งขับเคลื่อนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
เนื่องในวันที่ 10 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น “วันแห่งการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว