เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine Sulfate)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine Sulfate)

สรรพคุณของกลูโคซามีนซัลเฟต

สรรพคุณโดยทั่วไปกลูโคซามีนซัลเฟต

  • โรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ โรคต้อหิน อาการผิดปกติของขากรรไกรที่เรียกว่าโรคข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว (TMD) ปวดข้อ ปวดหลัง ปวด โรคที่เกิดจากการอักเสบของปลอกประสาท เอชไอวี/โรคเอดส์ และ น้ำหนักตัวลด (สำหรับชนิดรับประทาน)
  • โรคข้อเสื่อม โดยทาบนผิวหนังควบคู่ไปกับคอนดรอยติน ซัลเฟต (Chondroitin Sulfate) กระดูกอ่อนปลาฉลาม (Shark Cartilage) และการบูร
  • อาการโรคข้อเสื่อมโดยการฉีดในระยะเวลาสั้นๆ

กลไกการออกฤทธิ์:

การศึกษาเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของกลูโคซามีนซัลเฟตยังมีไม่เพียงพอ ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชิ้นบ่งชี้ว่าเมื่อกลูโคซามีนซัลเฟตเข้าสู่ร่างกาย จะสร้างองค์ประกอบที่จำเป็นขึ้นมาใหม่เพื่อซ่อมแซมบริเวณรอบข้อต่อ

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรทราบก่อนใช้กลูโคซามีนซัลเฟต

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หากอยู่ในอาการตามลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นช่วงที่ควรได้รับยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น
  • กำลังใช้ยาชนิดอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงยาที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารที่อยู่ในกลูโคซามีนซัลเฟต หรือแพ้ยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

ข้อกำหนดสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป ควรศึกษาก่ให้รอบคอบก่อนการใช้เพื่อรับรองความปลอดภัย ว่ากลูโคซามีนซัลเฟตมีคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

กลูโคซามีนซัลเฟตปลอดภัยแค่ไหน

โดยส่วนทั่วกลูโคซามีนซัลเฟตค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่หากใช้อย่างเหมาะสม

วิธีการใช้กลูโคซามีนซัลเฟตอย่างปลอดภัยคือ ฉีดเข้าสู่กล้ามเนื้อ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ขึ้นไป หรือทาบนผิวควบคู่กับคอนดรอยติน ซัลเฟต (Chondroitin Sulfate) กระดูกอ่อนปลาฉลาม (Shark Cartilage) และ การบูร เป็นเวลาถึง 8 สัปดาห์ขึ้นไป

 

 

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กลูโคซามีนซัลเฟต

การใช้กลูโคซามีนซัลเฟตมีผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงมากนัก ดังนี้ อาการคลื่นไส้ อาการแสบร้อนกลางอก อาการท้องร่วง อาการท้องผูก ผลข้างเคียงที่พบได้น้อย มีดังนี้ ง่วงและซึมเซา ปฏิกิริยากับผิว และ ปวดศีรษะ ข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของกลูโคซามีนซัลเฟตในสตรีตั้งครรภ์และผู้ที่กำลังให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาถ้าไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากมีมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์

 

ปฏิกิริยาระหว่างการใช้

เกิดปฏิกิริยาอย่างไรบ้างเมื่อใช้กลูโคซามีนซัลเฟต

อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้อาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณรับประทานหรือส่งผลกระทบต่อการรักษาในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์ก่อนใช้

กลูโคซามีนซัลเฟตอาจทำปฏิกิริยากับพยาธิสภาพของคุณในปัจจุบัน ดังนี้ โรคหืด โรคเบาหวาน คอลเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง อาการแพ้สัตว์น้ำจำพวกมีเปลือก

กลูโคซามีนซัลเฟตอาจทำปฎิกิริยากับยารักษาโรคที่กำลังใช้ในปัจจุบัน ดังนี้ ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) การรักษาด้วยเคมีบำบัด   ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen ชื่อการค้า Tylenol และอื่นๆ)  ยารักษาโรคเบาหวาน ประกอบด้วย ยาไกลเมพิไรด์ (Glimepiride ชื่อการค้า Amaryl) glyburide (ชื่อการค้า DiaBeta, Glynase PresTab, Micronase) อินซูลิน, ยาไพโอกลิตาโซน (Pioglitazone ชื่อการค้า Actos) ยาโรสิกลิตาโซน (Rosiglitazone ชื่อการค้า Avandia) ยาคลอร์โพรพาไมด์ (Chlorpropamide ชื่อการค้า Diabinese) ยาไกลพิไซด์  (Glipizide ชื่อการค้า Glucotrol) ยาโทลบูตาไมด์ (Tolbutamide ชื่อการค้า Orinase) และอื่น ๆ

ขนาดการใช้ยา

ข้อมูลนี้ไม่สามรถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาชนิดนี้ทุกครั้ง

ปริมาณการใช้กลูโคซามีนซัลเฟตทั่วไปอยู่ที่เท่าไร

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้กลูโคซามีนในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ สมุนไพรไม่ได้รับรองความปลอดภัยเสมอไป ควรสอบถามแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับตนเอง

 

กลูโคซามีนซัลเฟตมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

กลูโคซามีนซัลเฟตอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

ยาเม็ด 1500 มก. 1000 มก.

แคปซูล 1000 มก.

 

 

ข้อความมาตรฐานทั้งหมดที่เป็นสีแดงต้องมีการเสริม แต่สามารถใช้การถอดความได้

หมายเหตุ คำที่มีการเน้นเป็นที่สำหรับกรอกชื่อของสมุนไพร

แหล่งที่มา:

Glucosamine sulfate. https://medlineplus.gov/druginfo/natural/747.html.  สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560

Glucosamine sulfate. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2686334/. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560

Glucosamine sulfate. http://www.m.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-747/glucosamine-Sulfate . สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว