เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / คนไทยพยายามฆ่าตัวตายเพราะ โรคซึมเศร้า เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
คนไทยพยายามฆ่าตัวตายเพราะ โรคซึมเศร้า เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน

โรคซึมเศร้า

เว็บไซต์ เช็คสุขภาพ (Checksukkaphap) รายงานตามคำให้สัมภาษณ์ของ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กับสื่อท้องถิ่นว่า แต่ละปีจะมีคนไทยพยายามฆ่าตัวตายปีละ 53,000 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน ทั้งนี้ ทั้งนี้ จำนวนผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จอยู่ที่ 4,000 คน

ในปี 2561 อัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยอู่ที่ 6.11 คน ต่อชั่วโมง เพิ่มขึ้นจาก 6.03 คนต่อชั่วโมงในปี 2550 โดยเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 4 เท่า ช่วงอายุที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุดของเพศชายอยู่ที่ 35-39 ปี ส่วนผู้หญิงอยู่ที่ 50-54 ปี

หลังจากทำการศึกษาแล้วพบว่า สาเหตุของการฆ่าตัวตายส่วนใหญ่เกิดจากโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย

โรคซึมเศร้าคืออะไร

โรคซึมเศร้า สาเหตุ เกิดจากปัญหาหลายอย่างเข้ามารุมเร้าผู้ที่เป็นโรค ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านความสัมพันธ์ ความรัก ปัญหาด้านการใช้สุราและยาเสพติด

โรคซึมเศร้า สัญญาณ

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีสัญญาณเตือนหลายอย่าง และต่อไปนี้เป็นสัญญาณเตือนเบื้องต้น

โรคซึมเศร้า สาเหตุ

โรคซึมเศร้ามีหลายสาเหตุ ได้แก่

  • มีความผิดปกติในสมอง เช่น สารสื่อประสาท ฮอร์โมน และวงจรประสาท
  • ผู้ที่มีคนใกล้ชิดเป็นโรคซึมเศร้าจะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่า
  • สภาพจิตใจของแต่ละคนอันเนื่องมาจากการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมและสังคมที่เลวร้าย ทำใหตัวเองรู้สึกมองโลกในแง่ลบตลอดเวลา และขาดความภูมิใจในตัวเอง
  • อาจเกิดความผิดปกติทางด้านร่างกาย เช่น พิการ มีโรคทางกาย ฯลฯ

โรคซึมเศร้า รักษา

  • การรักษาด้วยการกินยา

การรักษาโรคซึมเศร้า แพทย์อาจให้ยาแก้โรคซึมเศร้า ตามประเภทและการ

  • กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเฉพาะการดูดกลับของเซโรโทนิน (Serotonin) เช่น กลุ่ม Selective Serotonin Re-uptake Inhibitors (SSRI) ยาดังกล่าวมีผลต่อสารเคมีในสมอง ใช้เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า โรคกลัว โรควิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ นอกจากนี้ ยานี้ยังนำมาใช้รักษาโรคอ้วนซึ่งเกิดจากความผิดปกติในการรับประทานอาหาร และผู้ป่วยที่คิดจะทำร้ายตัวเอง ทั้งนี้ การรักษาด้วยยาจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต้องกินยาต่อเนื่อง

ยากลุ่มนี้นิยมกันมาเพราะมีผลข้างเคียงต่ำ หากได้รับยาเกินขนาด ผลข้างเคียงก็จะต่ำกว่ายากลุ่มอื่น ได้แก่ ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) หรือชื่อการค้าว่า โพรแซค (Prozac) หรือยาชนิดอื่นของหลุ่มนี้ ได้แก่ ซิตาโลแพรม (Citalopram) พารอกซิทีน (Paroxitine) และเซอทราลีน (Sertraline)

  • กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดกลับของเซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์อะดรีนาลีน (Nor-adrenaline) หรือ SNRIs (Serotonin-noradrenaline re-uptake inhibitors) ซึ่งกลุ่มนี้จะคล้ายกับ SSRIs โดยยาดังกล่าวได้แก่ ดูลอกซิทีน (Duloxitine) และเวนลาฟาซีน (Venlafaxine)

การรักษาด้วยการบำบัด หรือทำด้วยตัวเอง

โรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเน้นแนวทางการป้องกันการฆ่าตัวตาย ซึ่งสามารถทำได้จากคนรอบข้าง เช่น ครอบครัว ญาติ เพื่อสนิท คนใกล้ชิด ชุมชน และสังคม และให้การทำการปรึกษาทางจิตวิทยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับความคิดและมุมมองก็จะช่วยได้

หมายเหตุ: 

เว็บไซต์ CheckSukkaphap (เช็คสุขภาพ) ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ ไม่ได้ทำการวินิจฉัยโรค หรือไม่ได้รักษาโรคแต่อย่างใด

แหล่งที่มา:

เช็คสุขภาพ. (2561). รู้หรือไม่ ... ยาแก้โรคซึมเศร้าไม่ได้ช่วยให้หายซึมเศร้าจริง ๆ. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2562

WebMD. (2019). Depression in Bipolar Disorder: What You Can Do. Accessed on 12 October 2019. 

Medical News Today. (2019). What is depression and what can I do about it?. Accessed on 12 October 2019.

 

11/10/2019
บทความที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จุฬายีนโปร เชิญผู้สื่อข่าวมารณรงค์ให้ความรู้เสริมสร้างความเข้าใจ “โรคมะเร็งปอด” พร้อมแนะนวัตกรรมการตรวจยีนมะเร็งนำไปสู่การรักษาที่มี



สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย (PDIST) ผนึก มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน สร้างเสริมภูมิคุ้มกันเด็กไทยห่างไกลโรคไอพีดี



องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เตรียมเปิดตัวน้ำมันกัญชาทางการแพทย์อย่างเป็นทางการ 7 สิงหาคมนี้ ระบุ เกรดการแพทย์เทียบเท่ามาตรฐานโลก ล็อตแรก 3 สูตร รวม 6,500 ขวด


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว