เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ชวนหวงป้อ (Phellodendron)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ชวนหวงป้อ (Phellodendron)

สรรพคุณของชวนหวงป้อ:

ชวนหวงป้อเป็นพืชที่มีเปลือกใช้ทำยา ชวนหวงป้อใช้สำหรับรักษาอาการ:

  • โรคข้อเข่าเสื่อม
  • ลดน้ำหนักและความอ้วน
  • โรคอุจจาระร่วง
  • แผลในกระเพาะอาหาร
  • เบาหวาน
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคปอดบวม
  • การติดเชื้อทางตา
  • วัณโรค
  • โรคตับแข็ง

บางครั้ง ชวนหวงป้อสามารถใช้กับผิวหนังเพื่อรักษาโรคสะเก็ดเงิน ฆ่าเชื้อโรค และเพื่อลดอาการ ผื่นแดงและบวม

 

กลไกการออกฤทธิ์:

งานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของชวนหวงป้อยังมีไม่เพียงพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เชื่อกันว่าสารเคมีบางชนิดในชวนหวงป้ออาจช่วยลดอาการผื่นแดง และบวมได้ (การติดเชื้อ) สารเคมีอีกชนิดคือ เบอร์เบรีน (Berberine) ซึ่งทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงและกำจัดแอลดี โลโลเลสเตอโรล (Lololesterol) ตลอดจนป้องกันตับจากสารพิษเบอร์เบรีน และอาจรักษาอาการเนื้องอก อย่างไรก็ตาม เบอร์เบรีนก็อาจเป็นอันตรายเช่นกัน

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ชวนหวงป้อ

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในชวนหวงป้อ ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

 

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากชวนหวงป้อมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

ชวนหวงป้อปลอดภัยหรือไม่:

ชวนหวงป้ออาจจะปลอดภัยในผู้ใหญ่เมื่อใช้ระยะสั้น ความปลอดภัยในการใช้ชวนหวงป้อนานกว่า 6 สัปดาห์ยังไม่มีข้อมูล

 

ข้อควรระวังและคำเตือน:

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ชวนหวงป้อไม่ปลอดภัย หากอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร เนื่องจากสารเคมีที่เรียกว่า เบอร์เบรีนซึ่งสามารถแทรกซึมเข้าสู่รกและเต้านม อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ และอาจทำให้สมองเกิดความเสียหายในทารกแรกเกิดที่รับประทานนมแม่ โดยเฉพาะในทารกแรกคลอดที่มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง เนื่องจากเม็ดสีของน้ำดีในกระแสเลือด

เด็ก: ชวนหวงป้อไม่ปลอดภัยในเด็กแรกเกิด อาจทำให้สมองเกิดความเสียหายโดยเฉพาะในทารกแรกเกิดที่มีอาการตัวเหลือง

 

ผลข้างเคียง:

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้ชวนหวงป้อ:

 

จากกรณีอาการกรดไหลย้อน มือสั่น ความผิดปกติทางเพศและความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ของผู้ป่วยรายหนึ่ง และอีกรายมีอาการเหนื่อยล้าและปวดศรีษะ แต่ไม่ทราบแน่ชัด ว่าผลข้างเคียงเหล่านี้เกิดจากชวนหวงป้อหรือปัจจัยอื่น ๆ ในบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ   โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา:

ชวนหวงป้ออาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือสภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบันของคุณ ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลต่อชวนหวงป้อ ได้แก่:

  • ไซโคลสปอรีน (Cyclosporine) หรือนีโอรอล แซนดิมมูน (Neoral Sandimmune)

ร่างกายย่อยสลายและกำจักไซโคลสปอรีนหรือนีโอรอล แซนดิมูนออกไป ทำให้ปริมาณชวนหวงป้อลดลงอย่างรวดเร็ว การใช้ชวนหวงป้อร่วมกับไซโคลสปอรีนหรือนีโอรอล แซนดิมูนอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดผลข้างเคียง

  • ยาที่มีการเปลี่ยนแปลงจากการทำงานของตับ (Cytochrome P450 3A4 (CYP3A4)

ชวนหวงป้ออาจลดลงได้อย่างรวดเร็วเมื่อตับทำหน้าที่ย่อยสลายยาบางชนิด การใช้ชวนหวงป้อร่วมกับยาบางชนิดที่ทำให้ตับทำลายยาดังกล่าวอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงของยาบางชนิดเพิ่มขึ้นได้ ก่อนใช้ ชวนหวงป้อควรปรึกษาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ

ยาที่มีการเปลี่ยนแปลงจากการทำงานของตับ ได้แก่ ไซโคลสปอรีนหรือนีโอรอล แซนดิมมูน โลวาสตาติน (Lovastatin) หรือเมวาคอร์ (Mevacor) แคลริโธรมายซิน (Clarithromycin) หรือบิแอกซิน (Biaxin) อินดินาเวียร์ (Indinavir) หรือคริซิแวน (Crixivan) ซิลเดนาฟิล (Sildenafil) หรือไวอากร้า (Viagra) ไทรอาโซแลม (Triazolam) หรือฮัลซิออน (Halcion) และอื่น ๆ

 

ขนาดยา:

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแทนจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาผูเเชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ

 

ขนาดการใช้ชวนหวงป้อปกติอยู่ที่เท่าใด:

ขนาดการใช้ชวนหวงป้อนั้นแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและพยาธิสภาพอื่น ๆ การใช้ชวนหวงป้อไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดการใช้ที่เหมาะสม

 

ชวนหวงป้อมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง:

ชวนหวงป้ออาจมีจำหน่ายอยู่ในรูปแบบยาต่อไปนี้:

  • ผงสกัด
  • สารสกัด
  • สารสกัดเหลว
23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว