เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ฟีนิลอะละนีน (Phenylalanine)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ฟีนิลอะละนีน (Phenylalanine)

สรรพคุณของฟีนิลอะละนีน

ฟีนิลอะละนีนเป็นกรดอะมิโนในหน่วยโครงสร้างของโปรตีน ซึ่งมีอยู่ด้วยกันสามแบบคือ ดี-ฟีนิลอะละนีน (D-phenylalanine) แอล-ฟีนิลอะละนีน (L-phenylalanine) และส่วนผสมที่ทำในห้องปฏิบัติการเรียกว่า ดีแอล-ฟีนิลอะละนีน (DL-phenylalanine) ในส่วนของดี-ฟีนิลอะละนีนนั้น ไม่ใช่กรดอะมิโนที่จำเป็นและยังไม่เป็นที่รู้จักนักในปัจจุบัน แอล-ฟีนิลอะละนีนเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นและเป็นรูปแบบเฉพาะของฟีนิลอะละนีนที่พบในโปรตีน แหล่งอาหารหลักของ แอล-ฟีนิลอะละนีน ได้แก่ เนื้อ ปลา ไข่ เนยแข็ง และนม ฟีนิลอะละนีนใช้บำบัดภาวะซึมเศร้า โรคสมาธิสั้น (Hyperactivity Disorder) หรือเอดีเอชดี (ADHD) โรคพาร์คินสัน ความเจ็บปวดเรื้อรัง โรคข้อเข่าเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ การเลิกดื่มแอลกอฮอล์ และโรคผิวหนังที่เรียกว่า ผิวด่างหรือเผือก (Vitiligo)

 

กลไกการออกฤทธิ์

ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของฟีนิลอะละนีนยังไม่มากพอ ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก่อนใช้ อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่าร่างกายใช้ฟีนิลอะละนีนเพื่อเป็นสารเคมีเสริม

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ฟีนิลอะละนีน:

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในฟีนิลอะละนีน ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

 

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากฟีนิลอะละนีนมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

ฟีนิลอะละนีนปลอดภัยหรือไม่:

แอล-ฟีนิลอะละนีนน่าจะปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่เมื่อบริโภคในขนาดยาที่พบได้ทั่วไปในอาหาร

ฟีนิลอะละนีนอาจปลอดภัยเมื่อใช้เป็นยา ไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของดี-ฟีนิลอะละนีน

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ฟีนิลอะละนีนน่าจะปลอดภัยเมื่อใช้ในขนาดที่พบได้ทั่วไปในอาหารและปลอดภัยสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่มีระดับฟีนิลอะละนีนปกติ อย่างไรก็ตาม การมีฟีนิลอะละนีนมากเกินไปในคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์อาจทำให้เด็กมีโอกาสที่เกิดมา บกพร่องได้ โดยมีความเสี่ยงต่อการบกพร่องทางใบหน้าสูงที่สุดในสัปดาห์ที่ 10-14 ระบบประสาทและความบกพร่องในการเจริญเติบโตในช่วงสัปดาหืที่ 3-16 และความบกพร่องของหัวใจในสัปดาห์ที่ 3-8 สำหรับหญิงที่ใช้ฟีนิลอะละนีนเป็นปกติ แต่มีระดับฟีนิลอะลานีนสูง อาจมีได้รับฟีนิลอะละนีนในอาหารสูงขึ้น แม้แค่ขนาดเท่าอาหารปกติก็ตาม นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้รับประทานฟีนิลอะละนีนที่มีขนาดยาต่ำเป็นเวลาอย่างน้อย 20 สัปดาห์ก่อนตั้งครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดข้อบกพร่องที่เกิดได้

 

การใช้ฟีนิลอะละนีนนั้นปลอดภัยสำหรับมารดาที่ให้นมบุตร ฟีนิลอะละนีนพบในอาหาร อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ฟีนิลอะละนีนมากเกินไป ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ฟีนิลอะละนีนในขนาดที่มากพอในระหว่างให้นมบุตร ภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยสลายกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีนหรือโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) หรือพีเคยู (PKU) และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดฟีนิลอะละนีนสูงควรเลี่ยงการใช้ฟีนิลอะละนีนในคนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมบางอย่าง ที่ทำให้ร่างกายในร่างกายสร้างฟีนิลอะละนีนออกมามากเกินไป โรคฟีนิลคีโตนูเรียเป็นหนึ่งในโรคเหล่านี้ คนที่เป็นโรคนี้ มีความบกพร่องทางสติปัญญา ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อีกมากมาย หากใช้ฟีนิลอะละนีนมาก ๆ จะต้องมีการตรวจคัดกรองทารกตั้งแต่แรกเกิดเพื่อตรวจสอบว่ามีความผิดปกติหรือไม่ และต้องระวังเรื่องการรับประทานอาหารเป็นพิเศษเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้

 

โรคจิตเภท: ควรใช้ฟีนิลอะละนีนด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ (Tardive Dyskinesia) ในคนที่เป็นโรคจิตเภทที่รุนแรงขึ้น

 

ผลข้างเคียง

ฟีนิลอะละนีนอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ปวดศีรษะและหัวใจวาย ในบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ   โปรดปรึกษาแพทย์

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ฟีนิลอะละนีนอาจมีปฏิกิริยาต่อยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

 

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยากับฟีนิลอะละนีนได้แก่:

  • เลโวโดพา (Levodopa)

เลโวโดพาใช้สำหรับโรคพาร์คินสัน การใช้ฟีนิลอะละนีนร่วมกับเลโวโดพาอาจทำให้โรคพาร์คินสันรุนแรงขึ้น ไม่ควรใช้ ฟีนิลอะละนีนควบคู่เลโวโดพา

  • ยาสำหรับภาวะซึมเศร้า (MAOIs)

ฟีนิลอะละนีนช่วยเพิ่มสารเคมีในร่างกายที่เรียกว่า ไทราไมน์ (Tyramine) ซึ่งหากมีจำนวนมากเกินไป อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและร่างกายจะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติเพื่อที่จะกำจัดมันออกไป เช่นเดียวกันกับยารักษาภาวะซึมเศร้าบางชนิด ทำให้เกิดมีไทราไมน์มากเกินไปและนำไปสู่ความดันโลหิตสูงที่อันตรายอย่างยิ่ง

ยาบางชนิดที่ใช้ในภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ฟีเนลไซน์ (Phenelzine) หรือนาร์ดิล (Nardil), ทรานิลซิโพรไมน์ (Tranylcypromine) หรือพาแมท (Parnate) และอื่น ๆ

  • ยารักษาโรคจิต

ยารักษาอาการทางจิตอาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อกระตุก การเคลื่อนไหวของ การใช้ฟีนิลอะละนีน ควบคู่กับยาบางอย่างสำหรับอาการทางจิตอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อกระตุก

ยารักษาอาการทางจิต บางชนิด ได้แก่ คลอโพรมาไซด์ (Chlorpromazine) หรือธอราไซด์ (Thorazine), คลอซาไพน์ (Clozapine) หรือคลอซริล (Clozaril), ฟลูฟีนาไซน์ (Fluphenazine) หรือโพรลิซิน (Prolixin), ฮาโลพีริโดล (Haloperidol) หรือฮาลโดล (Haldol), โอลานซาพีน (Olanzapine) หรือไซเพรกซา (Zyprexa), เพอร์เฟนนาซีน (Perphenazine) หรือไทรลาฟอน (Trilafon), โพรคลอร์เพอราไซน์ (Prochlorperazine) หรือคอมพาไซน์ (Compazine), เควทิอาไพน์ (Quetiapine) หรือเซโรเกล (Seroquel), ริสเพอริโดน (Risperidone) หรือริสเพอริดาล (Risperdal), ธิโอริดาไซน์ (Thioridazine) หรือเมลลาริล (Mellaril), ธิโอธิเซน (Thiothixene) หรือนาวาเน (Navane) และอื่น ๆ

 

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ

 

ขนาดการใช้ปกติสำหรับฟีนิลอะละนีนอยู่ที่เท่าไร:

ขนาดการใช้ต่อไปนี้มาจากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์:

โดยการรับประทาน:

  • โรคผิวหนังด่างขาว (Vitiligo): ผู้ใหญ่ใช้แอล-ฟีนิลอะละนีน 50-100 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ต่อวัน พร้อมกับการออกแดด

 

ขนาดการใช้ฟีนิลอะละนีนนั้นแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและพยาธิสภาพอื่น ๆ การใช้ฟีนิลอะละนีนไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอทราบขนาดการใช้ที่เหมาะสม

 

ฟีนิลอะละนีนมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

ฟีนิลอะละนีนอาจมีจำหน่ายอยู่ในรูปแบบยาต่อไปนี้:

  • ดี-ฟีนิลอะละนีน เอชพีแอลซี (D-Phenylalanine HPLC) 98% ชนิดแคปซูล
  • แอล-ฟีนิลอะละนีน (L-Phenylalanine) ชนิดแคปซูล
  • ดีแอล-ฟีนิลอะละนีน (DL-Phenylalanine) บริสุทธิ์
23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว