เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / หยินเฉิน (Yin Chen)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
หยินเฉิน (Yin Chen)

สรรพคุณ

หยินเฉินเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง โดยส่วนที่เจริญเติบโตเหนือพื้นดินนำมาใช้เป็นยาได้

หยินเฉินใช้ในการรักษาโรคตับ (hepatitis), โรคนิ่ว (gallstones) และระดับคลอเรสเตอรอลสูง (high cholesterol) นอกจากนี้ยังใช้กระตุ้นการไหลเวียนของน้ำดีจากถุงน้ำดี

หยินเฉินใช้สำหรับภาวะสมองถูกทำลายในเด็กแรกเกิด (เคอร์นิกเทอรัส หรือ kernicterus) ซึ่งมีสาเหตุมาจากมีสารสีของน้ำดีอยู่ในเลือดหรือดีซ่าน (jaundice), อาการไข้และหนาวสั่น, มีรสขมในปาก, อาการแน่นที่ทรวงอก, ปวดหลัง, เวียนศีรษะ, คลื่นไส้ และเบื่ออาหาร นอกจากนี้ยังใช้สำหรับอาการปวดหัว, ท้องผูก, แสบขัดทางเดินปัสสาวะ, อาการคัน, เนื้องอก, มีสารคัดหลั่งในจมูกและลำคอ, ปวดข้อ (rheumatism), ปวดท้องช่วงมีประจำเดือน, มาลาเรีย และตะคริว

ในสูตรของสมุนไพรจีนและญี่ปุ่น หยินเฉินถูกนำมาใช้สำหรับรักษาอาการดีซ่านร่วมกับมีไข้, อาการแสบขัดทางเดินปัสสาวะ, ท้องผูก และอาการท้องอืด

กลไกการออกฤทธิ์:

เนื่องจากยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับเหยินเฉินไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม  อย่างไรก็ตามหยินเฉินมีสารที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำดีซึ่งสิ่งนี้สามารถใช้ในการรักษาโรคนิ่วได้ นอกจากนี้น้ำมันในหยินเฉินยังช่วยลดไข้, ลดอาการบวม, เพิ่มการขับปัสสาวะ และยังฆ่าเชื้อราและแบคทีเรียได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในหยินเฉิน ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

 

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหยินเฉินนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

ความปลอดภัย

หยินเฉินดูเหมือนจะปลอดภัยในคนส่วนมากเมื่อนำมารับประทาน แต่อย่าพยายามนำมาใช้รักษาตับหรือปัญหาของถุงน้ำดีโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

หญิงตั้งครรภ์และกำลังให้นมบุตร: หยินเฉินไม่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์และกำลังให้นมบุตรดังนั้นหากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร จึงไม่ควรใช้

เด็ก: หยินเฉินอาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปีไม่ควรใช้ ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์

แพ้ต่อแร็กหวีด (Ragweed) หรือพืชที่เกี่ยวข้อง: หยินเฉินอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ในคนที่ไวต่อพืชในวงศ์ทานตะวัน (Asteraceae หรือ Compositae) ซึ่งสมาชิกของพืชวงศ์นี้ประกอบด้วยแร็กหวีด (ragweed), เบญจมาศ (chrysanthemums), ดอกดาวเรือง (marigolds), ดอกเดซี่ (daisies) และอื่นๆ ซึ่งถ้าคุณมีอาการแพ้ควรตรวจสอบกับแพทย์ที่ดูแลรักษาให้แน่ใจก่อนที่จะมีการใช้หยินเฉิน

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงอะไรบ้างที่อาจได้รับจากหยินเฉิน ?

หยินเฉินสามารถทำให้คลื่นไส้, ท้องอืด, เวียนศีรษะ และอาการผิดปกติที่หัวใจ

ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้พบว่าเกิดกับทุกคน และอาจมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยหรือกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงใดๆ ก็ตามโปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา

หยินเฉิน (Yin Chen) อาจเกิดปฏิกิริยากับยาที่คุณกำลังรับประทานหรืออาการทางการแพทย์ที่คุณเป็นอยู่ ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนที่จะใช้

สารที่เกิดปฏิกิริยากับหยินเฉิน ได้แก่:

  • ลิเธียม (Lithium)

หยินเฉินอาจให้ผลคล้ายกับวอเตอร์พิล (Water pill) หรือยาขับปัสสาวะ (Diuretic) การรับประทานหยินเฉินอาจไปลดปริมาณการกำจัดลิเธียมออกจากร่างกาย ซึ่งทำให้ปริมาณลิเธียมในร่างกายเพิ่มขึ้นและส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ ดังนั้นควรปรึกษากับแพทย์ผู้รักษากรณีที่คุณกำลังใช้ลิเธียมอยู่ ซึ่งขนาดของลิเธียมที่ได้รับจำเป็นจะต้องมีการปรับเปลี่ยน

ขนาดการใช้ยา

ข้อมูลนี้จะไม่ใช่การแนะนำเช่นเดียวกับการใช้ยาโดยตรง ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ทุกครั้งก่อนที่จะใช้สมุนไพรชนิดนี้ 

ขนาดการใช้ทั่วไป

ขนาดการใช้สมุนไพรนี้อาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย โดยปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุ, ภาวะสุขภาพและเงื่อนไขด้านอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้ไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอไป ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อหาปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผู้รับประทาน

รูปแบบของหยินเฉิน

หยินเฉินอาจมีอยู่ในรูปแบบดังนี้:

  • สารสกัดหยินเฉิน
  • สารสกัดหยินเฉินในรูปแคปซูล
23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว