เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / เอฟีดรา (Ephedra)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
เอฟีดรา (Ephedra)

สรรพคุณของเอฟีดรา:

เอฟีดราหรือที่เรียกว่ามาฮวง (Ma Huang) เป็นสมุนไพรที่ใช้ในประเทศจีนเป็นเวลา 5,000 ปี โดยทั่วไปใช้สำหรับการรักษาอาการเช่น:

  • โรคภูมิแพ้
  • ไข้แห้ง
  • คัดจมูก
  • ทางเดินหายใจ
  • หวัด
  • ไข้หวัดใหญ่
  • ไข้หวัดหมู
  • ไข้
  • หนาวสั่น
  • ปวดหัว
  • ขับเหงื่อ
  • อาการปวดข้อและกระดูก

เอฟีดรายังใช้สำหรับการลดน้ำหนักหรือโรคอ้วน และเพิ่มประสิทธิภาพการกีฬา นอกจากนี้ ยังใช้ขับปัสสาวะในผู้ที่มีอาการคั่งน้ำ  เอฟีดราอาจใช้รักษาอาการอื่น ๆ ได้ ควรปรึกษากับแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

 

กลไกการออกฤทธิ์:

เอฟีดราประกอบด้วยสารเคมีที่เรียกว่าอีเฟดรีน เอฟีดราช่วยกระตุ้นหัวใจปอดและระบบประสาท ควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

 

ข้อควรระวังและคำเตือน:

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้เอฟีดรา:

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในเอฟีดรา ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

 

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเอฟีดรานั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

เอฟีดราปลอดภัยหรือไม่:

เด็ก:

ห้ามใช้เอฟีดรากับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีไม่ควรใช้เอฟีดราเนื่องจากเสี่ยงต่อความเป็นพิษและความตาย

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:

ห้ามใช้เอฟีดราเนื่องจากข้อมูลของการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง

 

ผลข้างเคียง:

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้เอฟีดรา:

ผลข้างเคียงของเอฟีดรา ได้แก่:

  • ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
  • ความผิดปกติของตับและไต
  • ปวดหัว
  • สูญเสียการได้ยิน
  • หัวใจวาย
  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
  • กรดไหลย้อน
  • ปัสสาวะไม่ออกไ
  • ฮอร์โมนไทรอยด์สูงขึ้น
  • ปัสสาวะเพิ่มขึ้น
  • การอักเสบของหัวใจ
  • นอนไม่หลับ
  • หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
  • หงุดหงิด
  • โรคซึมเศร้า (OCD)
  • อวัยวะล้มเหลว
  • ตื่นเต้นมากเกินไป
  • เจ็บปวดเวลาปัสสาวะ
  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคจิต
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • อยากฆ่าตัวตาย
  • เหนื่อยล้า
  • อาการสั่น
  • หัวใจอ่อนแอและหัวใจโต
  • อ่อนแอ
  • น้ำหนักลด

บางรายอาจมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา:

เอฟีดราอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้ร่วมอยู่หรือพยาธิสภาพในปัจจุบัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมก่อนใช้

 

ยาที่มีปฏิกิริยากับเอฟีดราได้แก่:

  • ยาที่อาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ

เอฟีดรากระตุ้นการเต้นของหัวใจ การกินอีเฟดดราพร้อมยาอื่นที่อาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงขึ้น และทำให้เกิดอาการหัวใจวาย ยาที่ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ ได้แก่ อะมิโอดาโรน (Amiodarone) หรือคอร์ดาโรน (Cordarone), ไดโซไพราไมด์ (Disopyramide) หรือนอร์เพซ (Norpace), โดเฟทิลไลด์ (Dofetilide) ไทโคซิน (Tikosyn), ไอบูทิลไลด์ (Ibutilide) หรือโคเวิร์ท (Corvert), โพรเคนนาไมด์ (Procainamide) หรือโพรเนสติล (Pronestyl), ควินนิไดน์ (Quinidine), โซโทโลล (Sotalol) หรือเบตาเพซ (Betapace), ธีโอริดาไซน์ (Thioridazine) หรือเมลลาริล (Mellaril) และอื่น ๆ

 

  • เมธิลซานธิเนส (Methylxanthines)

ทั้ง เอฟีดราและเมธิลซานธิเนสมีตัวยาที่กระตุ้นร่างกายได้ ดังนั้นการใช้ร่วมกันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ความกระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง และความเครียด เมธิลซานธิเนส ได้แก่ อะมิโนฟิลไลน์ (Aminophylline) คาเฟอีนและธีโอฟีลีน (Theophylline)

 

  • ยากระตุ้น

ยากระตุ้นระบบประสาทให้ทำงานเร็วขึ้น ทำให้คุณรู้สึกกระวนกระวาย และเร่งการเต้นของหัวใจ ทั้งยังกระตุ้นระบบประสาทได้อีกด้วย การใช้อีเฟดดราร่วมกับยากระตุ้นทำให้เกิดปัญหาร้ายแรง เช่นอัตราการเต้นหัวใจเพิ่มขึ้นและความดันโลหิตสูง ได้แก่ ยาไอเอทธิลโพรพิออน (Diethylpropion) หรือเทนนูเอท (Tenuate), เอพิเนฟริน (Epinephrine), เฟนเทอร์ไมน (Phentermine) โลนามิน (Lonamin), ซูโดเอเฟดริน (Pseudoephedrine) หรือซูดาเฟด (Sudafed) และอื่น ๆ

 

  • เดซาเมธาโซน (Dexamethasone) หรือเดคาโดรน (Decadron)

เอฟีดราอาจลดประสิทธิภาพของเดซาเมธาโซนหรือเดคาโดรนอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้เอฟีดรา พร้อมกับเดซาเมธาโซนหรือเดคาโดรน

  • เออร์กอท (Ergot)

เอฟีดราและเออร์กอททำให้ความดันโลหิตเพิ่มได้ การใช้เอฟีดราร่วมกับเออร์กอท อาจทำให้ความดันเลือดเพิ่มมากเกินไป ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ โบรโมคริปไทน์ (Bromocriptine) หรือพาร์โลเดล (Parlodel), ดีไฮโดรเออร์โกทามีน (Dihydroergotamine) หรือมิกรานอล (Migranal), ดีเอชอี-45 (DHE-45)

 เออร์โกทามีน (Ergotamine) หรือคาเฟอร์กอท (Cafergot) และเพอร์โกไลด์ (Pergolide) หรือเพอร์แมกซ์ (Permax)

 

  • ยาสำหรับภาวะซึมเศร้า (MAOIs)

เอฟีดรามีสารเคมีที่กระตุ้นร่างกาย ยาที่ใช้ในภาวะซึมเศร้าสามารถบางชนิดสามารถเพิ่มสารเคมีเหล่านี้ได้ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรง ได้แก่ การเต้นเร็วของหัวใจ ความดันโลหิตสูง อาการชัก หงุดหงิดและอื่น ๆ ยาที่ใช้ในภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ฟิเนลไซน์ (Phenelzine) หรือนาร์ดิล (Nardil), ทรานิลไซโพรไมด์ (Tranylcypromine) และพาร์เนท (Parnate) และอื่น ๆ

 

  • ยารักษาโรคเบาหวาน

เอฟีดราอาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ในขณะที่ยารักษาโรคเบาหวานใช้เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้น -เอฟีดราจึงอาจลดประสิทธิภาพของยาเบาหวาน จึงควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอย่างใกล้ชิด

ยาบางชนิดที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้แก่ กริเมพิไรด์ (Glimepiride) หรืออะมาริล (Amaryl) ไกลบูไรด์ (Glyburide) ไดอะเบตา (DiaBeta), ไกรเนสเพรสแทบ (GlynasePresTab), ไมโครเนส (Micronase) อินซูลิน ไพโอกลิทาโซน (Pioglitazone) หรือแอคโทส (Actos) โรซิกลิตาโซน (Rosiglitazone) หรืออาวานเดีย (Avandia) คลอร์โพรพาไมด์ (Chlorpropamide) ไดอาบิเนส (Diabinese) หรือกลิพิไซด์ (Glipizide) หรือกลูโคโทรล (Glucotrol) โทลบูทาไมด์ (Tolbutamide) หรือโอริเนส (Orinase) และอื่น ๆ

 

  • ยาที่ใช้ในการป้องกันอาการชัก (Anticonvulsants)

ยาที่ใช้ในการป้องกันการชักจะส่งผลต่อสารเคมีในสมอง เอฟีดราก็เช่นกัน ทั้งนี้ เอฟีดราอาจลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้ในการป้องกันอาการชักที่ ได้แก่  ฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital), พริมิโดน (Primidone) หรือไมโซลีน (Mysoline), กรดวัลโพรอิก (Valproic acid) หรือเดพาเคน (Depakene), กาบาเพนทิน (Gabapentin) หรือนิวโรติน (Neurontin), คาร์บามาเซไพน์ (Carbamazepine) หรือเทเกรโทล (Tegretol), หรือฟีไนโทอิน (Phenytoin) หรือดิลลาติน (Dilantin) และอื่น ๆ

 

นอกจากนี้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้:

  • อาการเจ็บหน้าอก (Angina)

เอฟีดราช่วยกระตุ้นหัวใจและอาจทำให้อาการเจ็บหน้าอกรุนแรงขึ้น

  • หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ:

เอฟีดราช่วยกระตุ้นหัวใจและอาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติรุนแรงขึ้น

  • ความวิตกกังวล:

การใช้เอฟีดราในปริมาณมากอาจทำให้ความวิตกกังวลรุนแรงขึ้น

  • โรคเบาหวาน:

เอฟีดราอาจแทรกแซงการควบคุมน้ำตาลในเลือดและอาจเพิ่มความดันโลหิตสูงและเพิ่มปัญหาการไหลเวียนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  • ความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า อาการสั่น:

เอฟีดราอาจทำให้อาการสั่นของร่างกายรุนแรงขึ้น

  • ความดันโลหิตสูง:

เอฟีดราอาจทำให้ความดันโลหิตสูงรุนแรงขึ้น

 

ต่อมไทรอยด์และอาการที่เกี่ยวข้อง:

  • เอฟีดรา

อาจกระตุ้นต่อมไทรอยด์และทำให้อาการของต่อมไทรอยด์รุนแรงขึ้น

  • นิ่วในไต:

เอฟีดราและอีเฟดรีนอาจทำให้เกิดนิ่วในไต

  • โรคต้อหินต้อหินชนิดมุมปิด:

เอฟีดราอาจทำให้อาการเลวร้ายยิ่งขึ้น

  • เนื้องอกต่อมหมวกไต (Pheochromocytoma):

เอฟีดราอาจทำให้อาการของภาวะนี้รุนแรงขึ้น

  • การชัก:

เอฟีดราอาจทำให้เกิดการชักรุนแรงขึ้น

 

ขนาดยา:

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

                                                                                              

ขนาดปกติในการใช้เอฟีดราคือเท่าใด

ผู้ใหญ่:

สำหรับอาการแพ้ทางจมูก:

น้ำเกลืออีเฟดรีน 1% ใช้ล้างจมูกทุก 48 ชั่วโมงเป็นเวลา 4 สัปดาห์

สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการกีฬา:

รับประทาน อีเฟดริน1 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมก่อนออกกำลังกาย 90 นาทีสัปดาห์ละครั้ง นาน 4 สัปดาห์

 

สำหรับความดันโลหิตต่ำ:

มีการฉีดอีเฟดรีนเข้าไปในเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อประมาณ 5-45 มิลลิกรัม

สำหรับการกระตุ้นทางเพศ:

รับประทานอีเฟดรีนซัลเฟต 50 มิลลิกรัม ก่อนมีเพศสัมพันธ์

สำหรับการลดน้ำหนัก:

รับประทานสารสกัด เอฟีดรานาด 2 กรัม สามครั้งต่อวัน นาน 8 สัปดาห์ ในขณะที่อีเฟดรีนใช้รับประทาน 20-50 มิลลิกรัมต่อวัน 2-3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 2-3 เดือน

 

เด็ก:

สำหรับโรคหอบหืด:

รับประทานอิเฟดรีน 24-25 มิลลิกรัม หรือ 0.65-2.1มิลลิกรัม กิโลกรัมทุก 6-8 ชั่วโมงเป็นเวลา 1-8 สัปดาห์

 

ปริมาณการใช้เอฟีดราอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและพยาธิสภาพอื่น ๆ การใช้เอฟีดราไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อทราบปริมาณที่เหมาะสม

 

เอฟีดรามีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง:

เอฟีดราอาจมีอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • ยาน้ำ
  • เม็ด แคบซูล หรือชาเพื่อดื่ม
23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว