เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ชาอู่หลง (Oolong Tea)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ชาอู่หลง (Oolong Tea)

การใช้

ชาอู่หลงใช้ทำอะไร

ชาอู่หลง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากใบ ดอก และลำต้นของต้นชา ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับชาดำและชาเขียว เพียงแตกต่างกันตรงการผลิต ชาอู่หลงผ่านกระบวนการหมัก แต่ชาดำและชาเขียวไม่ผ่านกระบวนการหมักใดๆ ทั้งสิ้น

ชาอู่หลงใช้รักษาอาการต่อไปนี้:

  • ฟื้นฟูทักษาะทางความคิดและความตื่นตัวทางจิต
  • ป้องกันโรคมะเร็ง ฟันผุ โรคกระดูกพรุน และโรคหัวใจ
  • รักษาโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ภาวะคอเลสเตอรอลสูง อาการแพ้บริเวณผิวหนังและโรคผิวหนัง
  • เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ผลที่ได้

เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ อย่างไรก็ดี อย่างที่ทราบกันว่า ชาอู่หลงมีส่วนประกอบของคาเฟอีน คาเฟอีนมีประสิทธิภาพในการกดประสาทส่วนกลาง การทำงานของหัวใจและกล้ามเนื้อ เนื่องจากชาอู่หลงมีสารทีโอฟิลลีนและทีโอโบรมีน ซึ่งมีประสิทธิภาพคล้ายกับคาเฟอีน

 

ข้อควรระวังและคำเตือนการใช้

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ชาอู่หลง

ควรปรึกษาหรือพบกับแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างรับประทานยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • หากเคยมีประวัติแพ้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งของชาอู่หลงหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆ
  • หากมีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือสภาพทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากเคยมีประวัติการแพ้ต่างๆ แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายาชนิดอื่นๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้ต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์

ชาอู่หลงปลอดภัยหรือไม่

การดื่มชาอู่หลงในปริมาณที่มากกว่า 5 แก้วต่อวัน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเนื่องจากได้รับคาเฟอีนมากเกินไป

 

ข้อควรระวังและคำเตือนการใช้โดยเฉพาะ

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: การดื่มชาอู่หลงในปริมาณน้อยหรือไม่เกินวันละ 2 ถ้วย ไม่เป็นอันตรายต่อครรภ์ตั้งครรภ์ เนื่องจากมีปริมาณคาเฟอีนเพียงแค่ 200 มิลลิกรัม แต่หากดื่มคาเฟอีนมากเกินไปอาจทำให้คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำ และเป็นอันตรายต่อทารก ส่วนการดื่มคาเฟอีนมากเกินไปขณะให้นมบุตรอาจทำให้ทารกมีอาการลำไส้แปรปรวน

สำหรับเด็ก: คาเฟอีนปลอดภัยสำหรับเด็กในปริมาณที่สามารถพบได้ในอาหาร

โรควิตกกังวล: ปริมาณคาเฟอีนในชาอู่หลงอาจทำให้อาการโรควิตกกังวลแย่ลง

ภาวะเลือดออกผิดปกติ: บางงานวิจัยกล่าวว่า คาเฟอีนมีประสิทธิภาพในการชะลอการแข็งตัวของเลือด แต่ไม่ใช่งานวิจัยที่ทดลองในมนุษย์ ยังคงมีข้อกังวลเกี่ยวกับคาเฟอีนอาจทำให้ภาวะเลือดออกผิดปกติแย่ลง

โรคหัวใจ: คาเฟอีนในชาอู่หลงอาจทำให้มีภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติในบางคน

โรคเบาหวาน: บางงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า คาเฟอีนในชาอู่หลงอาจมีผลต่อผู้ที่เป็นโรคเบาหวานในการควบคุมน้ำตาลและเกิดความซับซ้อนในการควบคุมระดับน้ำตาล มีรายงานว่าคาเฟอีนสามารถลดและเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่น่าสนใจว่า คาเฟอีนสามารถแสดงสัญญาณของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานระดับที่ 1 ได้ ทำให้ตรวจหาและรักษาระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของคาเฟอีนคือ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากเกินไปในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หากมีอาการของโรคเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนดื่มชาอู่หลง

อาการท้องร่วง: ชาอู่หลงประกอบไปด้วยคาเฟอีน การดื่มคาเฟอีนในปริมาณมากอาจทำให้อาการท้องร่วงแย่ลง

ภาวะลำไส้แปรปรวน: ชาอู่หลงประกอบไปด้วยคาเฟอีน การดื่มคาเฟอีนในปริมาณมากอาจทำให้อาการท้องร่วงและภาวะลำไส้แปรปรวนแย่ลง

โรคต้อหิน: คาเฟอีนในชาอู่หลงช่วยเพิ่มความดันในดวงตา สามารถเพิ่มขึ้นได้ในภายใน 30 นาทีจนถึง 90 นาที

ภาวะความดันโลหิตสูง: คาเฟอีนในชาอู่หลงอาจเพิ่มความดันโลหิตในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตามกรณีนี้อาจไม่เกิดขึ้นกับผู้ที่ดื่มชาอู่หลงหรือผลิตภัณฑ์คาเฟอีนอื่นๆ เป็นประจำ

โรคกระดูกพรุน: การดื่มชาอู่หลงสามารถล้างแคลเซียมในปัสสาวะได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพกระดูก หากมีอาการของโรคกระดูกพรุน ไม่ควรดื่มชาอู่หลงเกิน 3 ถ้วยต่อวัน ระมัดระวังการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อาจทำให้ล้างแคลเซียมออกและอาการที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบจัดการวิตามินดีในร่างกาย   ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานคาเฟอีนในปริมาณมาก

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ชาอู่หลง

ผลข้างเคียงอาจไม่เกิดขึ้นจนถึงขั้นรุนแรง เช่น อาการปวดศีรษะ วิตกกังวล ปัญหาการนอนหลับ คลื่นไส้ อาเจียน หงุดหงิดฉุนเฉียว ภาวการณ์เต้นของหัวใจผิดปกติ อาการใจสั่น อาการแสบร้อนกลางอก อาการเวียนศีรษะ เสียงวี้ดในหู อาการชักและอาการสับสน

จากอาการผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์

 

ปฏิกิริยาระหว่างกันของยา

ปฏิกิริยาที่จะได้รับเมื่อใช้ยาอื่นควบคู่กับชาอู่หลง

ชาอู่หลงอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับชาอู่หลง:

  • แอมเฟตามีน

ยากระตุ้น เช่น แอมเฟตามีน มีฤทธิ์เร่งระบบประสาท โดยการเร่งระบบประสาทอาจทำให้ผู้ใช้มีอาการกระวนกระวายและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ คาเฟอีนในชาอู่หลงอาจเพิ่มความเร็วในการทำงานของระบบประสาทเช่นกัน เมื่อรับประทานร่วมกันอาจทำให้อันตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานร่วมกัน

  • ยาระงับความเจ็บปวดเฉพาะที่

ยากระตุ้น เช่น ยาระงับความเจ็บปวดอาจเร่งระบบประสาท โดยการเร่งระบบประสาทอาจทำให้ผู้ใช้มีอาการกระวนกระวายและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ คาเฟอีนในชาอู่หลงอาจเพิ่มความเร็วในการทำงานของระบบประสาทเช่นกัน เมื่อรับประทานร่วมกันอาจทำให้อันตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานร่วมกัน

  • ยาเอฟีดรีน

ยาเอฟีดรีมอาจเร่งระบบประสาท คาเฟอีนในชาอู่หลงและยาเอฟีดรีนมีประสิทธิภาพเฉกเช่นเดียวกัน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเกี่ยวกับโรคหัวใจที่รุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานในเวลาเดียวกัน

  • ยาอะดีโนซีน (อะดีโนการ์ด)

คาเฟอีนในชาอู่หลงอาจยับยั้งประสิทธิภาพการทำงานของยาอะดีโนซีน ยาอะดีโนซีนใช้เพื่อทดสอบอาการโรคหัวใจ ที่เรียกว่า การตรวจสอบสมรรถภาพหัวใจ ควรหยุดดื่มชาอู่หลงหรือคาเฟอีน อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการทดสอบ

 

  • ยาปฏิชีวนะ (ควิโนโลน)

ร่างกายอาจทำลายสารคาเฟอีนเพื่อกำจัดออก ยาปฏิชีวนะบางชนิดก็มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน เมื่อรับประทานร่วมกันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการกระวนกระวายใจ ปวดศีรษะ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และผลข้างเคียงอื่นๆ

ยาปฏิชีวนะ เช่น  ciprofloxacin (Cipro), enoxacin (Penetrex), norfloxacin (Chibroxin, Noroxin), sparfloxacin (Zagam), trovafloxacin (Trovan) และ grepafloxacin (Raxar)

  • ไคเมทิดีน (ทากาเมท)

ชาอู่หลงประกอบไปด้วยคาเฟอีน ร่างกายอาจทำลายสารคาเฟอีนเพื่อกำจัดออก ไคเมทิดีนก็มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน เมื่อรับประทานร่วมกันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการกระวนกระวายใจ ปวดศีรษะ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และผลข้างเคียงอื่นๆ

  • โคลซาปีน(โคลซาริล)

ร่างกายอาจทำลายโคลซาปีนเพื่อกำจัดออก คาเฟอีนในชาอู่หลงอาจเพิ่มอัตราการกำจัดโคลซาปีนของร่างกายอย่างรวดเร็ว เมื่อรับประทานร่วมกัน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงของการใช้ยาโคลซาปีน

  • ยาไดไพริดาโมล

คาเฟอีนในชาอู่หลงอาจยับยั้งประสิทธิภาพการทำงานของยาไดไพริดาโมล ยาไดไพริดาโมลใช้เพื่อทดสอบอาการโรคหัวใจ ที่เรียกว่า การตรวจสอบสมรรถภาพหัวใจ ควรหยุดดื่มชาอู่หลงหรือคาเฟอีน อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการทดสอบ

  • ยาไดซัลฟิแรม

ชาอู่หลงประกอบไปด้วยคาเฟอีน ร่างกายอาจทำลายสารคาเฟอีนเพื่อกำจัดออก ยาไดซัลฟิแรมก็มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน เมื่อรับประทานร่วมกันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการกระวนกระวายใจ ปวดศีรษะ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และผลข้างเคียงอื่นๆ

  • เอสโตรเจน

ร่างกายอาจทำลายสารคาเฟอีนเพื่อกำจัดออก เอสโตรเจนก็มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน เมื่อรับประทานร่วมกันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการกระวนกระวายใจ ปวดศีรษะ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และผลข้างเคียงอื่นๆ

ยาเอสโตรเจน เช่น conjugated equine estrogens (Premarin), ethinyl estradiol, estradiol และอื่นๆ

  • ยาฟลูวอกซามีน

ร่างกายอาจทำลายสารคาเฟอีนเพื่อกำจัดออก ยาฟลูวอกซามีนก็มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน เมื่อรับประทานร่วมกัน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงของการใช้ยาฟลูวอกโซมีน

  • ลิเทียม

โดยธรรมชาติร่างกายจะกำจัดลิเทียมออก คาเฟอีนในชาอู่หลงอาจเพิ่มอัตราการกำจัดลิเทียมของร่างกายอย่างรวดเร็ว เมื่อรับประทานร่วมกัน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงของการใช้ลิเทียม

 

  • ยารักษาภาวะซึมเศร้า

ชาอู่หลงประกอบไปด้วยคาเฟอีน คาเฟอีนมีฤทธิ์ในการกระตุ้นร่างกายเช่นเดียวกับยารักษาภาวะซึมเศร้า เมื่อรับประทานร่วมกันอาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูง กระวนกระวายและมีอาการอื่นๆ

ยารักษาภาวะซึมเศร้า เช่น phenelzine (Nardil), tranylcypromine (Parnate) และอื่นๆ

  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด

ชาอู่หลงประกอบไปด้วยคาเฟอีน คาเฟอีนมีฤทธิ์ชะลอการแข็งตัวของเลือด เมื่อใช้ร่วมกันอาจทำให้มีอาการช้ำและมีเลือดออก

ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น aspirin, clopidogrel (Plavix), diclofenac (Voltaren, Cataflam, others), ibuprofen (Advil, Motrin, others), naproxen (Anaprox, Naprosyn, others), dalteparin (Fragmin), enoxaparin (Lovenox), heparin, warfarin (Coumadin) และอื่นๆ

  • นิโคติน

ยากระตุ้น เช่น ยาระงับความเจ็บปวดอาจเร่งระบบประสาท โดยการเร่งระบบประสาทอาจทำให้ผู้ใช้มีอาการกระวนกระวายและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ชาอู่หลงอาจมีประสิทธิเฉกเช่นเดียวกับ เมื่อรับประทานร่วมกันอาจส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจและภาวะความดันโลหิตสูง หลีกเลี่ยงการรับประทานยากระตุ้นพร้อมกับคาเฟอีน

  • ยาเพนโทบาร์บิทอล

สารกระตุ้นของคาเฟอีนจากการดื่มชาอู่หลงอาจยับยั้งประสิทธิภาพในการช่วยให้นอนหลับของยาเพนโทบบาร์บิทอล

  • ยาฟีนิลโพรพาโนลามีน

คาเฟอีนในชาอู่หลงมีฤทธิ์ในการกระตุ้นร่างกาย ฟีนิลโพรพาโนลามีนก็มีประสิทธิภาพเฉกเช่นเดียวกัน เมื่อรับประทานร่วมกัน อาจเพิ่มการกระตุ้นร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตสูง และสาเหตุของอาการกระวนกระวาย

  • ยาไรลูโซล

ร่างกายอาจทำลายยาไรลูโซลเพื่อกำจัดออก คาเฟอีนในชาอู่หลงอาจเพิ่มอัตราการกำจัดยาไรลูโซลของร่างกายอย่างรวดเร็วและอาจเพิ่มผลกระทบหรือผลข้างเคียงของยาไรลูโซล

  • ยาทีโอฟิลลีน

ชาอู่หลงประกอบไปด้วยคาเฟอีน และทำหน้าที่คล้ายกับยาทีโอฟิลลีน คาเฟอีนในชาอู่หลงอาจเพิ่มอัตราการกำจัดยาทีโอฟิลลีน ของร่างกายอย่างรวดเร็วและอาจเพิ่มผลกระทบหรือผลข้างเคียงของยาทีโอฟิลลีน

  • ยาเวอราปามิล

ร่างกายอาจทำลายสารคาเฟอีนเพื่อกำจัดออก ยาเวอราปามิลก็มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน เมื่อรับประทานร่วมกันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง อาการกระวนกระวายใจ ปวดศีรษะ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และผลข้างเคียงอื่นๆ

  • แอลกอฮอล์

ร่างกายอาจทำลายสารคาเฟอีนเพื่อกำจัดออก แอลกอฮอล์ ก็มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน เมื่อรับประทานร่วมกันอาจทำให้เกิดผล เช่น ข้างเคียง อาการกระวนกระวายใจ ปวดศีรษะ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และผลข้างเคียงอื่นๆ

  • ยาคุมกำเนิด

ร่างกายอาจทำลายสารคาเฟอีนเพื่อกำจัดออก ยาคุมกำเนิดก็มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน เมื่อรับประทานร่วมกันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการกระวนกระวายใจ ปวดศีรษะ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น และผลข้างเคียงอื่นๆ

ยาคุมกำเนิด เช่น ethinyl estradiol and levonorgestrel (Triphasil), ethinyl estradiol and norethindrone (Ortho-Novum 1/35, Ortho-Novum 7/7/7) และอื่นๆ

  • ฟลูโคนาโซล

ร่างกายอาจทำลายสารคาเฟอีนเพื่อกำจัดออก ยาคุมกำเนิดก็มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน เมื่อรับประทานร่วมกันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงของคาเฟอีน เช่น อาการกระวนกระวาย อาการวิตกกังวล และนอนไม่หลับ

  • ยารักษาโรคเบาหวาน (ยาต้านเบาหวาน)

ชาอู่หลงอาจลดน้ำตาลในเลือด ยาต้านเบาหวานมีประสิทธิภาพเฉกเช่นเดียวกัน ชาอู่หลงอาจเพิ่มหรือลดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ ควรตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด และควรปรับเปลี่ยนปริมาณยาต้านเบาหวานให้เหมาะสม

ยาต้านเบาหวาน เช่น glimepiride (Amaryl), glyburide (DiaBeta, Glynase PresTab, Micronase), insulin, pioglitazone (Actos), rosiglitazone (Avandia), chlorpropamide (Diabinese), glipizide (Glucotrol), tolbutamide (Orinase) และอื่นๆ

  • ยาเมกซิทิล

ร่างกายอาจทำลายสารคาเฟอีนเพื่อกำจัดออก ยาเมกซิทิลก็มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน เมื่อรับประทานร่วมกันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงของคาเฟอีน

  • เทอร์บินาฟีน

ร่างกายอาจทำลายสารคาเฟอีนเพื่อกำจัดออก ยาคุมกำเนิดก็มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน เมื่อรับประทานร่วมกันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงของคาเฟอีน เช่น อาการกระวนกระวาย อาการวิตกกังวล และนอนไม่หลับ

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติของการใช้ชาอู่หลงอยู่ที่เท่าไร

ข้อมูลต่อไปนี้คือผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์:

สำหรับรับประทาน

ปริมาณการดื่มชาอู่หลงอาจแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1-10 ถ้วย ต่อวัน

สำหรับรักษาอาการปวดศีรษะและฟื้นฟูความตื่นตัวทางจิต: รับประทานคาเฟอีนประมาณ 250 มิลลิกรัมต่อวัน (หรือชาอู่หลงประมาณ 5 ถ้วย) จะประกอบไปด้วยคาเฟอีน 50-60 มิลลิกรัมต่อถ้วย

ปริมาณการดื่มชาอู่หลงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละผู้ป่วย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับการรับประทาน

 

ชาอู่หลงมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

ชาอู่หลงอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • ชาชนิดเม็ด (ผสมกับสมุนไพรอื่นๆ)
  • สารสกัดชา
  • ชาผง

Oolong teahttp://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1099-oolong%20tea.aspx?activeingredientid=1099 Accessed July 5, 2017

What is Oolong Tea and What Benefits Does it Have?https://authoritynutrition.com/oolong-tea-benefits/Accessed July 5, 2017

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว