เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / โอ๊ต (Oats)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
โอ๊ต (Oats)

การใช้

โอ๊ตใช้ทำอะไร

โอ๊ตคือพืชชนิดหนึ่ง เมล็ดและรำ ใช้รักษาและป้องกันโรคทางแพทย์ต่างๆ ดังนี้:

  • ความดันโลหิตสูง
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • เบาหวาน
  • ภาวะลำไส้แปรปรวน
  • โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่
  • การอักเสบของระบบทางเดินอาหาร
  • ท้องเสีย
  • ท้องผูก
  • โรคหัวใจ
  • นิ่วในถุงน้ำดี
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • ปวดข้อ (โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์)
  • อาการอ่อนเพลีย
  • ภาวะประสาทเปลี่ย
  • ระดับกรดยูริกสูง
  • อาการวิตกกังวล ตื่นเต้น และโรคเครียด
  • กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน
  • โรคไต
  • ความผิดปกติของเนื้อเยื่อ
  • โรคผิวหนัง
  • การเป็นพิษจากไขมันเนื่องจากการรักษาเอชไอวี
  • ใช้เป็นยาบำรุง
  • อาการทางผิวหนัง เช่น ระคายเคือง แห้งกร้าน ผิวมัน ผิวหนังอักเสบและผื่นระคายสัมผัส
  • โรคสุกใส
  • โรคข้อเสื่อม
  • โรคตับ

บางครั้ง ใช้โอ๊ตผสมน้ำล้างเท้าเพื่อรักษาอาการเท้าเย็นหรืออ่อนเพลีย

นอกจากนี้ ใบและลำต้น (ฟาง) ของโอ๊ต สามารถนำมาใช้รักษาไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (H1N1) บรรเทาอาการไอ โรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ ปวดข้อ โรคตา อาการบวมน้ำ โรคเกาต์และโรคผิวหนังพุพอง.

โอ๊ตอาจสามารถใช้รักษาอาการอื่นๆ ได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์

 

ผลที่ได้

โอ๊ตสามารถช่วยปรับระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด โดยทำให้รู้สึกอิ่มไว ฟางข้าวโอ๊ตมีประสิทธิภาพในการปิดกั้นการดูดซึมเพื่อบรรเทาอาการของโรคหัวใจ คอเลสเตอรอลสูงและเบาหวาน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์

 

ข้อควรระวังและคำเตือนการใช้

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้โอ๊ต

ควรปรึกษาหรือพบกับแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างรับประทานยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • หากเคยมีประวัติแพ้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งของโอ๊ตหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆ
  • หากมีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือสภาพทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากเคยมีประวัติการแพ้ต่างๆ แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายาชนิดอื่นๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้ต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์

 

โอ๊ตปลอดภัยหรือไม่

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร:

ข้าวโอ๊ตปลอดภัยสำหรับการรับประทานในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

 

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้โอ๊ต

การรับประทานข้าวโอ๊ตอาจทำให้มีแก๊สในกระเพาะอาหารและท้องอืด เพื่อลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ควรเริ่มรับประทานในปริมาณที่น้อยและเพิ่มขึ้นช้าๆ ตามปริมาณที่ต้องการ

จากอาการผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์

 

ปฏิกิริยาระหว่างกันของยา

ปฏิกิริยาที่จะได้รับเมื่อใช้ยาอื่นควบคู่กับโอ๊ต

โอ๊ตอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

อาการทางสุขภาพ เช่น:

  • การกลืนและการเคี้ยวอาหารลำบาก: เมื่อเคี้ยวข้าวโอ๊ตไม่ละเอียดอาจทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้
  • ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้: ปัญหาของระบบทางเดินอาหารอาจเพิ่มระยะเวลาในการย่อยอาหารและอาจทำให้ข้าวโอ๊ตอุดตันในลำไส้

 

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติของการใช้ข้าวโอ๊ตอยู่ที่เท่าไร

 

ผลิตภัณฑ์ข้าวโอ๊ตเต็มเมล็ด

  • สำหรับการรักษาภาวะคอเลสเตอรอลสูฃ: ปริมาณที่แนะนำสำหรับการรับประทานคือ รำข้าวโอ๊ตหรือโอ๊ตมีลล์ 56-150 กรัม จะประกอบไปด้วย เบต้ากลูแคน (ใยอาหาร) 3.6-10 กรัม รับประทานทุกวัน คืออาหารไขมันต่ำ

รับประทานข้าวโอ๊ตเควกเกอร์ วันละ 40 กรัม (1 ถ้วยครึ่ง) จะประกอบไปด้วย เบต้ากลูแคน 2 กรัม

รับประทานแชร์ริโอส์ วันละ 30 กรัม (1ถ้วย) จะประกอบไปด้วย เบต้ากลูแคน 1 กรัม

  • สำหรับการรักษาระดับคลูโคสในเลือดต่ำ ในผู้ป่วยเบาหวานระดับที่: รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงทุกวัน เช่น ผลิตภัณฑ์รำข้าวโอ๊ต จะประกอบไปด้วยใยอาหาร 28 กรัม รำข้าวโอ๊ต 38 กรัม หรือ โอ๊ตมีลล์ 75 กรัม จะประกอบไปด้วยเบต้ากลูแคน 3 กรัม

 

สารสกัดข้าวโอ๊ต:

ดื่มน้ำสารสกัดข้าวโอ๊ตประมาณ 2-3 ช้อนชา หรือ 1 ถ้วย ผสมกับน้ำต้มสุก และทิ้งไว้ 15 นาทีก่อนรับประทาน

 

สารากัดแอลกอฮอล์ข้าวโอ๊ต:

ปริมาณการใช้สารสกัดแอลกอฮอล์ข้าวโอ๊ต อยู่ที่ 3-5 มิลลิลิตร 3 ครั้งต่อวัน

 

น้ำข้าวโอ๊ตเข้มข้น:

การใช้น้ำข้าวโอ๊ตเข้มข้นเพื่อผสมน้ำอาบ ใช้ข้าวโอ๊ตปริมาณ 1 ปอนด์ ต้มกับน้ำเดือด 2/4 แกลลอน และต้มทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที

 

ปริมาณการใช้ข้าวโอ๊ตอาจแตกต่างกันไปในแต่ละผู้ป่วย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับการรับประทาน

 

ข้าวโอ๊ตมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

ข้าวโอ๊ตอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • สารสกัดแอลกอฮอล์ข้าวโอ๊ต
  • สารสกัดข้าวโอ๊ต

 

Oats. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-814-oats.aspx?activeingredientid=814&activeingredientname=oats. Accessed November 28, 2016

Oats. http://www.herbal-supplement-resource.com/oat-straw.html. Accessed November 28, 2016

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว