เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน (N-Acetyl Glucosamine)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน (N-Acetyl Glucosamine)

การใช้

เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน ใช้ทำอะไร?

เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน โดยทั่วไปใช้ในการบรรเทาอาการของ กลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (IBD), ในเด็กที่เป็นโรคโครห์นหรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล นอกจากนี้ เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน สามารถใช้สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม

 

เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน ทำงานอย่างไร?

ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของ เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน ไม่มากพอ ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่า

เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนเป็นสารเคมีที่มาจากเปลือกหอย สารเคมีนี้อาจเป็นประโยชน์ในการปกป้องเยื่อบุของกระเพาะอาหารและลำไส้

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน?

ควรปรึกษากับแพทย์, เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • มีอาการแพ้สารใดๆที่มีสารประกอบของเอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน ผสมยู่ หรือยาและสมุนไพรอื่นๆ
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

 

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนปลอดภัยแค่ไหน?

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะทราบว่าเอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนปลอดภัยหรือไม่

 

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ยังไม่เป็นที่แน่ชัดเกี่ยวกับการใช้เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรอยู่ในด้านความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้

โรคหอบหืด: นักวิจัยยังไม่แน่ใจว่าทำไม แต่กลูโคซามีน อาจทำให้อาการหอบหืดแย่ลงในบางคน หากท่านเป็นโรคหอบหืด ควรใช้กลูโคซามีนด้วยความระมัดระวัง

โรคเบาหวาน: การวิจัยในช่วงต้นๆ ชี้ว่ากลูโคซามีนอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นในคนที่เป็นโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม มีการวิจัยที่เชื่อถือได้มากขึ้นแสดงให้เห็นว่า กลูโคซามีนดูเหมือนจะไม่ส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ตราบใดท่านตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ท่านอาจใช้กลูโคซามีนได้อย่างปลอดภัย

การผ่าตัด: เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและอาจแทรกแซงการควบคุมน้ำตาลในเลือดระหว่างและหลังการผ่าตัด หยุดใช้เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

 

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากเอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน มีอะไรบ้าง?

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการใช้เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน อย่างไรก็ตามมีความกังวลว่ากลูโคซามีนอาจก่อให้เกิดอาการแพ้สำหรับผู้ที่แพ้สัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือก ซึ่งกลูโคซามีนผลิตจากหอย กุ้งและปู แต่ผู้ที่แพ้สัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือกจะเกิดจากการแพ้เนื้อด้านใน ไม่ใช่เปลือก ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับปฏิกิริยาการแพ้กลูโคซามีนในคนที่แพ้สัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือก ยังมีข้อมูลด้านบวกบางอย่างแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่มีอาการแพ้สัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือกอาจใช้ผลิตภัณฑ์กลูโคซามีนได้อย่างปลอดภัย

มีความกังวลว่า กลูโคซามีน อาจเพิ่มปริมาณอินซูลินในร่างกาย หากมีอินซูลินมากเกินไป อาจทำให้ความดันโลหิตสูง, ระดับไขมันในเลือดสูง และอื่นๆ เรียกว่า ไตรกลีเซอไรด์ ในขณะที่การวิจัยในสัตว์ดูเหมือนว่าจะยืนยันว่า กลูโคซามีน สามารถเพิ่มระดับไขมันในเลือดได้ นักวิจัยยังไม่พบผลดังกล่าวในมนุษย์ ผลการวิจัยจนถึงปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า กลูโคซามีน ดูเหมือนจะไม่เพิ่มความดันโลหิตหรือเพิ่มระดับไขมันในเลือดสำหรับคนที่มีอายุมากกว่า 45 ปีที่ใช้เกลือซัลเฟต นานถึง 3 ปี

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อย่างไรก็ตาม อาจเกิดผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากกังวลเรื่องผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับเอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดนี้อาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้ควบคู่กันในปัจจุบันหรือความเจ็บป่วยของท่าน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

 

ยาที่อาจโต้ตอบกับอาหารเสริมตัวนี้ ได้แก่

- วาร์ฟาริน Warfarin (Coumadin)

วาร์ฟาริน ใช้ในการชะลอการแข็งตัวของเลือด มีหลายรายงานที่แสดงให้เห็นว่าการใช้ กลูโคซามีน ที่มีหรือไม่มี คอนดรอยติน เพิ่มผลกระทบของวาร์ฟารินในการแข็งตัวของเลือด

จึงอาจทำให้เกิดช้ำและเลือดออกที่ร้ายแรง ห้ามใช้กลูโคซามีน หากท่านกำลังใช้วาร์ฟาริน

- ยาสำหรับโรคมะเร็ง (เคมีบำบัด)

มีความกังวลว่าเอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน อาจลดประสิทธิภาพของยาสำหรับโรคมะเร็งบางชนิด แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นได้หรือไม่

- ยาสำหรับโรคเบาหวาน ได้แก่ ไกลเมพิไรด์ (glimepiride), ไกลมูไรด์ (glyburide), อินซูลิน (Insulin), ไพโอกลิตาโซน (pioglitazone), โรสิกลิตาโซน (rosiglitazone) หรือ อะแวนเดีย (Avandia), คลอร์โพรพาไมด์ (chlorpropamide) หรือ ไดอะบีนีส (Diabinese), ไกลพิไซด์ (glipizide) หรือกลูโคทรอล (Glucotrol), โทลบูตาไมด์ (tolbutamide) หรือ ออริเนส (Orinase) และอื่น ๆ;

มีความกังวลว่า กลูโคซามีน อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นในคนที่เป็นเบาหวาน นอกจากนี้ยังมีความกังวลว่า กลูโคซามีน อาจไปลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานทำงานได้ อย่างไรก็ตาม มีการวิจัยชี้ให้เห็นว่า กลูโคซามีน อาจไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นในคนที่เป็นโรคเบาหวาน ดังนั้น กลูโคซามีน อาจไม่ไปแทรกเเซงการใช้ยาเบาหวาน หากต้องการใช้ ควรใช้เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนด้วยความระมัดระวัง และควรตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดของท่านอย่างใกล้ชิด

 

อะเซตามิโนเฟน/ ไทลีนอล (Acetaminophen /Tylenol /อื่น ๆ )

มีความกังวลว่าการรับประทาน กลูโคซามีน และ อะเซตามิโนเฟนพร้อมกัน อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละส่วน แต่จำเป็นต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อทราบว่าปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นได้หรือไม่

โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับอาหารเสริมชนิดนี้ ได้แก่

โรคหอบหืด, โรคเบาหวานและการผ่าตัด

 

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ

ขนาดปกติของการใช้เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนอยู่ที่เท่าไร?

ขนาดการใช้เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีน อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขนาดการใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทราบขนาดที่เหมาะสม

 

เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง?

เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

- เอ็น-อะซิทิว กลูโคซามีนชนิดแคปซูล 250, 500, 750 มิลลิกรัม

 

N-acetyl glucosamine. http://www.rxlist.com/n acetyl_glucosamine/supplements.htm. Accessed April, 06, 2017.

N-acetyl glucosamine. http://www.medicinenet.com/n-acetyl_glucosamine-page2/supplements-vitamins.htm. Accessed April, 06, 2017.

N-acetyl glucosamine. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-619-N-ACETYL+GLUCOSAMINE.aspx?activeIngredientId=619&activeIngredientName=N-ACETYL+GLUCOSAMINE&source=2. Accessed April, 06, 2017.

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว