เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ขิง (Ginger)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ขิง (Ginger)

วิธีการใช้ขิง

 ขิงใช้เพื่ออะไร?

ขิงใช้เพื่อช่วยป้องกันหรือรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนจากอาการเมารถ,ตั้งครรภ์,และเคมีบำบัดโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังใช้ในการรักษาอาการท้องอืด,ไม่สบาย,หรือใช้เพื่อลดความเจ็บปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อมและอาจใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจได้อีกด้วย

 

การออกฤทธิ์?

ขิงมีสารเคมีที่มีส่วนช่วยลดอาการคลื่นไส้และการอักเสบได้

นักวิจัยเชื่อว่าสารเคมีทำงานเป็นหลักในกระเพาะอาหารและลำไส้เป็นลำดับแรก อีกทั้งอาจไปทำงานในสมองและระบบประสาทเพื่อควบคุมอาการคลื่นไส้

ควรปรึกษาแพทย์ หรือนักสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ขิง

ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ ซึ่งรวมถึงยาที่หาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา เช่น ขิง และอาหารเสริม
  • มีอาการแพ้สารบางอย่างในขิง หรือแพ้ยาชนิดอื่นๆ หรือแพ้สมุนไพรอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนิ่ว
  • มีอาการแพ้ต่างๆ เช่น แพ้อาหาร สารย้อมสี สารกันบูด หรือสัตว์
  • คุณกำลังใช้ขิงก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัดหรือวางยาชา

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยาทั่วไป จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ทั้งนี้ก่อนการใช้งาน ควรคำนึงถึงประโยชน์ของอาหารเสริมว่าควรมีมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

ขิงปลอดภัยแค่ไหน?

เด็ก:

มีการกล่าวกันว่าไม่ปลอดภัยที่จะใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

 

การตั้งครรภ์:

การใช้ขิงในระหว่างตั้งครรภ์เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ มีความกังวลว่าขิงอาจมีผลต่อฮอร์โมนเพศในครรภ์ได้ สตรีตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานมากกว่า 1 กรัมต่อวัน

 

ช่วงให้นมบุตร:

ไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ขิงในช่วงให้นมบุตร อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา

 

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจได้รับเมื่อใช้ขิง

นี่คือบางส่วนของผลข้างเคียง:

  • อาการแสบร้อนกลางอก
  • โรคอุจจาระร่วง
  • รู้สึกไม่สบายท้อง
  • เลือดออกมากเมื่อมีประจำเดือน
  • ระคายเคืองต่อผิวหนัง

ไม่ใช่ทุกคนจะได้รับผลข้างเคียงดังกล่าว และอาจมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์

 

ปฏิกิริยา

ปฏิกิริยาที่อาจได้รับจากการใช้ขิง

ขิงอาจมีปฏิกิริยากับยาหรือเงื่อนไขทางการแพทย์ในปัจจุบันของคุณ ควรปรึกษากับนักสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้งาน

ขิงอาจมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับยาตามใบสั่งแพทย์และยาที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์เช่น:

  • ยาเจือจางเลือด (Blood-thinning medications): ขิงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือด ดังนั้นการใช้ขิงพร้อมกับยาที่ทำให้การแข็งตัวของเลือดช้า อาจเพิ่มโอกาสการห้อเลือดและเลือดออกมากได้ เช่นแอสไพริน, clopidogrel (Plavix), diclofenac (Voltaren, Cataflam,อื่น ๆ ), ibuprofen (Advil, Motrin,อื่น ๆ ), naproxen (Anaprox, Naprosyn , ยาอื่น ๆ ), dalteparin (Fragmin), enoxaparin (Lovenox), heparin, warfarin (Coumadin), phenprocoumon (ยาต้านมะเร็งที่มีอยู่นอกสหรัฐฯ) และอื่น ๆ
  • ยารักษาโรคเบาหวาน: ขิงอาจไปลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
  • ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง: ขิงอาจช่วยลดความดันโลหิต จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตต่ำหรือหัวใจเต้นผิดปกติ

ปริมาณที่ควรรับประทาน

ข้อมูลที่ให้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

ปริมาณปกติสำหรับการใช้ถั่งเช่า คือเท่าไร?

ปริมาณการใช้อาหารเสริมชนิดนี้ อาจมีความแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ อนึ่งอาหารเสริมไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณการใช้ยาที่เหมาะสม

กุมาร

  • ไม่แนะนำให้ใช้ขิงกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
  • เด็กที่อายุมากกว่า 2 ปีอาจใช้ขิงในการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน, ปวดท้อง และปวดหัว ควรขอคำแนะนำจากแพทย์เพื่อปริมาณที่เหมาะสม

ผู้ใหญ่

เมื่อใช้รับประทานโดยตรง: ห้ามใช้ขิงจำนวนมากกว่า 4 กรัมต่อวัน รวมทั้งที่ทานจากอาหาร

  • สำหรับอาการคลื่นไส้อาเจียน, มีก๊าซ, หรืออาหารไม่ย่อย: มีงานวิจัยที่ให้ใช้ขิง 1 กรัมต่อวัน (ในปริมาณเฉลี่ย)
  • สำหรับการอาเจียนที่เกิดจากการตั้งครรภ์: มีงานวิจัยที่ให้ใช้ยาตั้งแต่ 650 มก. ถึง 1 กรัมต่อวัน อย่าใช้ขิงโดยไม่ได้รับการปรึกษากับแพทย์ก่อน
  • สำหรับอาการปวดข้อ(อักเสบ):มีงานวิจัยงานหนึ่งที่ให้ใช้ในปริมาณ 250 มก. ,4 ครั้งต่อวัน
  • สำหรับอาการปวดในช่วงมีประจำเดือน: ใช้ในปริมาณ 250 มิลลิกรัมของขิงสกัด (Zintoma, Goldaru), 4 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 3 วันนับจากเริ่มมีประจำเดือน นอกจากนี้ยังมีการใช้ผงขิง 1500 มิลลิกรัมต่อวันในปริมาณที่แตกต่างกันสามครั้งโดยเริ่มตั้งแต่สองวันก่อนมีประจำเดือนและยังคงใช้ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 วันแรกของรอบการมีประจำเดือน
  • สำหรับอาการแพ้ท้อง: ใช้ขิง 500 ถึง 2500 มก. ทุกวัน วันละ2-4ครั้ง เป็นเวลา 3 วันถึง 3 สัปดาห์
  • สำหรับอาการคลื่นไส้และอาเจียนหลังการผ่าตัด: 1-2 กรัมของรากขิงผง ในช่วง 30-60 นาทีก่อนที่จะเริ่มใช้ยาชา บางครั้งอาจใช้ขิง 1 กรัมหลังการผ่าตัดไปแล้ว 2 ชั่วโมง
  • สำหรับอาการคลื่นไส้และอาเจียนที่เกิดจากการรักษาเอชไอวี / เอดส์: ใช้ขิง 1 กรัม แบ่งเป็น 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 30 นาทีก่อนจะเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเป็นเวลา 14 วัน

การใช้ภายนอก:

  • สำหรับโรคข้อเสื่อม (osteoarthritis): เจลที่ประกอบไปด้วยขิงและไพล (Plygersic gel, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย) ใช้ยา 4 กรัม โดยแบ่งเป็น 4ครั้งต่อวันเป็นเวลา 6 สัปดาห์

 

ขิงสามารถพบได้ในรูปแบบใด?

ขิงอาจหาได้ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • สารสกัดจากขิง,ทิงเจอร์ , เจล, แคปซูล และน้ำมัน
  • รากขิงสดและชา

 

Ginger. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/ginger. Accessed November 10, 2016

Ginger. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-961-ginger.aspx?activeingredientid=961. Accessed November 10, 2016

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว