เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ตำแย (Nettle)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ตำแย (Nettle)

สรรพคุณของตำแย

รากตำแย

ใช้สำหรับปัญหาการถ่ายปัสสาวะที่เกี่ยวกับโรคต่อมลูกหมากโต (BPH) ปัญหานี้รวมถึงการถ่ายปัสสาวะในเวลากลางคืน การถ่ายปัสสาวะบ่อย ความเจ็บปวดจากการถ่ายปัสสาวะ การถ่ายปัสสาวะไม่ออก และกระเพาะปัสสาวะไวต่อการกระตุ้น อีกทั้งความเจ็บป่วยที่ข้อต่อ เป็นยาขับปัสสาวะ และเป็นยาสมานแผลด้วย

ส่วนของตำแยที่อยู่เหนือพื้นดิน

  • ส่วนของตำแยที่อยู่เหนือพื้นดินใช้กับของเหลวปริมาณมากที่เรียกว่า “อิลลิเกรชั่น เทอเรอพี (irrigation therapy)” สำหรับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI) การอักเสบทางเดินปัสสาวะ และนิ่วในไต และใช้สำหรับโรคภูมิแพ้ ไข้ละอองฟาง และโรคข้อเสื่อม
  • บางคนใช้ตำแยส่วนนี้สำหรับเลือดออกภายใน รวมถึงเลือดออกในมดลูก เลือดกำเดาไหล และเลือดออกในลำไส้ อีกทั้งยังใช้สำหรับภาวะโลหิตจาง การไหลเวียนโลหิตไม่ดี ม้ามขยายตัว โรคเบาหวาน ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ กรดในกระเพาะอาหาร อาการท้องร่วงและโรคบิด โรคหืด การคั่งของปอด ผื่นคันและโรคเรื้อนกวาง มะเร็ง ป้องกันริ้วรอยความแก่ การขจัดสารพิษในเลือด รักษาแผล และเป็นยาบำรุงทั่วไป
  • นอกจากนี้ ยังทาบนผิวบรรเทาอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ หนังศีรษะมัน ผมมัน และผมร่วง

ตำแยอาจจะใช้กับอย่างอื่น สอบถามแพทย์ หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

 

กลไกการออกฤทธิ์:

ตำแยประกอบด้วยส่วนผสมที่ช่วยลดการอักเสบและเพิ่มน้ำปัสสาวะ ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์ 

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรทราบก่อนใช้ตำแย

ควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หากอยู่ในอาการตามลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นช่วงควรรับยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น
  • กำลังใช้ยาชนิดอื่น  ซึ่งรวมทั้งยาที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารที่อยู่ในตำแย หรือแพ้ยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

ข้อกำหนดของการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป ควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อรับรองความปลอดภัยและมั่นใจว่ามีคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

 

ความปบอดภัยจากการใช้ตำแย

สตรีตั้งครรภ์และผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร

ตำแยค่อนข้างอันตรายสำหรับหญิงตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อการหดรัดตัวมดลูกและสาเหตุของการแท้งโดยธรรมชาติ ทางที่ดีที่สุด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ตำแยระหว่างตั้งครรภ์

 

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการใช้ตำแย

ตำแยอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ดังต่อไปนี้:

  • ปวดท้อง
  • ภาวะคั่งน้ำ
  • ภาวะเหงื่อออก
  • อาการท้องร่วง
  • ลมพิษ
  • ผื่นคัน
  • ระคายเคืองผิว

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจจะมีอาการของผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา

เกิดปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อใช้ตำแย

ตำแยอาจทำปฏิกิริยากับยาที่กำลังใช้อยู่หรือส่งผลกระทบกับการรักษาในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

สภาวะสุขภาพหรือยารักษาโรค:

ยาต้านเกร็ดเลือดและยากันเลือดเป็นลิ่ม

ตำแยอาจส่งผลกับการแข็งตัวของเลือด และอาจแทรกแซงประสิทธิภาพของยาเจือจางเลือด เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin เช่น Coumadin) โคลพิโดเกรล (Clopidogrel เช่น Plavix) แอสไพริน (Aspirin)

 

ยาสำหรับความดันโลหิตสูง

ตำแยอาจลดความดันโลหิต ดังนั้นตำแยอาจมีผลกระทบกับยาเหล่านี้

  • เอซีอี อินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors): แคปโตพริล (Captopril เช่น Capoten), อีลาโรพริล (Elaropril เช่น Vasotec), ลิซิโนพริล (lisinopril เช่น Zestril), โฟซิโนพริล (fosinopril เช่น Monopril)
  • เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-blockers): อะทีโนลอล (Atenolol เช่น Tenormin), เมโทโพรลอล (metoprolol เช่น Lopressor, Toprol XL), โพรพราโนลอล (propranolol เช่น Induran)
  • แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blockers): ไนเฟดิปีน (Nifedipine เช่น Procardia), แอมโลดิปีน (amlodipine เช่น Norvasc), เวอราปามิล (verapamil เช่น Calan, Isoptin)

 

ยาขับปัสสาวะ

ตำแยสามารถทำหน้าที่เป็นยาขับปัสสาวะ จึงเพิ่มผลกระทบของยาจำพวกนี้ และเพิ่มความเสี่ยงของภาวะขาดน้ำ เช่น ฟูโรซีไมด์ (Furosemide เช่น Lasix), ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (Hydrocholorothiazide)

 

ยาสำหรับโรคเบาหวาน

ตำแยอาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำลงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย

 

ลิเธียม

ตำแยอาจมีผลเป็นยาขับปัสสาวะ และอาจลดความสามารถของร่างกายในการกำจัดยานี้ได้

 

ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์  (Nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs))

ในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ คนป่วยโรคข้ออักเสบอย่างรุนแรงให้เคี่ยวใบตำแยเพื่อเพิ่มผลการต้านอักเสบของไดโคลฟีเนค (diclofenac) และ NSAID ถึงแม้ว่าผลที่ได้รับสามารถลดความเจ็บปวด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ตำแย ถ้าคุณใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์อยู่

 

โรคเบาหวาน

งานวิจัยระบุว่าส่วนของตำแยที่อยู่เหนือพื้นดินอาจลดระดับน้ำตาลในเลือด และอาจเพิ่มโอกาสให้น้ำตาลในเลือดของผู้ที่รักษาโรคเบาหวานต่ำได้ ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานและใช้ตำแย ควรตรวจสอบน้ำตาลในเลือดอย่างระมัดระวัง

 

ความดันโลหิตสูง

ส่วนของตำแยที่อยู่เหนือพื้นดินอาจลดความดันโลหิต ทางทฤษฎี ตำแยอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้ความดันโลหิตลดลงมากเกินไปในคนที่มีแนวโน้มความดันโลหิตต่ำ ถ้าคุณเป็นความดันโลหิตต่ำ ปรึกษาผู้ให้บริการด้านการแพทย์ก่อนการใช้ตำแย

 

ปัญหาเกี่ยวกับไต

ส่วนของตำแยที่อยู่เหนือพื้นดินอาจเพิ่มการไหลของน้ำปัสสาวะ หากมีปัญหาเกี่ยวกับไต ควรปรึกษาผู้ให้บริการด้านการแพทย์ก่อนการใช้ตำแย

 

ปริมาณของยา

ข้อมูลนี้ไม่ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาชนิดนี้ทุกครั้ง

 

ปริมาณทั่วไปของการใช้ตำแย

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้สมุนไพรชนิดนี้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ สมุนไพรไม่ได้รับรองความปลอดภัยเสมอไป ควรสอบถามแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับตนเอง

 

รูปแบบของตำแย

ตำแยอาจพบได้ในรูปแบบต่อไปนี้

  • ตำแยในรูปแบบชา
  • ตำแยในรูปแบบสารละลายแอลกอฮอล์
  • สารสกัดเหลวตำแย
  • ตำแยในรูปแบบครีม
  • ใบตำแยแห้งและใบตำแยแห้งแช่แข็ง
  • ตำแยในรูปแบบแคปซูลและยาเม็ด

 

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์, การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด

 

แหล่งที่มา

Nettle. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/stinging-nettle. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2559

Nettle. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-664-stinging%20nettle.aspx?activeingredientid=664. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2559

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว