เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / หัวหอม (Onion)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
หัวหอม (Onion)

การใช้

หัวหอมใช้ทำอะไร

หัวหอมคือพืชชนิดหนึ่ง ใช้ทำเป็นยาได้

หัวหอมใช้รักษาอาการต่อไปนี้:

  • รักษาปัญหาระบบการย่อยอาหาร อาการเบื่ออาหาร ท้องเสีย และโรคนิ่วในถุงน้ำดี
  • รักษาโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด เช่น อาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือด และภาวะความดันโลหิตสูง
  • ป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
  • รักษาแผลบริเวณช่องปากและคอ โรคไอกรน หลอดลมอักเสบ หอบหืด ภาวะขาดน้ำ แก๊สในกระเพาะอาหาร พยาธิและโรคเบาหวาน

หัวหอมบางครั้งใช้เป็นยขับปัสสาวะเพื่อให้ปัสสาวะมากขึ้น

นำหัวหอมมาทาบริเวณผิวหนังเพื่อรักษาแผลแมลงกัด แผลทั่วไป แผลไฟไหม้ แผลน้ำร้อนลวก หูด และรอยฟกช้ำ

หัวหอมสามารถนำมาเป็นส่วนประกอบได้หลากหลายเมนู

ในด้านอุตสาหกรรม หัวหอมใช้เป็นรสชาติหนึ่งของอาหาร

 

 

ผลที่ได้

หัวหอมมีประสิทธิภาพในการลดระดับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงของการแข็งตัวของเส้นเลือด มีข้อหมูลว่าหัวหอมช่วยลดความหนาแน่นในปอดในผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับการศึกษาสรรพคุณของหัวหอม หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ข้อควรระวังและคำเตือนการใช้

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้หัวหอม

ควรปรึกษาหรือพบกับแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างรับประทานยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • หากเคยมีประวัติแพ้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งของหัวหอมหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆ
  • หากมีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือสภาพทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากเคยมีประวัติการแพ้ต่างๆ แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายาชนิดอื่นๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้ต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์

หัวหอมปลอดภัยหรือไม่

หัวหอมปลอดภัยสำหรับการรับประทานในปริมาณที่สามารถพบได้ในอาหารทั่วไป และใช้ทาบริเวณผิวหนังได้ และปลอดภัยในการรับประทานปริมาณมาก ติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน

ข้อควรระวังและคำเตือนการใช้โดยเฉพาะ

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ยังไม่มีรายงานที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยของหัวหอม หากอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่องให้นมบุตร จึงควรอยู่ในความควบคุมที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้ในปริมาณที่มาก

ภาวะเลือดออกผิดปกติ: หัวหอมมีประสิทธิภาพทำให้เลือดแข็งตัวช้า จึงมีข้อกังวลว่าอาจทำให้มีความเสี่ยงของภาวะเลือดออกผิดปกติ ไม่ควรใช้หัวหอมหรือสารสกัดจากหัวหอมหากมีอาการดังกล่าว

โรคเบาหวาน: หัวหอมมีประสิทธิภาพลดระดับน้ำตาลในเลือด หากมีอาการของโรคเบาหวานและใช้ยาสกัดจากหัวหอม ควรตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระมัดระวัง

การผ่าตัด: หัวหอมมีประสิทธิภาพทำให้เลือดแข็งตัวช้าและมีประสิทธิภาพลดระดับน้ำตาลในเลือด ในทางทฤษฎี หัวหอมอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเลือดออกผิดปกติและมีผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างการผ่าตัดหรือหลังการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานหัวหอมอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้หัวหอม

ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการใช้หัวหอม หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์

 

ปฏิกิริยาระหว่างกันของยา

ปฏิกิริยาที่จะได้รับเมื่อใช้ยาอื่นควบคู่กับหัวหอม

หัวหอมอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับหัวหอม:

  • แอสไพริน

ในผู้ที่มีอาการแพ้หัวหอม แอสไพรินอาจเพิ่มความไวต่อการแพ้หัวหอม แต่กรณีนี้มีรายงานเพียงแค่หนึ่งคนเท่านั้น เพื่อความปลอดภัย หากมีอาการแพ้หัวหอมควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินควบคู่กับการรับประทานหัวหอม

  • ลิเทียม

หัวหอมมีประสิทธิภาพคล้ายกับยาขับน้ำ หรือ “ยาขับปัสสาวะ” การรับประทานหัวหอมอาจทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดลิเทียมในร่างกายลดลงและระดับลิเทียมในร่างกายมากขึ้นจนอาจเกิดผลข้างเคียงร้ายแรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับหัวหอมในขณะที่ใช้ยาเกี่ยวกับลิเทียม

  • ยารักษาโรคเบาหวาน (ยาต้านเบาหวาน)

หัวหอมมีประสิทธิภาพลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาต้านเบาหวานก็มีประสิทธิภาพในการลดระกับน้ำตาลในเลือดเช่นกัน เมื่อรับประทานควบคู่กันอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำจนเกินไป ควรตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด และควรปรับเปลี่ยนปริมาณยาต้านเบาหวานให้เหมาะสม

ยาต้านเบาหวาน เช่น ไกลเมพิไรด์ ไกลบูไรด์  ไกลนีส ไกลนีส เพรสแท็บ อินซูลิน พิโอกิลตาโซน โรซิกิลตาโซน คลอร์โพพาไมด์ กิลพิไซด์ ทอลบูตาไมด์ และอื่นๆ

  • ยาชะลอการแข็งตัวของเลือด (ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือ ยาต้านเกล็ดเลือด)

หัวหอมมีประสิทธิภาพทำให้เลือดแข็งตัวช้า เมื่อรับประทานคู่กับยาชะลอการแข็งตัวของเลือด  อาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเลือดออกผิดปกติ

ยาชะลอการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน โครพิโดเกรล ไดโคลฟิแนก ไอบูโปรเฟ่น นาพรอกเซน ดาลเทพาริน อีนอกซาพาริน เฮพาริน วาร์ฟาริน และอื่นๆ

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติของการใช้หัวหอมอยู่ที่เท่าไร

ปริมาณการใช้หัวหอมอาจแตกต่างกันไปในแต่ละผู้ป่วย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับการรับประทาน

หัวหอมมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากหัวหอมอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • แคปซูล
  • สารสกัดบริสุทธิ์
  • ยาน้ำ
  • ผง

 

Onion. http://www.healwithfood.org/health-benefits/eating-red-onions.php. Accessed April, 06, 2017.

Onion. http://www.rxlist.com/onion/supplements.htm. Accessed April, 06, 2017.

Onion. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-643-ONION.aspx?activeIngredientId=643&activeIngredientName=ONION&source=2. Accessed April, 06, 2017.

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว