เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / โนนิ (Noni)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
โนนิ (Noni)

การใช้

ต้นยอใช้ทำอะไร

ต้นยอคือต้นไม้ในป่าดิบชื้นขนาดเล็กในหมู่เกาะแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และอินเดีย มักเติบโตในแถบลาวาหลาก

ในอดีต ต้นยอถูกนำมาใช้เป็นสีแดงและสีเหลืองเพื่อย้อมผ้า และยังใช้เป็นยาเพื่อรักษาบริเวณผิวหนัง

ปัจจุบัน ผล ใบ ดอก เปลือก และรากของลูกยอ ได้นำมาใช้เป็นยาเพื่อรักษาอาการป่วยที่ใช้เวลานาน อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของลูกยอสำหรับการใช้เป็นยาก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์

ผู้คนรับประทานลูกยอเพื่อบรรเทาอาการจุกเสียด อาการชัก ไอ เบาหวาน เจ็บปวดขณะปัสสาวะ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต แก้ไข้ โรคตับ ท้องผูก ตกขาวระหว่างการตั้งครรภ์ ไข้มาเลเรียและคลื่นไส้อาเจียน

นอกจากนี้ลูกยอยังใช้รักษาอาการ โรคฝีดาษ ม้ามโต อาการบวม โรคหืด โรคปวดข้อกระดูกและปัญหาข้อต่อต่างๆ โรคมะเร็ง ต้อกระจก อาการไข้ อาการวิตกกังวล ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและโรคแผลในกระเพาะอาหาร

สรรพคุณอื่นๆ ของลูกยอ เช่น ลดภาวะความดันโลหิตสูง การติดเชื้อ ความผิดปกติของไต โรคปวดศีรษะไมเกรน อาการก่อนมีประจำเดือน โรคหลอดเลือดหัวใจ อาการเจ็บปวดและการรับงับประสาท

น้ำลูกยอ ใช้รักษาอาการ โรคข้ออักเสบ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการก่อนมีประจำเดือน ปวดศีรษะ โรคหัวใจ เอดส์ โรคมะเร็ง แผลในกระเพาะอาหาร เคล็ดขัดยอก อาการวิตกกังวล โรคชราภาพ ปัญหาการไหลเวียนโลหิต โรคหลอดเลือดแดงแข็งและอาการติดยาเสพติด

ใบยอสามารถรักษาอาการโรคข้อรูมาตอยด์และอาการปวดบวมข้อต่อ ปวดท้อง อาการบวมจากการติดเชื้อปรสิตที่เรียกว่า โรคเท้าช้าง

เปลือกต้นยอ นำมาใช้เพื่อเตรียมการคลอดบุตร

บางครั้ง ลูกยอถูกนำมาใช้ทาบริเวณผิวหนังเพื่อความชุ่มชื้นและฟื้นฟูริ้วรอย ใบยอนำมารักษาอาการปวดข้อโดยการพันไว้รอบๆ บริเวณที่มีอาการ เช่นเดียวกับการรักษาอาการปวดศีรษะ ให้นำใบยอมาพันไว้บริเวณรอบหน้าผาก การรักษาผิวหนังไหม้หรือบาดแผลต่างๆ ให้นำใบยอมาปิดไว้บริเวณที่มีแผล เมื่อนำใบยอและผลยอมาผสมรวมกันสามารถใช้รักษาอาการติดเชื้อ (ฝี) ได้ ส่วนรากสามารถรักษาบาดแผลที่เกิดจากปลากระเบน

ผล ราก เมล็ด และเปลือกของต้นยอสามารถรับประทานได้

ผลที่ได้

เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ อย่างไรก็ดี อย่างที่ทราบกันว่า ลูกยอประกอบไปด้วยสารหลายชนิด เช่น โพแทสเซียม ซึ่งช่วยในการฟื้นฟูเซลล์ในร่างกาย กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

 

ข้อควรระวังและคำเตือนการใช้

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ต้นยอ

ควรปรึกษาหรือพบกับแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างรับประทานยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • หากเคยมีประวัติแพ้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งของต้นยอ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆ
  • หากมีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือสภาพทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากเคยมีประวัติการแพ้ต่างๆ แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายาชนิดอื่นๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้ต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์

ต้นยอปลอดภัยหรือไม่

ต้นยอปลอดภัยสำหรับการรับประทานเมื่อปรุงเป็นอาหารแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของต้นยออยู่เช่นกัน

 

ข้อควรระวังและคำเตือนการใช้โดยเฉพาะ

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ห้ามรับประทานลูกยอขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากในอดีตมีการใช้ลูกยอเพื่อการทำแท้ง จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานลูกยอในขณะตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร

โรคไต: ลูกยอมีปริมาณโพแทสเซียมมาก ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหากับผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับโรคไต มีรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้นเมื่อดื่มน้ำลูกยอ จึงควรงดรับประทานถ้ามีอาการดังกล่าว

ภาวะโพแทสเซียมสูง: การดื่มน้ำลูกยออาจทำให้ปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายสูงขึ้นมากเกินไป

โรคตับ: ลูกยออาจก่อให้เกิดปัญหากับผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับโรคตับ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานลูกยอหากมีอาการดังกล่าว

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ต้นยอ

ชาลูกยอหรือน้ำลูกยอ อาจส่งผลกระทบกับโรคตับในบางคน มีรายงานเกี่ยวกับผู้ที่มีอาการปัญหาเกี่ยวกับตับเมื่อดื่มชาลูกยอหรือน้ำลูกยอติดต่อกันหลายสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีเป็นที่แน่ชัดว่าเป็นสาเหตุมาจากลูกยอ

จากอาการผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์

 

ปฏิกิริยาระหว่างกันของยา

ปฏิกิริยาที่จะได้รับเมื่อใช้ยาอื่นควบคู่กับต้นยอ

ต้นยออาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ยาที่อาจมีปฏิกิรยาเมื่อใช้ร่วมกันต้นยอ:

  • ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูง (ยาลดความดันโลหิต)

ยาบางชนิดสำหรับรักษาภาวะความดันโลหิตสูง อาจมีประสิทธิภาพในการเพิ่มระดับโพแทสเซียมในร่างกาย เมื่อรับประทานน้ำลูกยอในขณะใช้ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูง อาจทำให้ระดับโพแทสเซียมในร่างกายสูงเกินไป

ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูง เช่น แคปโตรพริล อีนาลาพริล ลิซินโนพริล รามิพริล และอื่นๆ

  • ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูง (ตัวบล็อกตัวรับแอนจีโอเทนซิน)

ยาบางชนิดสำหรับรักษาภาวะความดันโลหิตสูง อาจมีประสิทธิภาพในการเพิ่มระดับโพแทสเซียมในร่างกาย เมื่อรับประทานน้ำลูกยอในขณะใช้ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูง อาจทำให้ระดับโพแทสเซียมในร่างกายสูงเกินไป

ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูง เช่น ลอซาร์แทน วัลซาร์แทน เออบีซาร์แทน แคนดีซาร์แทน เทลมิซาร์แทน อีโพรซาร์แทน และอื่นๆ

  • ยาที่เป็นอันตรายต่อตับ

ลูกยออาจเป็นอันตรายต่อตับ เมื่อรับประทานร่วมกับยาที่เป็นอันตรายต่อตับเช่นกัน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน

ยาที่เป็นอันตรายต่อตับ เช่น  อะเซตามิโนเฟน อะมิโอดาโรน คาบามาเซฟีน ไอโซไนอาซิด เมโธเทรกเซท เมทริลโดปา ฟลูโคนาโซล ไอทราคอนนาโซล อิทริโรมันซิน เฟนิโทอิน โลวาสแตติน ปราวาสแตติน ซิมวาสแตติน และอื่นๆ

  • วาร์ฟาริน (คูมาดิน)

ยาวาร์ฟาริน (คูมาดิน) มีประสิทธิภาพทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง การรับประทานน้ำลูกยออาจทำให้ประสิทธิภาพของยาวาร์ฟารินลดลงและเพิ่มโอกาสการแข็งตัวของเลือด

  • ยาขับน้ำ (ยาโปแตสเซียม-สแปริ่ง ไดยูเรติก)

ลูกยอมีส่วนประกอบของโพแทสเซียมในปริมาณมาก ยาขับน้ำบางชนิดอาจเพิ่มปริมาณโพแทสเซียมในร่างกาย เมื่อใช้ร่วมกันอาจทำให้ปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายมีมากเกินไป

ยาขับน้ำบางชนิดที่อาจเพิ่มปริมาณโพแทสเซียมในร่างกาย เช่น อะมิโลไรด์ สะไพโนโลแลกโทน และไตรแอมเทอรีน

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติของการใช้ต้นยออยู่ที่เท่าไร

 

ปริมาณการใช้ต้นยออาจแตกต่างกันไปในแต่ละผู้ป่วย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับการรับประทาน

 

ต้นยอมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

ต้นยออาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • น้ำลูกยอ
  • แคปซูล
  • ผง
  • ชา

Nonihttp://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-758-noni.aspx?activeingredientid=758 Accessed July 13, 2017

Noni https://www.drugs.com/npc/noni.html Accessed July 13, 2017

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว