เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / แพนครีเอติน (Pancreatin) - การใช้, ผลข้างเคียง, ข้อควรระวัง, รีวิว
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
แพนครีเอติน (Pancreatin) - การใช้, ผลข้างเคียง, ข้อควรระวัง, รีวิว

แพนครีเอติน (Pancreatin) คือ อะไร ใช้ทำอะไร 

แพนครีเอติน (Pancreatin) คือ สารที่ได้มาจากตับอ่อนของหมูหรือวัว แพนครีเอตินใช้บรรเทาปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารเมื่อตับอ่อนถูกนำออกหรือทำงานไม่เต็มที่ โรคปอดเรื้อรังหรือมีอาการบวมอย่างต่อเนื่อง (ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง) เป็น 2 โรคที่เกิดจากการที่ตับอ่อนทำงานไม่เต็มที่ แพนครีเอตินใช้เพื่อบรรเทาแก๊สในลำไส้ (มีลม) หรือปัญหาการย่อย

การทำงานของแพนครีเอติน

มีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของแพนครีเอตินที่ไม่เพียงพอนัก จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลและนักสมุนไพรศาสตร์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม มีบางการศึกษาที่ได้รายงานว่าแพนครีเอติน มีอะไมเลส ไลเปสและโพรเทส – สารเคมีที่ช่วยย่อยอาหาร ซึ่งสร้างที่ตับอ่อน

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้แพนครีเอติน

ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่ :

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารจากแพนครีเอติน หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อปฏิบัติในการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดที่น้อยกว่าการใช้ยารักษาโรค จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อรับรองความปลอดภัย ซึ่งการจะใช้ประโยชน์ของสมุนไพรนั้นต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนใช้และควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้ดูแลหรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อน

แพนครีเอตินนั้นมีความปลอดภัยแค่ไหน

แพนครีเอตินนั้นปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีปัญหาที่ตับอ่อนซึ่งไม่สามารถย่อยอาหารได้เต็มที่ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณท์ที่มีแพนครีเอติน จากเชื้อแบคทีเรียซัลโมนเนล่า (Salmonella) อาจทำให้ป่วยได้

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สมุนไพรนี้ระหว่างการตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการใช้เว้นแต่ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับตับอ่อนซึ่งทำให้ควรใช้ประโยชน์จาก Pancreatin

ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้แพนครีเอตินมีอะไรบ้าง

แพนครีเอตินอาจทำให้วิงเวียนศีรษะ อาเจียน ท้องร่วงท้องเสีย ระคายเคืองปากและผิวหนังรวมถึงอาการแพ้ หากใช้ในขนาดที่มากอาจทำให้เกิดปัญหาอย่างความดันโลหิตสูงจากกรดยูริกเช่นเดียวกับความเสียหายที่ลำไส้ใหญ่

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงซึ่งหากพบอาการข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับแพนครีเอตินมีอะไรบ้าง

การใช้ยาดังกล่าวนี้อาจเกิดปฏิกริยากับยาหรือการรักษาอื่นๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้

ผลิตภัณท์ที่อาจเกิดปฏิกริยากับแพนครีเอติน เช่น :

  • Acarbose (Precose, Prandase): Acarbose (Precose, Prandase) ใช้เพื่อรักษาโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 
  • Acarbose (Precose, Prandase) มีการทำงานโดยลดความเร็วของการย่อยอาหาร ซึ่งแพนครีเอติน จะช่วยร่างกายย่อยอาหาร โดยการลดการทำงานของ Acarbose (Precose, Prandase)

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

ปกติแล้วควรใช้แพนครีเอตินในปริมาณเท่าใด

ปริมาณที่แนะนำ:

รับประทาน :

ในการช่วยร่างกายย่อยอาหารเพราะตับอ่อนถูกนำออกหรือทำงานได้ไม่เต็มที่นั้น (การทำงานของตับอ่อนไม่เพียงพอ) : ควรใช้แพนครีเอตินตั้งแต่ 8,000 - 24,000 หน่วย USP ของการทำงานของไลเปสที่เกิดขึ้นเมื่อรับประทานอาหารหรือก่อนรับประทานอาหาร ไลเปสคือหนึ่งในสารที่มีในแพนครีเอตินซึ่งช่วยในการย่อย ในการควบคุมไขมันที่บางครั้งมีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของตับอ่อนที่ไม่เพียงพอ สามารถเพิ่มปริมาณของแพนครีเอตินตามต้องการหรือจนกว่าจะมีอาการวิงเวียนศีรษะ อาเจียนหรือท้องร่วงท้องเสีย ผลข้างเคียงดังกล่าวนี้บ่งชี้ว่าถึงขนาดการใช้ที่มากเกินไปแพนครีเอตินนั้นอยู่ในรูปของยาเม็ดที่ขัดขวางการย่อยของกรดในกระเพาะ (เคลือบลำไส้) ผง หรือแคปซูลที่มีผงหรือแกรนูลเคลือบลำไส้

ควรระวังไว้ว่าแต่ละมิลลิกรัมของแพนครีเอติน มีอะไมเลสอย่างน้อย 25 หน่วย USP ไลเปส 2 หน่วย USP และ โพรเทส 25 หน่วย USP แพนครีเอตินที่มีฤทธิ์มากกว่านั้นมีการทำงานเป็นสามเท่าขอทั้งสามสารที่กล่าวมา เช่น แพนครีเอติน 4X

ปริมาณในการใช้แพนครีเอตินอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

แพนครีเอติน ที่ใช้อยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ :

  • แคปซูล
  • ยาเม็ด

 

WebMD. (2020). Pancreatin. Accessed 14 April 2020.

Drugs. (2020). Pancreatin. Accessed14 April 2020.

Wikipedia. (2020). Pancreatic enzymes (medication). Accessed14 April 2020.

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว