เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ยากรดทราเนซามิค (Transamin®)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ยากรดทราเนซามิค (Transamin®)

Brandname:Transamin

Active Ingredient: Acid Tranexamic

Headliner: What is Transamin® (Acid Tranexamic)?

Tags:

 

ข้อมูลเบื้องต้น

ยากรดทราเนซามิค (Transamin®)

ยากรดทราเนซามิค (Transamin®)  มักใช้รักษาอาการเลือดออกผิดปกติ ซึ่งเป็นอาการของโรคเลือดออกต่างๆ (โรคเส้นเลือดอักเสบ โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ โรคมะเร็ง และลูคีเมีย) เช่น เสมหะเป็นเลือด ไอเป็นเลือดของโรควัณโรคปอด   อาการนิ่วและเลือดออกทางอวัยวะเพศ เลือดออกใน prostatomegaly ภาวะเลือดออกผิดปกติระหว่างการผ่าตัด และระดูออกมาก

 

ยากรดทราเนซามิค (Transamin®) ควรรับประทานอย่างไร

ยากรดทราเนซามิค (Transamin®) มีในรูปแบบยาเม็ดและแคปซูล สามารถรับประทานพร้อมกับอาหารได้ หรือในรูปแบบยาหลอด ซึ่งให้ยาโดยการฉีดเข้หลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ

 

ยากรดทราเนซามิค (Transamin®) ควรเก็บรักษาอย่างไร

ยากรดทราเนซามิค (Transamin®) ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง ห่างจากแสงแดดและความชื้น ไม่ควรเก็บยากรดทราเนซามิค (Transamin®) ไว้ภายในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็งเพราะอาจทำให้ตัวยาเสียหาย ยากรดทราเนซามิค (Transamin®) อาจมีหลายยี่ห้อและวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน ควรตรวจสอบหรือสอบถามจากเภสัชกรเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ของยาแต่ละยี่ห้ออยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัย ควรเก็บยาทุกชนิดให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง

 

ไม่ควรเทยากรดทราเนซามิค (Transamin®) ภายในห้องน้ำ ชักโครกหรือท่อระบายน้ำ และควรทิ้งยาที่หมดอายุแล้วทันที หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการกำจัดยาหมดอายุเพิ่มเติม ควรปรึกษาเภสัชกร

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ยากรดทราเนซามิค (Transamin®)

ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร หากมีอาการต่อไปนี้:

อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรรับประทานยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น
อยู่ในระหว่างใช้ยาชนิดอื่นหรือยาที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือการแพทย์ทางเลือก
 

ยากรดทราเนซามิค (Transamin®) ปลอดภัยสำหรับการใช้ในหญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรหรือไม่

ยังมีข้อมูลความปลอดภัยของยากรดทราเนซามิค (Transamin®) สำหรับการใช้ในผู้มีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรไม่มากพอ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการใช้ยากรดทราเนซามิค (Transamin®)

ยาที่อาจเพิ่มความเสี่ยง ได้แก่ ยาที่ไม่พบความเสี่ยงต่อตัวอ่อนจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีการศึกษาแบบควบคุมในมนุษย์ (Category B) ของสํานักงานอาหารและยาสหรัฐอเมริกา

 

กฎหมายความปลอดภัยด้านอาหาร:

A= ยาที่ไม่พบว่ามีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
B= ยาที่ไม่พบความเสี่ยงต่อตัวอ่อนจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีการศึกษาแบบควบคุมในมนุษย์
C= ยาที่พบว่ามีผลเสียต่อตัวอ่อนสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในมนุษย์
D= ยาที่มีหลักฐานว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการในครรภ์
X= ยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการในทารก
N= ยาที่ยังไม่ข้อมูล
 

 

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยากรดทราเนซามิค (Transamin®)

เมื่อใช้ยากรดทราเนซามิค (Transamin®) อาจเกิดผลข้างเคียงต่อไปนี้:

คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง หรือมีอาการวิตกกังวล
อาการปวดที่หน้าอก ขากรรไกร และแขน
อาการหายใจหอบถี่
ไอเป็นเลือด
หน้ามืด วิงเวียน
ปวด บวม อาการร้อนที่บริเวณข้อพับ (ขาหนีบ) หรือน่อง
แขนและขามีอาการบวม อ่อนแรง มีรอยแดง
อาการวิตกกังวล
อาการพูดคำคละละเลือน
ร่างกายอ่อนแรงเพียงข้างเดียว
วิสัยทัศน์การมองเห็นเปลี่ยนไป
จากอาการผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร

 

ปฏิกิริยาระหว่างกันของยา

ปฏิกิริยาที่จะได้รับเมื่อใช้ยาอื่นควบคู่กับยากรดทราเนซามิค (Transamin®)

ยากรดทราเนซามิค (Transamin®) อาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน เช่น รบกวนการทำงานของยาหรือเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียง เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น ควรหยุดใช้ยาที่แพทย์สั่ง ยาที่ไม่ระบุชื่อ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพร โดยไม่ได้รับการอนุมัติจากแพทย์

ยาเจือจางเลือดหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟารินและเฮพาริน
ยาป้องกันการเลือดออกก เช่น factor IX complex และ anti-inhibitor coagulant concentrates
การคุมกำเนิด เช่น ยาคุมกำเนิด แผ่นคุมกำเนิด หรือห่วงคุมกำเนิด
 

อาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ที่อาจมีปฏิกิริยาเมื่อใช้ยาอื่นควบคู่กับยากรดทราเนซามิค (Transamin®)

ยากรดทราเนซามิค (Transamin®) อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอกอฮอร์ เช่น การรบกวยการทำงานของยาหรือเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อหารือเกี่ยวกับปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อรับประทานยากรดทราเนซามิค (Transamin®) ร่วมกับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิด

 

อาการทางสุขภาพที่อาจมีปฏิกิริยาปฏิกิริยาเมื่อใช้ยากรดทราเนซามิค (Transamin®)

ยากรดทราเนซามิค (Transamin®) อาจมีปฏิกิริยากับอาการทางสุขภาพ เช่น อาจทำให้อาการแย่ลงหรือรบกวนการทำงานของยาที่ใช้ในการรักษาอาการนั้นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อทราบถึงอาการทางสุขภาพปัจจุบัน เช่น:

อาการเส้นเลือดอุดตัน เช่น บริเวณขา ปอด สมอง และดวงตา
เลือดออกในสมอง (เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง)
ปัญหาเรื่องการมองเห็นสี
 

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยากรดทราเนซามิค (Transamin®) เสมอ

 

 

ขนาดยากรดทราเนซามิค (Transamin®) ที่ใช้ในผู้ใหญ่

การรับประทาน:

รับประทาน 1-2 แคปซูล (250 มิลลิกรัม) 3 ครั้งต่อวัน หรือ 1 เม็ด (500 มิลลิกรัม) ต่อวัน
ภาวะระดูออกมาก: รับประทาน 4 แคปซูล หรือ 2 เม็ด (1 กรัม) 3 ครั้งต่อวัน โดยรับประทานครั้งแรกในวันแรกของการมีประจำเดือน
 

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ:

ฉีดยา 1-2 หลอด (5-10 มิลลิลิตร) ต่อวัน โดยการแบ่งเป็น 1-2 ครั้ง

ระหว่างการผ่าตัดหรือหลังการผ่าตัด ฉีดยา 2-10 หลอด (10-50 มิลลิลิตร หรือ 500-2500 มิลลิลิตร) โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำเมื่อจำเป็น

 

ขนาดยากรดทราเนซามิค (Transamin®) ที่ใช้ในเด็ก

ยังไม่มีกำหนดขนาดยาที่ใช้ในเด็ก จึงอาจเป็นอันตรายสำหรับบุตรหลานของคุณ และควรมั่นใจในความปลอดภัยก่อนการใช้ยา หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

 

ยากรดทราเนซามิค (Transamin®) มีจำหน่ายในรูแปบบใดบ้าง

ยากรดทราเนซามิค (Transamin®) อาจมีจำหน่ายตามรูปแบบหรือความแรงของยาต่อไปนี้:

ยาฉีด 50 กรัมต่อมิลลิกรัม
แคปซูล 250 มิลลิกรัม
เม็ด 500 มิลลิกรัม
 

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือรับประทานยาเกินขนาดควรปฏิบัติอย่างไร

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือรับประทานยาเกินขนาด ควรรีบโทรศัพท์หาหน่วยแพทย์ฉุกเฉินหรือรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที

 

 

หากลืมรับประทานยาควรปฏิบัติอย่างไร

หากลืมรับประทานยากรดทราเนซามิค (Transamin®) หากเป็นไปได้ควรรับประทานยาทันที อย่างไรก็ตามหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้รับประทานยาตามเวลาเช่นเดิม ไม่ต้องทานซ้ำ

 

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด

 

Source:

Tranexamic Acid. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-32677-9199/tranexamic-acid-oral/tranexamic-acid-500-milligram-tablet---oral/details#precautions. Accessed September 25, 2016.

Tranexamic Acid. http://reference.medscape.com/drug/lysteda-tranexamic-acid-oral-999903. Accessed September 25, 2016.

Tranexamic Acid. http://www.mims.com/thailand/drug/info/Transamin® (Acid Tranexamic)/dosage. Accessed September 25, 2016.

 

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว