เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / โทโคไตรอีนอล (Tocotrienols)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
โทโคไตรอีนอล (Tocotrienols)

สรรพคุณของโทโคไตรอีนอล

โทโคไตรอีนอลมักพบตามแหล่งธรรมชาติ เช่น ปาล์ม และน้ำมันรำข้าว

  • การแก่ตัว
  • โรคอัลไซเมอร์
  • หลอดเลือดอุดตัน
  • โรคมะเร็ง
  • โรคเบาหวาน
  • ความบกพร่องของระบบประสาทอัตโนมัติจากกรรมพันธุ์
  • คอลเลสเตอรอลสูง
  • ไตล้มเหลว
  • การอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง

ใช้โทโคไตรอีนอลทาบนผิวหนังบริเวณก้น บริเวณปลูกผม และแผลเป็น

การศึกษาเกี่ยวกับกลไกออกฤทธิ์ของสมุนไพรชนิดนี้ยังมีไม่เพียงพอ กรุณาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับหมอสมุนไพร หรือ แพทย์   อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าโทโคไตรอีนอลมี 4 รูปแบบคือ อัลฟา (alpha-), เบตา (beta-), แกมมา (gamma-) และเดลตา-โทโคไตรอีนอล (delta-tocotrienols) โทโคไตรอีนอลดูเหมือนมีผลที่แตกต่างหลายอย่างกับร่างกาย โทโคไตรอีนอลอาจทำให้ระดับคอเลสเตอรอลต่ำลง และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของหัวใจ อีกทั้งมีประโยชน์กับคนที่เป็นโรคพันธุกรรมที่เรียกว่าความบกพร่องของระบบประสาทอัตโนมัติจากกรรมพันธุ์ โดยเพิ่มระดับโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือด

 

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร หรือ หมอสมุนไพร หาก:

  • กำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นช่วงที่ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาประเภทอื่น รวมถึงยาทุกชนิดที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารที่อยู่ในโทโคไตรอีนอล หรือยาและสมุนไพรอื่น ๆ
  • มีอาการป่วย ความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพ
  • เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์

ข้อกำหนดในการใช้อาหารเสริมสมุนไพรมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป แต่ควรศึกษาให้รอบคอบเพื่อรับรองความปลอดภัยของการใช้สมุนไพร ว่าควรเกิดคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย และควรปรึกษาแพทย์หรือหมอสมุนไพรเพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม

 

ความปลอดภัยในการใช้โทโคไตรอีนอล

ยังมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของโทโคไตรอีนอล

ข้อควรระวังและคำเตือน

สตรีตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร:

 ยังมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้โทโคไตรอีนอลระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้

โรคเบาหวาน:

โทโคไตรอีนอลอาจลดระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวาน ทางที่ดีที่สุดคือตรวจสอบกับผู้ให้บริการด้านการแพทย์ก่อนเริ่มใช้โทโคไตรอีนอล

การผ่าตัด:

โทโคไตรอีนอลอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด และอาจขัดขวางการควบคุมน้ำตาลในเลือดในระหว่าง และ หลังการผ่าตัด หยุดการใช้โทโคไตรอีนอลอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

บางคนใช้วิตามินอีซึ่งมีส่วนผสมของโทโคฟีรอล (tocopherols) และ โทโคไตรอีนอล (tocotrienols) อาจเกิดโรคผื่นแพ้สัมผัส  อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจจะมีอาการของผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาแพทย์

 

ปฏิกิริยาระหว่างระหว่างการใช้ยา

โทโคไตรอีนอลอาจทำปฏิกิริยากับยากำลังใช้หรือมีผลกระทบกับการรักษาของคุณในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้

 

ปริมาณการใช้ยา

ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยานี้ทุกครั้ง

ปริมาณทั่วในการใช้โทโคไตรอีนอล

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้สมุนไพรชนิดนี้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ สมุนไพรไม่ได้รับรองความปลอดภัยเสมอไป ควรสอบถามแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับตนเอง

รูปแบบของโทโคไตรอีนอล

โทโคไตรอีนอลอาจได้ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • โทโคไตรอีนอลชนิดของเหลวบรรจุแคปซูล
  • ยาหยดวิตามินอีโทโคไตรอีนอล
23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว