เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / เป็นเบาหวาน แต่ทำไมไตเสื่อม
เป็นเบาหวาน แต่ทำไมไตเสื่อม

เคยสงสัยไหมคะว่า..ทำไมเป็นเบาหวานนาน ๆ แล้วถึงเป็นโรคไต เหตุผลก็เพราะว่า พอเป็นเบาหวาน จะทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายขาดพลังงาน รวมถึงเซลล์ของไตด้วย พอเซลล์ไตขาดพลังงานอยู่ตลอดเวลา ก็เลยทำให้ไตเสื่อมนั่นเอง และอีกอย่าง การที่ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ไตทำงานหนักจนเกิดการเสื่อมสภาพ เพราะไตมีหน้าที่กรองสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้คงไว้ในร่างกายให้มากที่สุด และน้ำตาลก็เป็นสารอาหารที่ดี ดังนั้น ไตจึงต้องทำงานหนักตลอดเวลาถ้าน้ำตาลในเลือดสูง ดังนั้น คนที่เป็นโรคเบาหวาน จึงมีโอกาสที่จะเป็นโรคไตด้วยถึง 40% ที่สำคัญ พอเป็นเบาหวานและไตแล้ว
แน่นอนว่า การจะคุมทั้ง 2 อย่างให้ได้ดี ก็ต้องใช้ความรู้และการดูแลตัวเองที่ยากขึ้นมาอีกระดับนึงด้วย

วันนี้อายเลยสรุปข้อมูล เรื่องโรคไตที่เกิดจากเบาหวานมาฝากกันค่ะ แต่ก่อนจะไปดูกันต่อ ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์กับคุณ  หรือกับเพื่อน ๆ ของคุณ ช่วยแชร์กันไปได้เลยนะคะ อายจะขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ

เบาหวานที่ส่วนใหญ่มักเป็นกันเยอะ มาจาก 2 สาเหตุ

1. ตับอ่อนสร้างเจ้าอินซูลินออกมาไม่พอ ก็เลยลดน้ำตาลได้น้อยมาก ๆ จนเรียกได้ว่า ขาดอินซูลิน เลยทีเดียว โดยแบบนี้ ถือเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 (ชนิดฉีดอินซูลิน) มักจะพบในเด็กและวัยรุ่น จะควบคุมระดับน้ำตาลได้ยาก และจะต้องฉีดยาตลอด

2. ตับอ่อนส่งอินซูลินออกมาได้ แต่อินซูลินดันไม่ออกฤทธิ์ ก็เลยมาช่วยลดน้ำตาลไม่ได้ นี่จึงทำให้ เกิดเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (ชนิดไม่ต้องฉีดอินซูลิน) มักพบในผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 40 ปี ส่วนใหญ่จะเน้นการคุมอาหาร ลดน้ำหนัก หรือบางคนก็ได้รับยามาทานเพื่อลดน้ำตาลในเลือด และตัวแปรสำคัญ ที่ชี้วัดว่า เราคุมน้ำตาลได้ดีแค่ไหน ก็จะดูที่ค่า “A1c”
ในใบผลเลือด *ผู้ป่วยที่คุมได้ดี ค่า A1c จะมีค่าน้อยกว่า 7%*

วิธีควบคุมค่าไต ที่เกิดจากเบาหวาน

– คุมความดันโลหิต ไม่ให้สูงเกินไป เพราะยิ่งความดันสูง ไตก็ยิ่งเสื่อมเร็วขึ้น
– ควบคุมระดับไขมัน เพราะถ้าไขมันสูงเกินไป เส้นเลือดก็จะอุดตัน มีปัญหาหลอดเลือด และทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นเช่นกัน โดยไขมัน LDL ควรน้อยกว่า 100 มก.%
– งดสูบบุหรี่ ข้อนี้หลายคนอาจสงสัย ว่าบุหรี่เกี่ยวอะไรกับไต จริง ๆ แล้วการสูบบุหรี่นั้น ทำให้เกิดการปรับสมดุลของแร่ธาตุในร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อค่าไตด้วยเหมือนกัน เพราะต้องมีการกำจัดสารพิษค่ะ
– ออกกำลังกาย จะช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ง่ายขึ้น และช่วยเรื่องค่าไตไปด้วย ผู้ป่วยที่อ้วน ถ้าลดน้ำหนักได้จะถือว่าดีมากๆ ค่ะ
– หลีกเลี่ยงการใช้ยาสมุนไพร ที่มีผลต่อไตทั้งหลาย ถ้าสงสัยว่าจะทานได้ไหม

ปรึกษาเภสัช พยาบาล หรือแพทย์ทุกครั้งนะคะ ตอนนี้ใครที่เป็นเบาหวานอยู่ แต่ยังไม่ได้เป็นโรคไต อายแนะนำตรวจค่าไตเอาไว้ด้วยนะคะ ส่วนใครที่เป็นเบาหวานและไตแล้ว ก็ดูแลตัวเองหรือคนที่เรารักให้มีความสุขและแข็งแรง ๆ กันถ้วนหน้านะค๊าา อ่านจบแล้ว อย่าลืมแชร์บทความนี้ ให้คนที่คุณรักกันด้วยนะค๊าา ขอบคุณมากค่ะ

เครดิต: KidneyMeal

ข้อมูลอ้างอิง : หนังสือ กลเม็ดเคล็ดลับ ทำอย่างไรไตไม่วาย โดย สปสช.

27/05/2018
สุภัทรา ธรรมสัญจร

สุภัทรา ธรรมสัญจร (อาย)

ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ หรือ Non-Communicable Diseases (NCDs) และเป็นโรคที่คนไทยจำนวนมากป่วยกันเป็นอันดับต้น ๆ 

สุภัทรา ธรรมสัญจร จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์อาหาร (Food Science) จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยโรคไตมากว่า 10 ปี ปัจจุบันเป็นบลอกเกอร์ด้านอาหารเพื่อสุขภาพชื่อดัง ทั้งเพจและเว็บไซต์ "ฟอกไตกินอะไรดี" และได้รับการตอบรับจากชุมชนคนรักสุขภาพทั่วประเทศ

บทความอื่นๆ
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ให้ความรู้โรคระบบทางเดินหายใจแก่ประชาชน
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เปิดตัวโครงการให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจที่สามารถ

WHO เฝ้าระวัง ปอดอักเสบ ในทุกวัย
WHO ออกแถลงการณ์ พบกลุ่มผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ-ปอดบวม ระบาดในเด็กมากขึ้นทางตอนเหนือของจีน โดยหวั่นกันว่า อาจเกิดการระบาดใหญ่อีกระลอก พร้อมเรียกร้องให้จีนเผยข้อมูล

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ผนึกกำลังภาครัฐ - นักวิชาการแพทย์ เร่งขับเคลื่อนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
เนื่องในวันที่ 10 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น “วันแห่งการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว