เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / แซม-อี (SAM-e)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
แซม-อี (SAM-e)

สรรพคุณ

แซม-อี (อ่านออกเสียงว่า "แซมมี") เป็นชื่อที่ถูกใช้โดยทั่วไปของสารเอส-อะดีโนซิล-แอล-เมไทโอนีน (S-adenosyl-L-methionine). แซม-อี เป็นโมเลกุลที่ก่อตัวอย่างธรรมชาติในร่างกาย และยังสามารถสร้างได้ในห้องปฏิบัติการ  แซม-อี เกี่ยวข้องกับการก่อตัว การกระตุ้น หรือการสลายตัวของสารเคมีในร่างกาย ซึ่งรวมถึงฮอร์โมน โปรตีน ฟอสโฟลิพิด หรือยาบางชนิด

แซม-อี สามารถรับประทานเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคหัวใจ โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง อาการปวดท้อง  โรคข้อเสื่อม โรคการอักเสบของถุงไขข้อ โรคเอ็นอักเสบ โรคปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรัง โรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์  ชะลอวัย กลุ่มอาการล้าเรื้อรัง (ซีเอฟเอส) ปรับปรุงความคิดความอ่าน โรคตับ และ โรคพาร์กินสัน นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาโรคสมาธิสั้น (เอดีเอชดี) โรคปลอกประสาทเสื่อม อาการบาดเจ็บที่ไข้สันหลัง โรคลมชัก ปวดหัวไมเกรน พิษจากสารตะกั่ว ช่วยสลายสารเคมีในร่างกายที่เรียกว่า บิลิรูบิน หรือช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการก่อตัวของสารที่ชื่อว่า พอร์ไฟริน หรือสารตั้งต้นของพอร์ไฟริน

ผู้หญิงบางท่านอาจรับประทานแซม-อีเพื่อบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)หรืออาการที่รุนแรงกว่าก่อนการมีประจำเดือน (PMDD)

แซม-อีจะถูกฉีดเข้าหลอดเลือดดำในรายที่มีโรคซึมเศร้า โรคข้อเข่าเสื่อม โรคของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์  โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง โรคตับ ตับแข็ง และโรคตับที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ที่เรียกว่า  อาการดีซ่านจากการคั่งของนํ้าดีจากเซลล์ตับมีพยาธิสภาพ (Intrahepatic cholestasis)

แซม-อี ใช้ฉีดเพื่อรักษาอาการโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง โรคซึมเศร้า และโรคอัลไซเมอร์

กลไกการออกฤทธิ์:

เนื่องจากยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับแซม-อีไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม พอมีข้อมูลว่าร่างกายใช้แซม-อีในการผลิตสารบางชนิดที่มีผลในการรักษาความเจ็บปวด โรคซึมเศร้า โรคตับ และโรคอื่นๆ ผู้ที่ไม่สามารถสร้างแซม-อี ได้โดยธรรมชาติ สามารถรับประทานแซม-อีเป็นอาหารเสริมได้

ข้อควรระวังและคำเตือน:

ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้า:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นเวลาที่ควรได้รับยารักษาโรคเฉพาะที่แพทย์สั่งเท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงยาที่ซื้อโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • แพ้สารที่อยู่ในแซม-อี
  • มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อกำหนดสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดของการใช้ยา ควรต้องศึกษาอย่างละเอียดเพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ความปลอดภัย

แซม-อีจะปลอดภัยเมื่อใช้รับประทาน ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ และฉีดเข้าร่างกายอย่างเหมาะสม

 

หญิงตั้งครรภ์: การใช้แซม-อีจะปลอดภัยเมื่อฉีดเข้าเส้นเลือดดำในระยะสั้นในระหว่างการตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่สาม  ใช้แซม-อี ขนาด 800 มิลลิกรัมฉีดเข้าที่เส้นเลือดดำเป็นเวลา 14-20 วันโดยปราศจากผลข้างเคียง อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่เชื่อถือได้ยังมีไม่เพียงพอเกี่ยวกับการใช้แซม-อีในระยะยาวในช่วง 2 ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยให้หลีกเลี่ยงการใช้สมุนไพรนี้

อยู่ระหว่างให้นมบุตร: ข้อมูลที่เชื่อถือได้ยังมีไม่เพียงพอเกี่ยวกับการใช้แซม-อีสำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยให้หลีกเลี่ยงการใช้สมุนไพรนี้

เด็ก: การรับประทานแซม-อี หรือฉีดเข้าเส้นเลือดดำในระยะสั้นอาจปลอดภัยกับเด็ก

โรคอารมณ์สองขั้ว: การใช้แซม-อี อาจทำให้ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วเปลี่ยนจากสภาวะซึมเศร้าเป็นสภาวะอารมณ์ดีมากกว่าปกติ

โรคทางพันธุกรรมที่ชื่อว่า เลส์ชไนแฮนซินโดรม (Lesch-Nyhan syndrome): แซม-อี อาจทำให้อาการของผู้ป่วยโรคเลส์ช-ไนแฮนซินโดรมแย่ลง

โรคพาร์กินสัน: แซม-อี อาจทำให้อาการของผู้ป่วยพาร์กินสันแย่ลง

การผ่าตัด: แซมอีอาจมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางซึ่งอาจรบกวนการผ่าตัด ดังนั้นจึงควรหยุดรับประทานแซม-อี อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้แซม-อี

แซม-อีอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง อาทิ:

  • อาการการวิงเวียนศีรษะ อาการวิตกกังวล ใจสั่น ปัญหาต่อระบบความจำและสมาธิ อาการคลื่นไส้และผื่นที่ผิวหนัง
  • ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • เพิ่มความดันโลหิต

ผลข้างเคียงนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจจะมีอาการของผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้นหากกังวลเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา:

แซม-อี อาจมีปฏิกริยากับยาที่ใช้ร่วมอยู่ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ยาที่อาจมีปฏิกริยาร่วมกับแซม-อี:

  • ยาสำหรับโรคซึมเศร้า (ยารักษาอาการซึมเศร้า)

แซม-อีช่วยเพิ่มสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเซโรโทนิน ซึ่งยารักษาอาการซึมเศร้าก็ช่วยเพิ่มสารตัวนี้เช่นกัน ดังนั้น หากใช้แซม-อีร่วมกับยารักษาอาการซึมเศร้าอาจเพิ่มปริมาณสารเซโรโทนินที่มากเกินไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ เช่น โรคหัวใจ อาการสั่น และโรควิตกกังวล ไม่ควรใช้แซม-อีร่วมกับยารักษาอาการซึมเศร้า

ยารักษาอาการซึมเศร้า เช่นฟลูออกซิทีน(Prozac), พาร็อกซีทีน (Paxil), เซอร์ทราลีน (Zoloft), อะมิทริปไทลีน (Elavil), โคลมิพรามีน (Anafranil),อิมิพรามีน (Tofranil) และอื่นๆ

  • ยารักษาโรคซึมเศร้า (MAOIs)

แซม-อีช่วยเพิ่มสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเซโรโทนิน ซึ่งยารักษาอาการซึมเศร้าก็ช่วยเพิ่มสารตัวนี้เช่นกัน ดังนั้น หากใช้แซม-อีร่วมกับยารักษาอาการซึมเศร้าอาจเพิ่มปริมาณสารเซโรโทนินที่มากเกินไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ เช่น โรคหัวใจ อาการสั่น และโรควิตกกังวล ไม่ควรใช้แซม-อีร่วมกับยารักษาอาการซึมเศร้า อาทิ ฟีเนลซีน (Nardil) ทรานิลซัยโปรมีน (Parnate) และอื่นๆ

  • ยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (โรบิทัสซิน ดีเอ็ม และอื่นๆ)

แซม-อี อาจส่งผลต่อสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเซโรโทนิน ซึ่งยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (โรบิทัสซิน ดีเอ็ม และอื่นๆ) ก็อาจส่งผลต่อเซโรโทนินเช่นเดียวกัน การใช้แซม-อีร่วมกับ เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (โรบิทัสซิน ดีเอ็ม และอื่นๆ) อาจเพิ่มปริมาณสารเซโนโทนินที่มากเกินไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ เช่นโรคหัวใจ อาการสั่น และโรควิตกกังวล ไม่ควรใช้แซม-อีร่วมกับยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน

  • ยาเลโวโดปา

ยาเลโวโดปาใช้สำหรับโรคพาร์กินสัน การใช้แซม-อี สามารถเปลี่ยนแปลงปฏิกริยาทางเคมีของยาเลโวโดปาในร่างกาย และลดประสิทธิภาพของยาได้ การใช้แซม-อี ร่วมกับยาเลโวโดปา อาจทำให้อาการของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันแย่ลง ไม่ควรใช้แซม-อีร่วมกับยาเลโวโดปา

 

 

  • ยาเมเพอริดีน (Demerol)

แซม-อี อาจส่งผลต่อสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเซโรโทนิน ซึ่งยาเมเพอริดีน ก็อาจส่งผลต่อเซโรโทนินในสมองเช่นเดียวกัน การใช้แซม-อีร่วมกับยาเมเพอริดีน อาจเพิ่มปริมาณสารเซโนโทนินที่มากเกินไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ เช่นโรคหัวใจ อาการสั่น และโรควิตกกังวล

  • ยาเพนตาโซซีน (Talwin)

แซม-อี อาจส่งผลต่อสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเซโรโทนิน ซึ่งยาเพนตาโซซีน ก็อาจส่งผลต่อเซโรโทนินในสมองเช่นเดียวกัน การใช้แซม-อีร่วมกับยาเพนตาโซซีน อาจเพิ่มปริมาณสารเซโนโทนินที่มากเกินไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ เช่นโรคหัวใจ อาการสั่น และโรควิตก ไม่ควรใช้แซม-อีร่วมกับยาเพนตาโซซีน

  • ยาทรามาดอล (Ultram)

ยาทรามาดอลอาจส่งผลต่อสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเซโรโทนิน ซึ่งแซม-อี ก็อาจส่งผลต่อเซโรโทนินในสมองเช่นกัน การใช้แซม-อีร่วมกับยาทรามาดอล อาจเพิ่มปริมาณสารเซโรโทนินในสมอง ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้เช่น อาการสับสน อาการสั่น กล้ามเนื้อแข็งตัว และผลข้างเคียงอื่นๆ

ขนาดการใช้

***ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ***

ขนาดการใช้แซมอีโดยทั่วไป:

สำหรับการรับประทาน:

  • สำหรับโรคซึมเศร้า: รับประทานแซม-อี 1600 มิลลิกรัมหรือมากกว่านั้นทุกวัน ในปริมาณสองส่วน เป็นเวลามากกว่า 8 สัปดาห์ อาจใช้แบบเดี่ยว หรือใช้ร่วมกับยาต้านอาการซึมเศร้า และผลิตภัณฑ์ที่กผสมผสานระหว่าง DDM Metile, Omeopiacenza, Piacenza, Italy ขนาดบรรจุ 250 มิลลิกรัม รับประทานทุกวัน วันละ 2 เม็ดเป็นเวลา 12 เดือน
  • โรคข้อเสื่อม: รับประทานแซม-อี 600-1200 มิลลิกรัมทุกวัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน เป็นเวลามากกว่า 84 วัน
  • โรคตับแข็ง: รับประทานแซม-อี 600 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลา 1 เดือน และแซม-อี 30 มิลลิกรัมร่วมกับวิตาบินบี 12 6 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 30 วัน
  • โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง : รับประทานแซม-อี 800 มิลลิกรัมทุกวัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เป็นเวลา 6 สัปดาห์
  • อาการดีซ่านจากการคั่งของนํ้าดีจากเซลล์ตับมีพยาธิสภาพ (Intrahepatic cholestasis): รับประทาน แซม-อี 500 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน จนกระทั่งได้รับการรักษาอาการคั่งของน้ำดี หรือรับประทานแซม-อี 1600 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เป็นเวลา 2 สัปดาห์
  • ปัญหาความบกพร่องทางเพศ: รับประทานแซม-อี 400 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน และปรับเป็น 800 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 6 สัปดาห์

สำหรับฉีด:

  • โรคซึมเศร้า: ฉีดแซม-อีเข้าหลอดเลือดดำในปริมาณ 400-800 มิลลิกรัม เป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ หรือ ฉีดแซม-อีเข้าสู่ร่างกายในปริมาณ 45-400มิลลกรัม ร่วมหรือไม่ร่วมกับยาต้านโรคซึมเศร้าเป็นเวลา 1-4 สัปดาห์. ฉีดแซม-อีเข้าสู่แบบช็อตปริมาณ 200 มิลลิกรัมร่วมกับรับประทานแซม-อu 400 มิลลิกรัม โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เป็นเวลา 6 สัปดาห์
  • โรคข้อเสื่อม: ฉีดแซม-อีเข้าหลอดเลือดดำเป็นเวลา 5 วัน ตามด้วยการรับประทานแซม-อี ขนาด 600 มิลลิกรัม โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน เป็นเวลา 23 วัน และฉีดแซม-อีแบบช็อต เป็นเวลา 7 วัน
  • โรคตับแข็ง: ฉีดแซม-อีขนาด 800 มิลลิกรัมเข้าที่หลอดเลือดดำ ทุกวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หรือขนาด 250 มิลลิกรัม สองครั้งต่อวันเป็นเวลา 30 วัน หรือ ฉีดสารเฉพาะ Transmetil, Abbott SPA ขนาด 1000 มิลลิกรัมเข้าหลอดเลือดดำ ทุกวันเป็นเวลา 7 วัน หรือ ฉีดแซม-อี ขนาด 100 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลา 30 วัน
  • โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง: ฉีดแซม-อีขนาด 400 มิลลิกรัมเข้าที่หลอดเลือดดำทุวัน เป็นเวลา 15 วัน หรือฉีดแซม-อีแบบช็อต ขนาด 200 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลา 21 วัน

ปริมาณการใช้แซม-อี อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับ ช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบปริมาณยาที่เหมาะสม

รูปแบบของพบแซม-อี

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนี้อาจพบได้ในรูปแบบ: เม็ด

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว